ED 01 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565

เรื่อง ประเพณีวันเข้าพรรษา

เขียนโดย นางสาวปนัดดา  ปัดตานัง

กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร ED : 01  คณะครุศาสตร์

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG )

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา (“พรรษา” แปลว่า ฤดูฝน, “จำ” แปลว่า อยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นศาสนาพิธีสำหรับพระภิกษุโดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม เริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา วันเข้าพรรษาถือว่าเป็นวันที่สำคัญของคนในชุมชน ในช่วงเช้าจะเป็นวันที่ชาวบ้านในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงได้เข้าวัดเพื่อฟังเทศน์ ตักบาตรทำบุญ ส่วนช่วงเย็นจะมีการร่วมตัวกันเของคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง เพื่อที่จะสวดมนต์เย็นและเวียนเทียนกัน เป็นพิธีที่ชาวบ้านภายในชุมชนจะทำสืบต่อกันเป็นประเพณีที่ทำกันมาเป็นเวลานาน

ที่มา นางสาวปนัดดา ปัดตานัง ถ่ายเมื่อวันที่  14 กรกฏาคม พ.ศ. 2565

ที่มา นางสาวปนัดดา ปัดตานัง ถ่ายเมื่อวันที่  14 กรกฏาคม พ.ศ. 2565

ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา

  1. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
  2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 – 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
  3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา
  4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
  5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

ที่มา นางสาวปนัดดา ปัดตานัง ถ่ายเมื่อวันที่  14 กรกฏาคม พ.ศ. 2565

                  ในประเทศไทยมีประเพณีมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ไทยมาช้านาน มีประเพณีมากมายที่เกี่ยวกับการเข้าจำพรรษา เช่น ประเพณีถวายเทียนพรรษา แก่พระสงฆ์เพื่อจุดบูชาตามอารามและเพื่อถวายให้พระสงฆ์สามเณรนำไปจุดเพื่ออ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในระหว่างเข้าจำพรรษา ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือผ้าวัสสิกสาฏก แก่พระสงฆ์ก่อนเข้าพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์นำไปใช้สรงน้ำฝนในพรรษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่พุทธศาสนิกชนไทยถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีคือ ประเพีถวายที่ผ้ากฐิน จัดหลังพระสงฆ์ปวารณาออกพรรษา เพื่อถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ที่จำครบพรรษาจะได้กราบและได้รับอานิสงส์กฐิน เป็นต้น

ที่มา นางสาวปนัดดา ปัดตานัง ถ่ายเมื่อวันที่  14 กรกฏาคม พ.ศ. 2565

                  ประเพณีเข้าพรรษา ถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญ อีกอย่างหนึ่งของคนในชุมชน และเป็นวันที่ชาวบ้านในหมู่บ้าน หรือหมู่บ้านใกล้เคียงได้มารวมกันเพื่อทำบุญ ประเพณีเข้าพรรษาถือว่าเป็นช่วงวันหยุดยาว เป็นช่วงที่ทำให้เด็กได้เข้าวัด ทำบุญกับผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการ การฟังเทศน์ ในช่วงเช้า หรือชมการแห่เทียนในช่วงสายของวัน ตอนเย็นยังมีการเวียนเทียน ทำให้คนในชุมชนไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใด ก็สามารถมาร่วมกิจกรรมได้ ทำให้เด็กได้เข้ามาใกล้ชิดกับประเพณีและวัฒนธรรมของไทยได้มากขึ้น

อ้างอิง

https://www.m-culture.go.th/chachoengsao/ewt_news.php?nid=159

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2