บทความประจำเดือน กรกฎาคม 2565
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG
(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
HS12-2 ตำบลถนนหัก
ข้าพเจ้า นางสาวศิริมา รักษาเดช ประเภท ประชาชนทั่วไป ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้เข้ารายงานตัวผู้ผ่านการคัดเลือกตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้แจ้งให้ข้าพเจ้ารายงานตัวเพื่อปฏิบัติงานตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG จากการได้รับฟังการปฐมนิเทศโครงการ และได้รับฟังข้อมูลที่สำคัญ สำหรับการปฏิบัติงานในโครงการ ผ่านระบบยูทูปออนไลน์ และหลังจากที่ได้รับมอบหมายงาน ข้าพเจ้าได้ทำการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับตำบลถนนหัก ได้เห็นผลิตภัณฑ์สินค้าที่น่าสนใจ เช่น ขนมกระยาสารท หมี่กรอบ แหนมเห็ด มะพร้าวเผาจึงทำให้ข้าพเจ้าอยากจะมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาตำบล โดยการนำเศรษฐกิจ BCG มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุม ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับเกียรติจาก นายจารึก คนชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก ร่วมกับ อาจารย์ ดร.คคนางค์ ช่อชู หัวหน้าโครงการ และ อาจารย์สุจิตรา ยางนอก อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และมีผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG จำนวน 10 คน ซึ่งประกอบด้วยบัณฑิตจบใหม่และประชาชนเพื่อแนะนำโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมกับร่วมกันวิเคราะห์ถึงปัญหา และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน หลังสถานการณ์โควิดระบาดอย่างหนัก
ผลจากการดำเนินงาน พบว่า การลงสำรวจพื้นที่ ข้าพเจ้า ได้รู้จักกับการทำขนมกระยาสารทในบ้านผักหวาน หมู่ที่ 1 ขนมกระยาสารทบ้านยายเกด และหมู่ที่ 5 ซึ่งใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น ข้าวตอก ข้าวพอง ที่ได้จากการแปรรูปข้าวเหนียว น้ำกะทิ น้ำตาลมะพร้าว ถั่วลิสง และงา เป็นขนมที่มีรสหวานหอมน้ำกะทิและได้เห็นขั้นตอนและวิธีการทำมะพร้าวเผา ที่เลือกใช้มะพร้าวหมูสี และมะพร้าวน้ำหอมที่มีอยู่ในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง นำมาเผาเพื่อให้เกิดความหอมหวาน และวางจำหน่ายในเขตอำเภอนางรอง และพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีการจำหน่ายลูกละ 15-20 บาท และ สิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติงานในครั้งนี้ คือ ได้สืบค้นความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าการส่งเสริมมาตรฐานสินค้า การออกแบบแพ็กเกจ และได้รับคำแนะนำที่ดีจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ เพื่อพัฒนาและต่อยอด ให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ภายในตำบลที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมาย นอกจากนี้ อาจารย์ประจำตำบลถนนหัก ได้ประชุมแนวทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน U2T for BCG โดยมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
ข้าพเจ้าได้รับบทบาทหน้าที่ เป็นฝ่ายสนับสนุน คอยช่วยเหลือทีม ประสานงานต่างๆๆและ ทีมงาน U2T for BCG ตำบลถนนหัก ต้องการข้อมูลหรือความคิดเห็น เราก็จะประสานงานกันเพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย