โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ

1.อาจารย์ดร.วรัชยา พนมรัมย์

2.อาจารย์กษมา  ศิริมุกดากุล

3.อาจารย์ชนิตา บุตรรัตนะ

ชื่อเจ้าของบทความ: นางสาวบุญพริ้ง เกรงชื่อ ผู้ปฎิบัติงานประเภทนักศึกษาจบใหม่ คณะครุศาสตร์
( ED11-2 )

หลักสูตร: ED11-2 โครงการพัฒนาสินค้าแปรรูปผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน ตำบลสะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

    1.การพัฒนาพรมเช็ดเท้า JerdRug เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสะแกซำ

    2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกัญชาไทย เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสะแกซำ

การปฎิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565

 วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

อาจารย์ผู้ดูแลโครงการนัดประชุมออนไลน์เวลา 16:00 นาฬิกา ผ่าน Google meet ประชุมร่วมกับคณะผู้ปฎิบัติงานโครงการ U2T ของตำบลซะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการประชุมเกี่ยวกับการวางแผนรายละเอียด โดยข้าพเจ้าได้รับหน้าที่ให้หาข้อมูลการการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกัญชา และข้อมูลการตลาดของพรมเช็ดเท้า

 

       วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

อาจารย์ผู้ดูแลโครงการร่วมกับคณะผู้ปฎิบัติงานโครงการ U2T ของตำบลซะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ดูแหล่งที่ปลูกกัญชาและแหล่งที่ผลิต ผลิตภัณฑ์ของกัญชา ร่วมถึงลงพื้นที่ดูแหล่งผลิตภัณฑ์พรมเช็ดเท้าอีกด้วย

1.การพัฒนาพรมเช็ดเท้า ภายใต้ชื่อแบรนด์ Jerdrug (เจิ๊ดรัก)

 

 

 

 

 

พรมเช็ดเท้าของชาวบ้านในตำบลสะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เกิดจากการร่วมกลุ่มชาวบ้านในท้องถิ่นที่หันมาทำพรมเช็ดเท้ามามากกว่า20 ปี ผลิตด้วยความปราณีต เพิ่มความโดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุเศษผ้าเหลือใช้จากเศษผ้ากีฬา มีส่วนช่วยในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย

คุณสมบัติและประโยชน์ของพรมเช็ดเท้า

1.สามารถเช็ดเท้าก่อนเข้าบ้าน เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และน้ำเปียกชื้น

2.มีสีสันสวยงามหลากหลายรูปแบบ สามารถเป็นของตกแต่งบ้านได้

3.ทนทาน ใช้งานได้นาน

4.สินค้าผลิตด้วยกรรมวิธีที่ประณีตจากฝีชาวบ้านในท้องถิ่น คุ้มค่าทุกการใช้งาน

5.สินค้าผลิตจากเศษผ้าจากเสื้อกีฬา สามารถเป็นสิ่งที่ช่วยลดโลกร้อนได้อีกวิธีหนึ่ง

ข้อจำกัดและปัญหา

1.ผู้ผลิตพรมเช็ดเท้าในตำบลสะแกซำ ไม่ค่อยเห็นด้วยในเรื่องของการที่จะนำพรมเช็ดเท้ามาแปรรูปเป็นกระเป๋า เนื่องจากการขายพรมเช็ดเท้าที่ยังไม่ได้แปรรูปขายได้ดีกว่า

2.พรมเช็ดเท้าบางลายที่ทำเป็นรูปการ์ตูน อาจติดลิขสิทธิ์

3.การขายส่วนใหญ่จะขายหน้าร้านหรือตามตลาดนัดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปผู้คนหันมาซื้อสินค้าต่างๆผ่านช่องทางออนไลน์ค่อนข้างเยอะมาก

4.แรงงานมีค่อนข้างน้อย ไม่สามารถผลิตในปริมาณที่เยอะๆในเวลาที่จำกัดได้

ข้อเสนอแนะ

1.หากมีการออกแบบประเป๋าที่ทำจากพรมเช็ดเท้าให้มีความสวยงาม มีความทันสมัยอาจจะเป็นที่ต้องการของตลาดได้

2.ให้ความรู้และสอนวิธีการขาย การโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ให้กับชาวบ้านในท้องถิ่นมากขึ้น

3.ถ่ายทอดการเย็บพรมเช็ดเท้าให้คนรุ่นหลังให้มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณเยอะๆในเวลาที่จำกัดได้

2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกัญชาไทย ภายใต้ชื่อแบรนด์ GunJerd (กัญเจิ๊ด)

 

ภายในตำบลสะแกซำ มีชาวบ้านในท้องถิ่นทำสวนปลูกกัญชาซึ่งมีมากกว่า 400 ต้น ภายใต้การจดทะเบียนทางกฎหมายต่างๆอย่างถูกต้อง จำหน่ายในราคาต้นละ 100 บาท และเจ้าของสวนกัญชายังมีไอเดียดีๆในการแปรรูปสินค้าต่างๆจากกัญชาอย่างมากมายตัวอย่างเช่น ถุงเท้าจากใบกัญชา ยาหม่องกัญชา สบู่กัญชา น้ำมันกัญชา และเสื้อไหมพรมจากใบกัญชา ซึ่งหากส่งออกเสื้อไหมพรมไปต่างประเทศมีราคาสูงมากกว่า 3,000 บาท ซึ่งภายในสวนมีคนงานที่เป็นผู้สูงอายุภายในชุมชนเข้าทำงานด้วย ทำให้ผู้สูงอายุมีรายได้เสริมสามารถเลี้ยงตนเองได้ และเป็นการแก้ไขการว่างงานในผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดีด้วย

สรรพคุณและประโยชน์ของกัญชา

สำหรับประโยชน์ของกัญชานั้น มีงานวิจัยหลายแห่งรายงานผลว่า สารสกัดจากกัญชามีสรรพคุณรักษาอาการของโรคต่างๆ ดังนี้

  1. รักษาภาวะเบื่ออาหาร กัญชาใช้เป็นสารกระตุ้นความอยากอาหาร จะช่วยชะลอน้ำหนักลดในผู้ป่วยมะเร็ง
  2. สามารถช่วยลดอาการปวดเรื้อรัง และช่วยให้สามารถนอนหลับได้มากขึ้น
  3. รักษาโรคพาร์กินสัน
  4. บรรเทาหอบหืด
  5. ช่วยป้องกันการเจียนในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด

ข้อเสียของกัญชา

1.ในระยะสั้น อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับความจำ การคิด การแก้ปัญหาและอาจส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น

2.อาจพบอาการต่อไปนี้ในกรณีของการผสมกัญชาในอาหารเพื่อรับประทาน คือเกิดภาพหลอน ความจำบกพร่อง

3.ผลกระทบต่อปอด ถึงแม้ว่าสูบไม่บ่อยก็ตาม คือจะมีอาการไอ เจ็บหน้าอก และเสี่ยงติดเชื้อในปอด

 

ข้อจำกัดและปัญหา

          Packaging และโลโก้ผลิตภัณฑ์กัญชาในชุมชนที่ข้าพเจ้าได้ไปลงพื้นที่ ยังขาดความน่าสนใจ และทันสมัย ช่องทางการขายตอนนี้ก็ค่อนข้างน้อยทั้งในด้าน Online และ Onsite เนื่องจากยังมีอุปสรรคในเรื่องของการผลิต การแปรูป และอื่นๆอีกมากมาย

 

ข้อเสนอแนะ

          ออกแบบโลโก้ให้สวยงาม ติดตา และทำให้เป็นที่จดจำของผู้บริโภค และหาบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามในราคาที่ไม่แพงมากนัก เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิต ทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่างๆทั้งทาง Online และ Onsite ให้มากขึ้นอย่างสม่ำเสมอ