บทความประจำเดือน กรกฎาคม 2565
โครงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ HS12-2 ตำบลถนนหัก
        ข้าพเจ้า นายชำนาญ ไกรพะเนาว์ ประเภท ประชาชนทั่วไป ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ได้รับมอบหมายงานในเดือนกรกฎาคม โดยผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศโครงการ และข้อมูลที่สำคัญ สำหรับการปฏิบัติงานในโครงการ ผ่าน YouTube Live เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตำบลของตนเอง วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม 2565 มีการเข้าพบ ผู้นำท้องถิ่น คือ นายจารึก คนชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหักพร้อมกับคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก ในการเข้าพบครั้งนี้ มีอาจารย์ประจำตำบลถนนหัก คือ อาจารย์ ดร.คคนางค์ ช่อชู และ อาจารย์สุจิตรา ยางนอก เข้าร่วมกิจกรรมร่วมด้วย อาจารย์ประจำตำบลถนนหัก ได้แนะนำผู้ปฏิบัติงานในโครงการ U2T for BCG ทั้งบัณฑิตจบใหม่ และ ประชาชนทั่วไป ให้ฝ่ายท้องถิ่นทราบถึงการทำงานและวัตถุประสงค์โครงการที่จะลงมาในพื้นที่ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัด รวมทั้งปรึกษาหารือร่วมวางแผนการปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลถนนหัก และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงศักยภาพชุมชน กลุ่มอาชีพ และผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น มีความน่าสนใจในการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ให้กับประชาชนในตำบลถนนหัก ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของตำบลถนนหัก อาทิเช่น ขนมกระสารทของตำบลถนนหัก เป็นขนมไทยโบราณ ที่มีส่วนประกอบของข้าวตอกข้าวพอง ถั่ว งา น้ำตาลอ้อย น้ำตาลมะพร้าว น้ำกะทิ แล้วนำมากวนรวมกันจนเหนียวนุ่ม มีรสชาติหวาน หอม เหนียวนุ่ม ปัจจุบันจึงได้รับการต่อยอดนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าOTOPขายเป็นของฝากประจำตำบล ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้จะมีการต่อยอดพัฒนาขนมกระยาสารทให้มีอัตลักษณ์ เช่น ทำให้มีลักษณะชิ้นพอดีคำ เพิ่มสีสันให้น่ารับประทานด้วยการผสมสีและกลิ่นจากธรรมชาติ พัฒนาและออกแบบแพ็กเกจจิ้งให้มีลักษณะที่สวยงาม ดึงดูดผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ และ มะพร้าวเผา ที่มีการเผามะพร้าวแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยคัดเลือกมะพร้าวที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป และเลือกใช้มะพร้าวหมูสี และมะพร้าวน้ำหอม ทำให้มะพร้าวเผาของเรามีรสชาติหวาน หอมอร่อย แต่การเผามะพร้าวแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน จะยังมีการส่งผลกระทบเรื่องฝุ่น และพบปัญหาคือ การส่งสินค้าไปต่างถิ่นที่มีระยะเวลาเก็บได้ไม่นาน รวมทั้งยังไม่มีตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ ข้าพเจ้าและทีมงานจึงได้ประชุมวางแผนและพัฒนามะพร้าวเผา โดยการแปรรูปมะพร้าวเผา เช่น มะพร้าวแก้ว รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์และสร้างแบรนด์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
        ผลจากการดำเนินงานครั้งนี้ พบว่า ได้เรียนรู้ปัญหาและข้อจำกัดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับผู้นำชุมชน และมีแนวคิดต่อยอดที่จะพัฒนาขนมกระยาสารทโดยออกแบบให้สามารถรับประทานง่ายโดยมีชิ้นที่พอดีคำ และเพิ่มกลิ่นและสีจากธรรมชาติ100% เพื่อเพิ่มมูลค่าและรสชาติขนมกระยาสารทให้น่าทานมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เห็นถึงปัญหาฝุ่นควันจากการเผามะพร้าว ที่ส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้าน จะอยากจะให้มีการใช้นวัตกรรมBCG มาใช้ในการแก้ปัญหาในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ อาจารย์ประจำตำบลถนนหัก ได้ประชุมแนวทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน U2T for BCG โดยมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
        ซึ่งข้าพเจ้า ได้รับมอบหมายงานโดยมีหน้าที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชน โดยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำขนมกระยาสารท ความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ ปัญหาและข้อจำกัดในการจัดจำหน่าย รวมถึงการสอบถามถึงความต้องการที่อยากจะพัฒนาของเจ้าของผลิตภัณฑ์เป็นต้น และได้ลงพื้นที่สำรวจการทำมะพร้าวเผา ซึ่งได้นำประเด็นของการเผามะพร้าวที่ทำให้เกิดฝุ่นควัน มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นและร่วมกันแก้ปัญหาของทีมงานเพื่อให้เป็นไปตามการพัฒนาและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ของตำบลถนนหักต่อไป