โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG
(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
ข้าพเจ้า นางสาวลลิตา รังพงษ์ ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิต HS12-2 ตำบลถนนหัก : โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่า ของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 หลังจากได้รับการคัดเลือกและได้ดำเนินการเรื่องเอกสารต่างๆจนเสร็จสิ้น ในวันนี้ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศ ผ่านทางระบบ Facebook live : MHESIThailand ในรูปแบบออนไลน์ โดยการเข้าร่วมปฐมนิเทศในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกจังหวัดในประเทศ ทั้งยังได้อธิบายเกี่ยวกับความเป็นมา รายละเอียดต่างๆของการจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา และยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมปฐมนิเทศในครั้งนี้ได้ร่วมกิจกรรมตอบคำถามเพื่อชิงของรางวัลอีกด้วย
วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 อาจารย์ประจำตำบล คือ อาจารย์ ดร.คคนางค์ ช่อชู หัวหน้าโครงการ และ อาจารย์สุจิตรา ยางนอก ที่ปรึกษาโครงการได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานเดินทางลงพื้นที่ ในตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเข้าพบและร่วมประชุมเพื่อพูดคุยกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก นายจารึก คนชุม และคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อชี้แจงถึงความเป็นมาของโครงการ และมีการปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆของชุมชน ที่สามารถนำมาพัฒนาและต่อยอดได้ ทั้งยังแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการลงพื้นที่ในครั้งถัดไป หลักจากนั้นทางผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำตำบลได้ประชุมกันต่อ เพื่อทราบถึงแนวทางและขอบเขตการทำงานของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน ทั้งยังช่วยกันเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่เราสามารถนำมาพัฒนาและต่อยอดได้ ที่สำคัญการลงพื้นที่ในครั้งนี้ยังเป็นการพัฒนาตัวผู้ปฏิบัติงานให้ทำงานร่วมกับคนในชุมชน คนขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และนำประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานตลอดระยะเวลา 3 เดือนนี้ ไปต่อยอดในการทำงานด้านต่อๆในอนาคตต่อไป
ผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่ทางผู้ปฏิบัติงานเล็งเห็นว่าสามารถนำมาพัฒนาและต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้ก็คือ มะพร้าวเผาและกระยาสารท ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนอยู่แล้ว หลังจากนั้นได้มีการประชุมแจกแจงมอบหมายบทบาทหน้าที่ ที่ทุกคนได้รับมอบหมายในการทำงานในช่วง 3 เดือนนี้
ผลจากการดำเนินงานครั้งนี้ พบว่า ได้เรียนรู้ปัญหาและข้อจำกัดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับผู้นำชุมชน และมีแนวคิดต่อยอด และวางแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป โดยดูสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ อาจารย์ประจำตำบลถนนหัก ได้ประชุมแนวทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน U2T for BCG โดยมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่ง ข้าพเจ้านางสาวลลิตา รังพงษ์ ได้รับมอบหมายในบทบาทหน้าที่ ให้ดูแลและจัดทำสื่อ ตัดต่อคลิปวิดีโอ และเป็นแอดมินช่องยูทูป การทำหน้าที่จะช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมของทีมงานในด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการที่เรากำลังทำ และเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดให้สำหรับคนที่สนใจในอีกช่องทางหนึ่ง
จากการดำเนินการดังกล่าว สะท้อนถึง แนวคิด และการวางแผนส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ก็คือทำให้คนในชุมชนมองเห็นช่องทางการตลาดที่หลากหลายมาขึ้น ทั้งยังนำผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาเพื่อเพิ่มกลุ่มลูกค้าให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทีมผู้ปฏิบัติงานในโครงการตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำงานกันเป็นทีมและแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน การลงพื้นที่ทำงานกันอย่างพร้อมเพรียงกัน ได้เรียนรู้ผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อที่จะได้สานต่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นไป
วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ทางด้านผู้ปฏิบัติงานได้นัดหมายกันเพื่อลงพื้นที่สำรวจชุมชน เก็บข้อมูลต่างๆของชุมชนเพื่อใกล้ชิดกับคนในชุมชนมากขึ้น และยังได้เข้าไปเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ทางผู้ปฏิบัติงานจะนำมาพัฒนาและต่อยอดจากกลุ่มของคนในชุมชนที่ทำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้อยู่แล้ว เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการผลิตและข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ
จากผลการดำเนินงาน พบว่า การดำเนินการยังอยู่ในขึ้นตอนการประชุมเผื่อปรึกษาแผนการพัฒนาร่วมกันของตัวผู้ปฏิบัติงานและคนในชุมชน ทั้งยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการลงพื้นที่เพื่อทำงานร่วมกับคนในชุมชน คนจากองค์กรต่างๆ และแผนการดำเนินงานต่อไปคือการลงเข้าไปพูดคุยและร่วมกันพัฒนาเพื่อออกแบบรูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อให้เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดต่อไป
ภาพกิจกรรมวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ภาพกิจกรรมวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ภาพของผลิตภัณฑ์
1.มะพร้าวเผา
2.กระยาสารท
ภาพกิจกรรมวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565