ข้าพเจ้า นางสาวณัฎฐนิช โสภาศรี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ข้าพเจ้าสมาชิกจากทีม “ลำธารา”  เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ประสานงานแบ่งการทำงาน และลงรายละเอียดตามแนวทางของตนเองโดยเริ่มจากการแนะนำตนเองให้เพื่อนๆในทีมได้รู้จักกัน เพื่อการทำงานที่ราบรื่นมากขึ้น หลังจากนั้นเพื่อนในทีมได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ในชุมชนโดยใช้สมุนไพรมาทำผลิตภัณฑ์ เช่น แชมพูสระผม สเปรย์กันยุง สบู่เหลวเป็นต้น อาจารย์ได้ให้สมาชิกในทีมส่วนหนึ่งลงพื้นที่สำรวจสมุนไพรภายในตำบลลำปลายมาศ ว่าผู้คนในตำบลปลูกสมุนไพรอะไรบ้าง แล้วนำมากรอกใน Google form

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ดิฉันได้เข้าไปติดต่อกับหน่วยงานเทศบาลตำบลลำปลายมาศ เพื่อนำผลิตภัณฑ์ประจำตำบลมาถ่ายรูปและศึกษาวิธีการทำผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ว่าทำมาจากสมุนไพรชนิดไหน มีสรรพคุณอย่างไร สินค้าตัวไหนที่ผู้ซื้อนิยมมากที่สุด

ข้าพเจ้าได้วิเคราะห์ BCG เกี่ยวกับข้อมูลผลิตภัณฑ์  แนวทางในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ BCG วิธีการสร้างคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ และแผนธุรกิจ หลังจากนั้นนำข้อมูลใส่ลงใน Power Point

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมรับฟังบรรยาย เรื่อง “การอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวสอบข้อมูล TCD” โดยในการอบรมได้ลองทดสอบเรียนรู้และเข้าทำระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดเก็บข้อมูล TCD ซึ่งในระบบการจัดเก็บข้อมูลมีดังนี้ ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก/โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และแหล่งน้ำในท้องถิ่น

และในวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ช่วง 19.00 อาจารย์ได้นัดประชุมแบ่งหน้าที่ ให้แต่ละคนไปทำหน้าที่ของตนเอง  โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ หมู่ 10 ในตำบล ลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD ในตำบลลำปลายมาศ โดยได้เก็บข้อมูลหลักๆ ในส่วนของทะเบียนเกษตรกร สถานที่ท่องเที่ยว วัด สัตว์เกษตรกร ร้านอาหาร แหล่งน้ำ และพืช สมุนไพรในท้องถิ่น  ของหมู่ 10 ตำบล ลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

สรุปผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เรียนรูู้การทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และผลิตภัณฑ์ที่ทีม ลำธารา ใช้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน มีอยู่ 3 ผลิตภัณฑ์ คือ โลชั่นสมุนไพรธารามินทรา สบู่ธาราไพลิน ธาราอินทิรา รวมทั้งยังได้อบรมวิธีการจัดเก็บข้อมูล TCD เพื่อนำมาปฏิบัติงาน  และได้แลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ประจำตำบลเพื่อสร้าวมูลค่าเพิ่มและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน