ข้าพเจ้านางสาววรรณธิดา จันทรา ประชาชนตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงาน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 บ้านแก่นท้าว หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสอบถาม สัมภาษณ์ เก็บข้อมูลของกลุ่มแม่บ้านโครงการผลิตภัณฑ์ขนมพื้นบ้าน จำนวนสมาชิกในกลุ่ม 7-10 คน กลุ่มรวมตัวกันเป็นเวลา 7-8 เดือน สถานที่ผลิตที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน บ้านแก่นท้าว หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่อีกครั้งเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ในโครงการผลิตภัณฑ์ขนมพื้นบ้านตำบลบ้านแวง มีขนมฝักบัว ขนมดอกจอก ได้มีงบประมาณมาจากหน่วยงานพัฒนาชุมชนในการเพิ่มอาชีพส่งเสริมรายได้ บ้านแก่นท้าวถนัดและมีฝีมือในการทำขนมฝักบัว และขนมดอกจอกอยู่แล้ว
และขนมดอกจอกก็ยังเก็บได้นาน สามารถทำส่งขายในร้านค้าได้ และตามตลาดนัด จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขายให้ร้านค้าในหมู่บ้านและใกล้เคียงได้
อุปกรณ์ในการทำขนมดอกจอก
- กระทะ
- ทัพพี
- ถ่าน
- เตา
- แบบพิมพ์ขนมดอกจอก
- กะลามะพร้าว
ขั้นตอนในการทำขนมดอกจอก
วัตถุดิบ
- แป้งสำเร็จรูปขนมดอกขนมดอกจอก 2 กิโลกรัม
- น้ำกะทิ 1 กิโลกรัม
- ไข่ไก่ 4 ฟอง
- น้ำปูนใส 4 ถ้วย
- งาดำตามสัดส่วนที่เหมาะสม
- น้ำมันพืช สำหรับการทอด
วิธีทำ
- เทน้ำกะทิลงในหม้อ ใส่ไข่ และน้ำปูนใสนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
- นำแป้งและน้ำกะทินวดให้เข้ากัน
- เติมงาดำในสัดส่วนที่เหมาะสมแล้วคนให้เข้ากัน
- ก่อไฟใช้เตาถ่าน
- ตั้งเตาไฟให้ร้อนเทน้ำมันใส่กระทะรอจนร้อน
- นำแบบพิมพ์จุ่มน้ำมันในกระทะทิ้งไว้ให้ร้อน
- เอาแบบพิมพ์จุ่มในน้ำแป้งแล้วนำไปจุ่มลงในน้ำมันที่ร้อน เอาแป้งที่หลุดออกจากแบบพิมพ์ พร้อมกลับด้านขนมทันที
- รอจนเหลืองทองสวยแล้วตักออกจากกระทะวางไว้บนกะลามะพร้าว
- เมื่อขนมเย็นแล้วเก็บใส่ถาดเพื่อบรรจุใส่ถุงบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่ายต่อไป
การตลาด จะเป็นการขายในชุมชน จึงไม่มีการส่งออกขายในพื้นที่ใกล้เคียง ตลาด แลตลาดออนไลน์
ราคา ขนมฝักบัวถุงละ 20 บาท มี 4 ชิ้น จะมีการแพ็คใส่ถุงพลาสติก โดยมีแผ่นซับน้ำมันรองใต้ขนม
ส่วนขนมดอกจอก ถุงละ 10 บาท มี 4 ชิ้น 12 ถุง 100 บาท จะมีการแพ็คบรรจุใส่ถุง ถุงบรรจุภัณฑ์