เขียนโดย : ดาหวัน ชัยชนะ

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

ข้าพเจ้านางสาวดาหวัน ชัยชนะ ประเภทประชาชน  AG13-2 ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

BCG คืออะไร

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการขยายตัวช้า เห็นได้จากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้น้อย โดยยังคงอาศัยโครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก ปัจจุบันจะเห็นว่า แรงงานในภาคเกษตรกรรมลดลง เนื่องจากรายได้ที่น้อย ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ เกษตรกรส่วนหนึ่งหันเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทำมากแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทำน้อยแต่ได้มาก” มีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า BCG Economy Model

 

BCG โมเดล ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B (Bio-economy) เศรษฐกิจชีวภาพ เป็นเศรษฐกิจที่เน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า ควบคู่กับการรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและบริการให้มีนวัตกรรมและมีมูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ C (Circular Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด โดยทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้ G  (Green Economy) เศรษฐกิจสีเขียว เป็นเศรษฐกิจมุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม

“ทำอย่างไร..จะให้ผลิตภัณฑ์ของเราเป็น BCG”

แม้ผลิตภัณฑ์เสื่อกกทอมือที่กลุ่มแม่บ้านทำอยู่จะมีสีสันสวยงาม แต่ก็ยังถือว่าใช้สารเคมีอยู่ จึงอาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคได้ ดังนั้น ทางสมาชิก U2T จึงมีแนวความคิดว่าอยากที่จะปรับเปลี่ยนจากการใช้สีเคมีเป็นสีจากธรรมชาติ โดยนำเอาวัตถุดิบธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ เช่น สีเหลืองจากแก่นขนุนหรือต้นเข สีครามจากต้นคราม สีแดงจากครั่ง สีดำจากมะเกลือ สีน้ำตาลจากสะเดาฯลฯ อีกทั้งต้นกกเมื่อนำมาตากแห้งแล้วมีสีที่ไม่เท่ากัน เราสามารถนำมาใช้ให้เกิดเฉดสีแบบธรรมชาติได้ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัย

นอกจากการใช้สีธรรมชาติแล้ว ยังต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคอีกด้วย

ภาพกิจกรรม

       

       

วิดีโอประจำเดือนสิงหาคม