ข้าพเจ้า นางสาวจริยาภรณ์ แก้วปุม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันอังคาร ที่ 5 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำโครงการได้นัดหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ ปฏิบัติงาน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก โดยมีอาจารย์ประจำตำบลถนนหัก อาจารย์ ดร.คคนางค์ ช่อชู และ อาจารย์สุจิตรา ยางนอก อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T for BCG ทั้งผู้ปฏิบัติงานบัณฑิตจบใหม่และประชาชน จำนวน 10 คน ลงพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก เพื่อเข้าพบผู้นำท้องถิ่น นายจารึก คนชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก พร้อมกับคณะบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ถนนหักเข้าร่วมกล่าวต้อนรับคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T ประจำตำบลถนนหัก เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งปรึกษาหารือร่วมวางแผนการปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลถนนหัก และ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงศักยภาพชุมชน กลุ่มอาชีพ และผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น น่าสนใจ ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ให้กับประชาชนในตำบล ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่ มะพร้าวเผา ขนมกระยาสารท ซึ่งตำบลถนนหักยังมีการสืบสานภูมิปัญญาผลิตมะพร้าวเผา ซึ่งมะพร้าวที่เป็นวัตถุดิบชาวบ้านยังมีการปลูกและใช้พันธุ์พื้นบ้านดั่งเดิม คือ มะพร้าว (พันธุ์หมูสี) ปัญหาที่พบมะพร้าวเผา คือ การส่งสินค้าไปต่างถิ่นมีระยะเวลาเก็บได้ไม่นาน และกระยาสารท สิ่งที่จะพัฒนาการพัฒนารูปแบบขนมกระยาสารท เช่น ขนาด สีสัน บรรจุภัณฑ์ และตราสินค้า
ผลจากการดำเนินงานครั้งนี้ พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหักได้รับรู้แนวทางดำเนินโครงการ ได้รู้จักผู้ปฏิบัติงาน U2T for BCG ในพื้นที่ตำบลถนนหัก และร่มแลกเปลี่ยนข้อมูลบริบทตำบลถนนหัก ได้แสดงออกทักษะทางสังคม รวมทั้งความรู้ความสามารถ โดย U2T for BCG เป็นการสานต่อโครงการ U2T แต่จะแตกต่างตรงที่มีจุดเน้นและเชื่อมโยงกับ BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม ซึ่งมีความหมาย ดังนี้1) เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy เน้นการนำความรู้ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และต้นทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ประเทศไทยมีอยู่มาเป็นตัวขับเคลื่อน 2) เศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ ตลอดวัฏจักรชีวิต และการนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงทางอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม 3) เศรษฐกิจสีเขียว Green Economy ที่เน้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเป้าหมายสูงสุด ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ของไทยที่สามารถนำไปยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ได้ และได้เข้าร่วมประชุมวางแผนร่วมกับอาจารย์ประจำตำบลถนนหัก เพื่อวางแผนในการปฏิบัติงานให้กับผู้ปฏิบัติงานบัณฑิตจบใหม่และประชาชนทั่วไป และมีการแนะนำสมาชิกให้ทำความเข้าใจกับบริบทงาน และการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ อาจารย์ประจำตำบลถนนหัก ได้ประชุมแนวทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน U2T for BCG โดยมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
ซึ่งดิฉันได้รับมอบหมายในบทบาทหน้าที่กองเลขา หรือนำข้อมูลลงระบบ PBM และรวบรวมข้อมูลประจำตำบลถนนหักจากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้มีความชัดเจนถึงแนวทางในการปฏิบัติงาน U2T for BCG ในพื้นที่ตำบลถนนหักมากขึ้น รวมทั้งได้รู้บทบาทหน้าที่ของการปฏิบัติงานเป็นทีมร่วมกันมากขึ้น เป็นประโยชน์ การมีเป้าหมายและทิศทางการขับเคลื่อนงานในระยะต่อไป วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำตำบลให้จัดทำข้อมูลลงระบบ PBM หรือ ข้อมูล C-01 ข้อเสนอโครงการลงระบบเพื่อข้อเสนออนุมัติโครงการ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนากระยาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการแปรรูปมะพร้าวเผาสู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จากการดำเนินการดังกล่าว พบว่า ได้เรียนรู้ปัญหาและข้อจำกัดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับผู้นำชุมชน และมีแนวคิดต่อยอด และวางแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป โดยดูสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายเพิ่มมูลค่า วันที่ 16 กรกฎาคม 2565 ผู้ปฏิบัติงานได้นัดหมายลงพื้นที่ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก สำรวจข้อมูลการทำขนมกระสารท การทำมะพร้าวเผา และสถานที่สำคัญๆ เพื่อถ่ายทำคลิปวิดีโอสั้นแนะนำบริบทของตำบลถนนหัก เพื่อรายงานการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานตำบลถนนหักประจำเดือนกรกฎาคม จากการดำเนินการดังกล่าว พบว่า การให้ความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงานทั้งกลุ่มบัณฑิตจบใหม่กับกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ได้ให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามที่นัดหมายไว้ และได้เห็นถึงข้อจำกัดหรือข้อตกพร่องในการให้ความร่วมมือที่ไม่เต็มร้อยของผู้ปฏิบัติงานในบางครั้งที่มีข้อจำกัด
บทสรุปภาพรวมของการดำเนินงานในระยะแรก พบว่า จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลบริบทตำบลถนนหักทำให้ได้ทราบถึงบริบทของชุมชน การใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนแต่ละชุมชน และที่สำคัญได้ทราบถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่นว่ามีความหลากหลายๆอย่าง รวมถึงของดีประจำตำบลถนนหัก ได้แก่ มะพร้าวเผา ซึ่งมะพร้าวที่เป็นวัตถุดิบชาวบ้านยังมีการปลูกและใช้พันธุ์พื้นบ้านดั่งเดิม คือ มะพร้าวพันธุ์หมูสี และมะพร้าวเผาเป็นสินค้าที่มีชื่อของอำเภอนางรอง ปัจจุบันมีการจำหน่ายเป็นลูก แช่เย็น ทำให้มีรสหวาน หอม ปัจจุบันนับเป็นสินค้าของชุมชน เป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยว ปัญหาที่พบในการทำมะพร้าวเผา คือ การส่งสินค้าไปต่างถิ่นมีระยะเวลาเก็บได้ไม่นาน ยังไม่มีตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ และ ขนมกระสารท ปัจจุบันนับเป็นสินค้าของชุมชน เป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยว ส่วนผสมในการทำกระยาสารทได้มาจากในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นมะพร้าว น้ำตาล ถั่ว เป็นต้น อย่างไรก็ตามกระยาสารทยังมีรูปแบบดั่งเดิม และยังไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับปัจจุบัน และมีแนวคิดพัฒนา การแปรรูปมะพร้าวเผาและขนมกระยาสารท เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเน้นวัตถุดิบส่วนผสมที่มีในพื้นถิ่นเป็นส่วนผสม สร้างบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บผลผลิตได้นาน และสร้างแบรนด์ที่เป็นอัตลักษณ์