โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
หลักสูตรHS17-2 :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนกรกฎาคม
ข้าพเจ้า นางสาวญานิศา กรุงกลาง กลุ่มประเภทประชาชน ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศออนไลน์เมื่อวันที่1 กรกฎาคม 2565 เวลา13:30-15.30 น. ผ่านทาง Facebook live และเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เวลา 13:00 น. ได้ลงพื้นที่ประชุมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบงานให้แต่ละบุคคลและพูดคุยปรึกษาหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในตำบลตลาดโพธิ์มีผลิตภัณฑ์ที่จะส่งเสริมอยู่2กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่1 เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักรสานไม้ไผ่อย่างยั่งยืนตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มที่2เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมอย่างยั่งยืน ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และข้าพเจ้าได้รับมอบหมายในส่วนของการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักรสานไม้ไผ่อย่างยั่งยืนและได้ลงพื้นที่เมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2565 เวลา 10:00 น. ที่บ้านบุตาแหบ หมู่ที่8 ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้ขออนุญาตผู้ใหญ่บ้าน อดุลย์ ลาบัญ เพื่อเข้าไปสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสารผู้ใหญ่บ้านได้มีการแนะนำ3ท่านดังนี้
1.พ่อไสว สะออนรัมย์
2.พ่อประสิทธิ์ สมิงรัมย์
3.พ่อบัญชา สมิงรัมย์
ทั้ง3ท่านเป็นคนที่ชำนาญด้านงานจักรสานภายในหมู่บ้าน และข้าพเจ้าได้มีการสอบถามพูดคุยและได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจักรสานหลายๆอย่างเช่น การทำไซดักปลา สุ่มไก่ชน ตะกร้า สุ่มจับปลา ข้องใส่ปลาเป็นต้น และทางผู้ปฏิบัติงานกับคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรจะมีการพัฒนาต่อยอดสินค้าที่มีอยู่ในชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเดิมที่เป็นสุ่มไก่ชนหรือไซดักปลาให้เป็นของตกแต่งภายในบ้าน และข้าพเจ้าจะยกตัวอย่างวิธีการทำสุ่มไก่ชนที่ได้เรียนรู้มาจากคนในชุมชนด้วยรายละเอียดต่อไปนี้
การสานสุ่มไก่
วิธีการทำ
1.เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด 2.ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ในการสานขึ้นรูป 3.ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลมสานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 2- 5 เส้น 4.ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยหรือใช้ขวานตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวออกมาตรงตีนสุ่มไก่ทิ้งไป เพื่อมีฐานที่เท่ากัน 5.นำสุ่มไก่ที่สานเสร็จแล้วมาลนไฟเพื่อที่ทำให้ เศษเสี้ยวหนามของไม้ไผ่หายไป และทำให้สุ่มไก่ทนทานและมีอายุการใช้งานมากขึ้น