ข้าพเจ้านางสาวจริยาภรณ์ แก้วปุม ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 7 สิงหาคม 2565 ลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมในการทำแบบฟอร์ม C-03 แผนการพัฒนาสินค้า วันที่ 9 สิงหาคม 2565 อาจารย์ประจำโครงการได้นัดหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ณ บ้านผักหวาน หมู่ 1 เพื่อลงพื้นที่ศึกษาขั้นตอนการทำขนมกระยาสารทเชิงลึก ในหมู่บ้านผักหวานพัฒนา หมู่ที่ 1 โดยมีนางการเกด วิเศษน้ำ เป็นผู้ให้ความรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ของการทำขนมกระยาสารท และประกอบอาชีพทำขนมกระยาสารทขายเป็นระยะประมาณ 30 ปี ซึ่งการทำขนมกระยาสารทเริ่มทำเมื่อปีพ.ศ.2535 เป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ในสมัยแต่ก่อนจะนิยมทำเพื่อแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านในชุมชนได้รับประทานมากกว่าการจำหน่าย ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสูตรกระยาสารทมาเรื่อยๆจนได้สูตรที่ตนต้องการและดีที่สุด เพื่อให้กระยาสารทให้มีความนุ่ม หอม อร่อยถูกปากคนไทย และเป็นที่รู้จัก แพร่หลายในปัจจุบัน เป็นที่ต้องการของลูกค้ามากขึ้น โดยส่วนผสมของขนมกระยาสารท ได้แก่ ข้าวพอง ข้าวตอก น้ำตาลมะพร้าว แปะแซ ถั่วลิสง งา นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันตามความต้องการ แล้วนำมาแพคใส่ถุงบรรจุภัณฑ์ให้เรียบร้อย ซึ่งขั้นตอนในการแพคใส่ถุงต้องแข่งกับเวลาไม่ฉะนั้นขนมกระยาสารทจะแข็งตัวเร็วทำให้แพคใส่ถุงยาก และจะกินไม่อร่อย ขนมกระยาสารทของแม่การเกดจะมีแค่สามรสชาติ ได้แก่ รสดั้งเดิม รสใบเตย รสอัญชัน สิ่งที่ได้ พบว่า ได้เรียนรู้ความเป็นมาของขนมกระยาสารทกระบวนการผลิต ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และได้รู้ถึงปัญหาและข้อจำกัดในการทำขนมกระยาสารท คือ วัตถุดิบบางอย่างเริ่มหายากมากขึ้นและมีราคาแพงขึ้นในช่างถึงฤดูกาลของขนมกระยาสารท และเยาวชนรุ่นหลังไม่สืบทอดการทำขนมกระยาสารท และลงพื้นที่เข้าไปพูดคุยกับชุมชนหมู่ 11 บ้านโคกตาอิ่ม โดยมีท่านกำนันอุทัย ม่านทอง เป็นผู้ให้การต้อนรับและแนะนำในเรื่อง การทำดินปลูก เพื่อทำการเชื่อมโยง วัสดุเหลือใช้จากการทำมะพร้าวเผา อย่างเช่น กากมะพร้าว ขุยมะพร้าว ขึ้เถ้าจากการเผามะพร้าว นำมาเป็นส่วนผสมของดินปลูกตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนของชุมชน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ วันที่ 10 สิงหาคม 2565 ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำตำบลให้จัดทำข้อมูลลงระบบ PBM หรือ ข้อมูล C-03 แผนการพัฒนาสินค้า ได้แก่ โครงการพัฒนากระยาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการแปรรูปมะพร้าวเผาสู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ขนมกระสารท ปัจจุบันนับเป็นสินค้าของชุมชน เป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยว ส่วนผสมในการทำกระยาสารทได้มาจากในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นมะพร้าว น้ำตาล ถั่ว เป็นต้น อย่างไรก็ตามกระยาสารทยังมีรูปแบบดั่งเดิม และยังไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับปัจจุบันขนมกระสารท ปัจจุบันนับเป็นสินค้าของชุมชน เป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยว ส่วนผสมในการทำกระยาสารทได้มาจากในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นมะพร้าว น้ำตาล ถั่ว เป็นต้น อย่างไรก็ตามกระยาสารทยังมีรูปแบบดั่งเดิม และยังไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับปัจจุบัน และมีแนวคิดพัฒนา การแปรรูปมะพร้าวเผาและขนมกระยาสารท เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเน้นวัตถุดิบส่วนผสมที่มีในพื้นถิ่นเป็นส่วนผสม สร้างบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บผลผลิตได้นาน และสร้างแบรนด์ที่เป็นอัตลักษณ์ และมีแนวคิดพัฒนา การแปรรูปมะพร้าวเผาและขนมกระยาสารท เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเน้นวัตถุดิบส่วนผสมที่มีในพื้นถิ่นเป็นส่วนผสม สร้างบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บผลผลิตได้นาน และสร้างแบรนด์ที่เป็นอัตลักษณ์