……….ข้าพเจ้า นายพิพิธสรา แตงเรือง ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ เป็นผู้จ้างงานของตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) หลังจากที่ได้อบรมในระบบ E-Learning U2T for BCG ผ่านเว็บไซต์ https://assignment.u2t-pbm.com/ วันนี้จะมาสรุปในหัวข้อ BCG และ Hackathon ดังนี้
M-01 แนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG
BCG Economy Model ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ก้าวไกลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
……….เราจะส่งมหาวิทยาลัย 76 มหาวิทยาลัยลงสู่สามัญตำบลที่คนส่วนใหญ่มีปัญหาและมีโอกาสที่ยังไม่ได้ขุดขึ้นมาเพื่อจะสร้างรายได้ให้เป็นความหวังสร้างให้เป็นอนาคตวัตถุประสงค์สำคัญ 3 อย่าง
………………..1. เป็นการพัฒนาโดยที่ส่งทางมหาวิทยาลัยลงทุกตำบลเพื่อสอนให้คนในชุมชนสร้างรายได้และเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าในชุมชนอย่างยั่งยืน
………………..2. ให้นักศึกษาร่วมกับอาจารย์เก็บข้อมูล Big Data
………………..3. เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสได้รับการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มพูนทักษะใหม่
M-02 คิดเชิงออกแบบ Design thinking
Design Thinking EP00 | BCG Economy คือ อะไร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร โดย ดร. วีรินยาอร เหลืองบริบูรณ์ ที่ปรึกษาและวิทยากรดด้านพัฒนาองค์กรและส่งเสริมนวัตกรรม EasyInnovation Co.,Ltd.
……….BCG เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ประกอบไปด้วยเศรษฐกิจหลัก 3 ด้าน ซึ่งรัฐบาลส่งเสริมเพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเอาหลักการตัวนี้ไปพัฒนาต่อยอดเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น
……….B คือเศรษฐกิจชีวภาพ(Bio Economy) เป็นการนำความรู้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอดฐานความเข้มแข็งเดิมของประเทศไทยเนื่องจากไทยเมืองเกษตรกรรมมีผลผลิตมากมายแต่จากของเดิมให้เอาความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยส่งเสริมเพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น การพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีธาตุอาหารสูงขึ้นหรือการพัฒนาต่อยอดสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมที่เกิดจากทางด้านชีวภาพ
……….C คือเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) เป็นการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าที่สุดเมื่อมีของสิ่งใดเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้แล้วเขาพยายามให้เอาสิ่งนั้นไปใช้ต่อหมุนเวียนเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากขึ้นสำคัญที่สุดเพื่อไม่ให้เกิด Zero Waste หรือการทำให้ลดปริมาณของเสียให้น้อยลงมากๆจนถึงกับเป็น 0 เรื่องนี้เราสามารถพัฒนาได้ตั้งแต่กระบวนการผลิต กระบวนการทำงาน กระบวนการส่งออก หรือแม้กระทั่งนำขยะมาเป็นของที่มีมูลค่าได้อย่างไร
……….G คือเศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy) เป็นการส่งเสริมในด้านรักษาสภาพแวดล้อมรักษาทรัพยากรธรรมชาติมุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืนในทุกกิจกรรมที่เราทำให้เรานึกถึงอยู่ตลอดเวลาว่าทำอย่างไรจะส่งผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุดทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดการต่อยอดทางด้านคุณค่าเพื่อเกิดความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น การใช้เอนไซม์จากจุลินทรีย์เพื่อการฟอกกระดาษ การใช้สารชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชทดแทนการใช้สารเคมี
……….BCG เป็นกระบวนการที่ทำงานร่วมกัน เช่น ในทุกๆครั้งที่เราผลิตจะต่อยอดกระบวนการผลิตของเราจากวัตถุดิบธรรมดาเป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าเพิ่มได้อย่างไรผ่าน Bio economy หลังจากนั้นเราสามารถทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างไรคือ Circular Economy จากนั้นเวลาที่เราทำทุกๆการกระทำของเราทำอย่างไรที่จะส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้น้อยที่สุดคือ Green economy
……….ตัวอย่างเช่นปลูกอ้อยส่งโรงงานจะย่อยออกมาเป็นน้ำตาล แล้วก็เอาไปผลิตเป็นพลังงานเสร็จแล้วของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตคือน้ำเสียเอามาผลิตเป็นไบโอแก๊สให้เราคำนึงถึงประโยชน์ของ Green economy ไปพร้อมกันเวลางานขยายใหญ่ขึ้นแล้วอาจจะเปลี่ยนจากอ้อยเป็นน้ำตาล หลังจากนั้นเอาไปต่อยอดในเชิง Bio economy มากขึ้นเพื่อให้ผลิตเป็นไบโอพลาสติก หลังจากนั้นเอาไบโอพลาสติกไปทำสินค้าที่ย่อยสลายได้แทนที่เราจะใช้พลาสติกจากสารเคมีแล้วมันย่อยสลายยากเราก็ใช้ไบโอพลาสติกที่เกิดจากธรรมชาติทำให้เกิดสินค้าและบริการที่ย่อยสลายง่ายขึ้นหลังจากนั้นเราก็เอาสินค้าย่อยสลายนานมาแยกขยะรีไซเคิลได้ และกระบวนการผลิตอย่างน้อยบางครั้งอาจจะเหลือขยะอินทรีย์แทนที่เราจะทิ้งไว้เฉยๆแล้วก็เปลี่ยนปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ปลูกพืชผักต่างๆ ทำให้เกิดการผลิตอาหารสำหรับคนหรือสัตว์เลี้ยงเพื่อผู้บริโภค และเมื่อทิ้งขยะเราทำการแยกขยะเพื่อทำให้เกิด Circular Economy BCG economy เป็นการส่งเสริมของรัฐบาลที่ช่วยให้เรามีกรอบความคิดในการทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มของการทำงานเพื่อส่งผลต่อเศรษฐกิจได้
……….บันไดขั้นแรกคือการทำให้ของเสียเป็นศูนย์หากเราทำกระบวนการผลิตทำอย่างไรที่ทำให้ได้ของเสียเป็น 0 หลังจากนั้นเราสามารถต่อยอดอะไรก็ตามที่เกิดการใช้งานแล้วแทนที่จะทิ้งเราเอามารีไซเคิลเอากลับมาใช้ใหม่เอากลับมาทำให้เกิดคุณค่าหรือทำให้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้เต็มวงจรชีวิตก็คือเกิดขึ้นมาแล้วแทนที่มันเสียจะทิ้งเราก็เอามาซ่อมใช้งาน ทั้ง 3 ตัวนี้จะเป็นฐานที่สำคัญและทำการเชื่อมต่อกันด้วย Cross-cutting technology คือมีการใส่เทคโนโลยีเข้าไปเพื่อทำให้เกิดการเชื่อมต่อในมุมมองทางด้านดิจิตอล
……….รัฐบาลได้สนับสนุน 4 อุตสาหกรรมที่สำคัญ 1.ทางด้านเกษตรและอาหาร 2.ส่งเสริมเรื่องของพลังงานและวัสดุ 3.ส่งเสริมเรื่องของสุขภาพและการแพทย์ 4.ส่งเสริมเรื่องของ IoT/Big Data BCG สามารถส่งเสริมได้ทั้ง 4 อุตสาหกรรมตัวอย่างแรกเกษตรและอาหารอาจจะเริ่มเกิดจากการทำเกษตรเพื่อทำให้เกิดผลผลิตเพิ่ม เมื่อมีผลผลิตเพิ่มเริ่มใส่องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพสุดท้ายแล้วเราอาจจะได้อาหารเสริมสุขภาพ จากผลผลิตทางด้านการเกษตรต่อยอดไปจนถึงอาหารเสริมสุขภาพถือว่าเป็นการต่อยอดส่งเสริม มุมมองของพลังงานและวัสดุอาจจะเริ่มต้นจากเทคโนโลยีเคมีและชีวภาพเป็นองค์ความรู้หลักจากนั้นทำให้เกิด เอทานอล ไบโอดีเซล ซึ่งปัจจุบันนี้แล้วทำให้เกิด Bio process ต่อยอดให้เกิดยอดของพีระมิดที่มีคุณค่าเพิ่มก็คือเรื่องของสารที่มีมูลค่าสูง ด้านสุขภาพและการแพทย์ฐานมันอาจจะเกิดจากการศึกษาสารออกฤทธิ์เป็นสมุนไพรต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรขยับมาเป็นการตรวจพันธุกรรมและขยับมาเป็นการแพทย์ปัญญาจะเห็นว่าเวลาใส่องค์ความรู้เทคโนโลยีต่างๆเข้าไปสุดท้ายมันก็จะต่อยอดไปที่การแพทย์แม่นยำ สุดท้ายเรื่องของการท่องเที่ยวและบริการซึ่งหนีไม่พ้นเรื่องของ IoT Internet of Things ทุกคนได้ยินเรื่องนี้กันมานานมากรวมถึงมีการใช้ข้อมูลต่างๆต่อยอดตลาดท่องเที่ยวที่เน้นเริ่มมีปริมาณมากขึ้นต่อยอดการเป็นเทคโนโลยีในเชิงอนุรักษ์และไปถึงการท่องเที่ยวคุณภาพสูงสังเกตว่า BCG เข้ามาช่วยส่งเสริมเราในทุกระดับเราสามารถค่อยๆใช้แต่ละตัวเพื่อต่อยอดให้ผลงานและนวัตกรรมของเราเกิดเป็นนวัตกรรมเพื่อเกิดสินค้าเพิ่มเติมได้
……….โครงการ U2T นี้รัฐบาลพยายามส่งเสริมให้คนที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีต่างๆความรู้ต่างๆมีองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปจับคู่กับผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นทางด้านอาหาร ทางด้านเกษตร ทางด้านการแพทย์หรือทางด้านท่องเที่ยว ร่วมมือจับมือกันโดยใช้ BCG เพื่อทำให้เกิดการเพิ่มการบริโภคมากขึ้น เพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ เกิดการเติบโตของการลงทุน เกิดการขยายตัวทางธุรกิจและที่สำคัญเพื่อก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้นฉะนั้น BCG ตัวนี้เป็นการที่จะเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการเมื่อไหร่ก็ตามเศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็งประเทศไทยก็เข้มแข็ง