ดิฉันนางสาวชญานิษฐ์ ทวีพวงเพชร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ทำหน้าที่รับผิดชอบตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
เนื่องด้วยในวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการเก็บข้อมูล TCD ผ่านเว็บไซต์ http://cbd.u2t.ac.th เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหารในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น ภายในชุมชน
ในวันที่ 10 สิงหาคม 2565 ได้มีการประชุมร่วมกับคณะอาจารย์ผู้ดูแลประจำตำบลถลุงเหล็ก ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการวางแผนสำหรับการปฏิบัติงานครั้งต่อไป การพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายและปุ๋ยอินทรีย์ และการลงข้อมูล C-03
วันที่ 14 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ดูแลประจำตำบลถลุงเหล็กได้ลงพื้นที่ในตำบลถลุงเหล็ก เพื่อประชาสัมพันธ์และเชิญชวนผู้ที่สนใจในการแปรรูปผ้าฝ้าย ภายใต้โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย “ผ้าฝ้ายแห่งความสุข” ณ ต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ และได้ไปเชิญชวนคุณป้าจิราพร สุจิรพงศ์ เพื่อมาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้การแปรรูปในครั้งนี้
วันที่ 16 สิงหาคม 2565 ได้ลงพื้นที่อีกครั้ง เพื่อส่งหนังสือเชิญ คุณป้าจิราพร สุจิรพงศ์ มาเป็นวิทยากรในการแปรรูปผ้าฝ้าย ภายใต้โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย “ผ้าฝ้ายแห่งความสุข”
การลงพื้นที่ในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีต้องขอขอบคุณผู้ใหญ่บ้านหมู่ 16 สำหรับการใช้สถานที่เพื่อการดำเนินงานได้อย่างสะดวกและขอขอบคุณวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มการแปรรูปผ้า ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และ ชุมชนในท้องถิ่น ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการให้ข้อมูล