ข้าพเจ้านางสาวมัลลิกา โต๊ะไธสง ประเภทบัณฑิต ตำบลบ้านเป้า อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
แนวทางการริเริ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์
ลูกตาลเป็นผลไม้ที่ออกตามฤดูกาลโดยจะออกผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมลูกตาลโตนดมีคุณค่าทางโภชนาการและมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่นเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารต่อต้านออกซิเดชั่นมีกากใยและแคลเซียมช่วยในเรื่องระบบการขับถ่ายผลลูกตาลโตนดสุกจะมีลักษณะสีเหลืองมีกลิ่นหอมเฉพาะของตาล ผู้ศึกษาได้เล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ต่างๆ ของลูกตาลจึงคิดที่จะส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลไม้ท้องถิ่นของชุมชนให้เป็นที่รู้จักด้วยวิธีการนํามาแปรรูปทำขนมตาลให้ผู้ที่ต้องการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของลูกตาลสามารถหาทานได้ทุกฤดูกาลอีกทั้งยังสามารถนําไปเป็นของขวัญของฝากได้อีกด้วยและในชุมชนมีกลุ่มผ้าฝ้ายด้วยสีธรรมชาติจึงเล็งเห็นว่านำผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติมาทำผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ได้ทุกช่วงวัย โดยผ้ายฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมา มีการคัดสรรพันธุ์พืชที่มีหลากหลายในท้องถิ่นใช้เป็นวัตถุดิบให้สี และผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติมีลักษณะเด่นที่มีสีนุ่มนวล ไม่ฉูดฉาด จะเป็นสีทีลูกค้าสามารถสั่งซื้อได้ง่าย
ขั้นตอนการทำลูกตาลสุก
1. นำลูกตาลสดที่ได้มาฉีกเปลือกดำด้านนอกออก เห็นเนื้อตาลที่เต็มไปด้วยใยตาลสีเหลืองสด ในลูกตาลหนึ่งลูกจะมีพูแยกไว้ราว 2-3 พู เรียกว่า “เต้าตาล”เมื่อแยกพูออกจากกันแล้ว จะมีส่วนแข็ง ๆ ที่แกนกลางที่แข็งหน่อย เรียกว่า “ดีตาล” ได้ยินชื่อนี้รู้สึกถึง “ความขม” ทันที ต้องดึงออก เพราะส่วนนี้จะทำให้ขนมตาลมีรสเผื่อนหรือขมไปเลย
2. นำเต้าตาลทั้งหมดจะต้องนำมาแช่น้ำแล้วใช้มือยีให้เนื้อตาลออกจากใยให้มากที่สุด เรียกขั้นตอนนี้ว่า “การยีตาล” จากนั้นนำไปยีกับกระจาดตาห่างอีกรอบ เพื่อรีดเนื้อตาลออกมาให้มากที่สุด ระหว่างยีต้องอาศัยน้ำช่วยพอสมควรเพราะยิ่งตาลแห้งจะยิ่งรีดเนื้อออกลำบาก กระทั้งได้เนื้อตาลเหลว ๆ ผสมปนเปกับใยตาลออกมา เส้นใยตาลที่ปนอยู่ต้องกรองออก
3. นำผ้าขาวบางสำหรับแยกเนื้อตาลกับน้ำ ขั้นตอนนี้เรียกว่า “การเกรอะตาล” เพื่อกักเนื้อตาลให้อยู่ในถุงผ้า แล้วเทเนื้อตาลลงผ้าขาวบางแล้วแขวนไว้ให้น้ำหยดออกให้หมดซึ่งต้องใช้เวลาถึงครึ่งวัน หรือมากกว่า 10 ชั่วโมงจนเหลือแต่เนื้อตาลที่ต้องออกมาแห้งที่สุด น้ำการการเกรอะตาลหยดลงมาพอสมควร 4. ได้เวลาเก็บเนื้อตาล จากตาลที่ยีไว้เหลวๆ เต็มกะละมัง เหลือเนื้อตาลแค่ก้นผ้าขาวบาง ตักแล้วขูดให้เกลี้ยงเพื่อเก็บเนื้อตาลให้มากที่สุด แล้วนำไปแปรรูป
การย้อมสีธรรมชาติ
1.การเตรียมวัตถุดิบธรรมชาติในการย้อมสี วัตถุดิบธรรมชาติที่ใช้ในการย้อมสี ได้จากพืชพรรณที่ขึ้นในท้องถิ่นโดยใช้ส่วนที่เป็น ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล ของพืชต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้โคลนในการย้อมสีอีกด้วย
2.การมัดหมี่ เป็นการมัดลายที่ต้องการ โดยลายแต่ละลายจะได้รับการคิดค้นจากสมาชิกของกลุ่มและเลือกใช้ลายที่มีการอนุรักษ์ไว้ ในการมัดจะใช้เชือกฟางมัดบนเส้นฝ้าย จากนั้นนำฝ้ายที่มัดหมี่เรียบร้อยแล้วลงไปย้อมสี และนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
3.การย้อมสี เป็นการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาต้มในน้ำร้อนเพื่อให้เกิดสี และนำไปย้อมฝ้ายที่เตรียมไว้ การย้อมสีมี 2 แบบ คือ การย้อมร้อน โดยนำฝ้ายที่ย้อมไปแช่ในน้ำประสาน ซึ่งได้แก่ น้ำปูนใส น้ำสารส้ม และน้ำด่าง และจึงนำ ฝ้ายไปผึ่งแดดให้แห้งสนิท อีกวิธีหนึ่ง คือการย้อมเย็น เป็นการย้อมโดยใช้ผลมะเกลือ
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.ได้ทราบขั้นตอนในการทำผลิตภัณฑ์ขนมตาล
2. ได้ทราบถึงแนวทางการนำไปใช้ต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางชุมชน
3.ทราบถึงวิธีการแก้ไขปัญหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของกระบวนการแปรรูปของลูกตาลสุก
4.ทราบถึงแนวทางในการประยุกต์ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ
5.ได้เรียนรู้ขั้นตอนการย้อมสีธรรมชาติ