ข้าพเจ้านางสาวสุรางคณา เข็มขัด
ลูกจ้างโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG
ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          ในวันที่ 1 ก.ค. 65 ปฐมนิเทศออนไลน์ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว)
เปิดตัวโครงการหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG ผ่านระบออนไลน์โดยมี ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศ รมว. การอุดมศึกษา
วิทยาศาสาตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว) เป็นประธานซึ่งมีผู็เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG จำนวน 68,350 คน เข้าร่วม

          ในวันที่ 3 ก.ค. 65 ทางคณาจารย์ได้นัดรวมสมาชิกผู้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านให้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านทาง Google meet เริ่มจากการแจ้งรายละเอียดต่างๆให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบซึ่งข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ หมู่16 บ้านโนนสำราญ ตำบลถลุงเหล็ก เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

           ในวันที่ 4 ก.ค. 65 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลการทำปุ๋ยหมักชีวภาพทราบข้อมูลดังนี้
กลุ่มวิสาหกิจ มีสมาชิก 42 คน 5 หมู่บ้าน
สถานที่ตั้ง: ศูนย์การเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)
ปุ๋ยมี 2 ชนิด 1 ปุ๋ยน้ำ(มี 2 สูตร)
2 ปุ๋ยแห้ง
ปุ๋ยน้ำสูตรที่ 1 ทำจากพืช
ปุ๋ยน้ำสูตรที่ 2 ทำจากสัตว์
ราคาขวดละ 30 บาท ขนาด 50 ml
1 ขวดใช้ได้ประมาณ 10 ไร่
ต้นทุน ตัวบรรจุผลิตภัณฑ์ + สติ๊กเกอร์ 20 บาท

              ในวันที่ 8 ก.ค. 65 ข้าพเจ้าได้เข้าปฐมนิเทศออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

              ในวันที่ 10 ก.ค. 65 ทางคณาจารย์ได้นัดผู้ปฏิบัติงานทุกท่านให้เข้าร่วมการประชุมออนไลน์อีกครั้งผ่านทาง google meet เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในชุมชนในตำบลถนุงเหล็กมี 2 ผลิตภัณฑ์ 1 ผลิตภัณฑ์จากผ้า (ผ้าขาวม้า) 2 ผลิตภัณฑ์จากทางการเกษตร(ปุ๋ยหมักชีวภาพ) ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เพื่อสอบถามกลุ่มประชาชนหรือชาวบ้านที่ทำผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้า

            ในวันที่ 11 ก.ค. 65 ข้าพเจ้าและสมาชิกทุกท่านได้ลงพื้นที่สอบถามเกี่ยวกับปัญหาต่างๆเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

            ในวันที่ 12 ก.ค. 65 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมปฐมนิเทศชี้แจงการเก็บข้อมูล TCD