ED 01-1 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
บทความประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2565
เรื่อง Marketing of Reed mats.
เขียนโดย นางสาวปนัดดา ปัดตานัง
กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร ED 01-1 คณะครุศาสตร์
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG )
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ยังถือว่าเป็นตำบลที่มีความน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว หรือสินค้า OTOP ของชุมชนที่ทำโดยของคนในชุมชนเองไม่ว่าจะเป็น ผ้าภูอัคนี ไข่เค็มภูอัคนี หรือจะเป็น เสื่อกกบ้านหนองจอง
ต้นกก เป็นไม้ล้มลุก ซึ่งหลายคนมักจะมองว่าต้นกกเป็นวัชพืชที่ไม่มีประโยชน์ เพราะเสื่อกกส่วนมากก็จะพบหาได้ง่ายในพื้นที่ ที่มีความชื้นสูงและบริเวณที่มีน้ำขัง ไม่ว่าจะเป็นตามบ่อ บึง ทางระบายน้ำ นาข้าว หรือพื้นที่ลุ่มน้ำ เป็นต้น แต่คนในชุมชนไม่ได้คิดเช่นนั้น เพราะเสื่อกกสามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้ เช่น การทอเสื่อกกของคนในชุมชนถือว่าเป็นการทอที่สืบต่อกันมาเป็นเวลานานตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน เสื่อกกทุกชิ้นล้วนทำมาจากฝีมือของกลุ่มแม่บ้านภายในชุมชนทั้งสิ้น ที่ทำในช่วงเวลาว่างหลังจากการทำการเกษตร การทอเสื่อกกของคนในชุมชน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพของคนในชุมชนก็ว่าได้ เพราะหลังจากการทำการเกษตร ชาวบ้านส่วนใหญ่ หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถออกไปหางานทำข้างนอกได้ ก็จะมีการร่วมกลุ่มกันในการทำเสื่อกก ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวต้นกก การเจียก ตาก ย้อมสี จนกระทั้งกระบวนการทอเสื่อ ในอดีตชาวบ้านส่วนมากก็จะจำหน่าย เสื่อเป็นผืน ที่นำไปนั่ง หรือนำไปถวายให้กับวัด เป็นส่วนใหญ่ ราคาต่อผืนก็จะได้อยู่ที่ผืนละ 150-200 บาท ขึ้นอยู่ที่ขนาดและลาดลายของเสื่อกกด้วย
แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าในแต่ละชิ้นให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น กระเป๋าถือ กระเป๋าสะพายข้าง กระเป๋าดินสอ กล่องทิชชู่ ที่รองแก้ว เป็นต้น ทุกผลิตภัณฑ์ล้วนมาจากฝีมือของกลุ่มแม่บ้านทั้งหมด ถึงแม้จะมีการเพิ่มรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีใครที่พอจะมีความรู้และช่วยในเรื่องของช่องทางการตลาดให้กับชุมชนได้ ทำให้รายได้ส่วนใหญ่จากการขายก็จะได้มาจากการสั่งของข้าราชการในชุมชนเป็นหลัก เพื่อเป็นของชำร่วย หรือของฝาก เนื่องในโอกาศเกษียณอายุ และในโอกาสต่างๆ ทำให้การตลาดของเสื่อกกภายในชุมชนมีไม่มากพอ เพราะกลุ่มแม่บ้านส่วนใหญ่ ก็จะเป็นผู้สูงอายุเป็นหลัก ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการตลาดทางออนไลน์ได้
จากการลงพื้นที่ใน หมู่บ้านหนองจอก หมู่ที่ 9 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ จากการได้ลงไปเพื่อสอบถามความต้องการของกลุ่มแม่บ้านในชุมชนส่วนใหญ่ก็อยากให้มีการตลาดที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางออฟไลน์ หรือทางออนไลน์ เช่น ช่องทางการขายทางเพจเฟสบุ๊ค ไลน์ อินสตราแกรม ช็อปปี้ หรือ ลาซาด้า เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงนักช็อปออนไลน์มากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับกลุ่มแม่บ้าน เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย และสร้างรายได้ให้กับชุมชน และครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น และอาจจะทำให้วัยรุ่น หรือวัยทำงาน ที่ทำงานข้างนอกกลับมาสนใจและช่วยพัฒนาทั้งเรื่องของสินค้า และการตลาดให้กับชุมชน
อ้างอิง
https://kaset.today/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8
https://seo-web.aun-thai.co.th/blog/marketing-blog-online-marketing/