โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

หลักสูตรHS17-2 :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม

     ข้าพเจ้า นางสาวญานิศา กรุงกลาง กลุ่มประเภทประชาชน ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD (CBD) พืชในท้องถิ่น เช่น มะรุม,มะละกอ,มะนาว,ตะไคร้,ข่า,ผักบุ้ง,พริก,มะเขือ เป็นต้น และสัตว์ในท้องถิ่น เช่น โค,กระบือ,สุนัข,ไก่,นก เป็นต้น และเกษตรกรในท้องถิ่น

วันที่ 5 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 น. ได้ลงพื้นที่กับทีมงานผู้ปฏิบัติงานในการเข้าสำรวจ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการจักสานในแต่ละหมู่บ้าน

หมู่ที่ 1 ไม่มี

หมู่ที่ 2 มี 2ท่าน

หมู่ที่ 3 มี 1ท่าน

หมู่ที่ 4 มี 3ท่าน

หมู่ที่ 5 ไม่มี

วันที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD (CBD) เพิ่มเติม และเข้าสำรวจกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการจักสานเพิ่มเติม เนื่องจาก วันที่ 5 สิงหาคม 2565 เข้าไปสำรวจไม่ครบทุกหมู่บ้านและได้สรุปผลดังนี้

หมู่ที่ 1 ไม่มี

หมู่ที่ 2 มี 2ท่าน

หมู่ที่ 3 มี 1ท่าน

หมู่ที่ 4 มี 3ท่าน

หมู่ที่ 5 ไม่มี

หมู่ที่ 6 ไม่มี

หมู่ที่ 7 ไม่มี

หมู่ที่ 8 มี 3ท่าน

หมู่ที่ 9 ไม่มี

รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจักสานในตำบลตลาดโพธิ์ มีทั้งหมด 9ท่าน

วันที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 09.30 น. ได้นัดประชุมผู้ปฏิบัติงาน เรื่องการแบ่งพื้นที่ในการ เก็บข้อมูล TCD ( CBD) ให้แต่ละบุคคลเพื่อไม่ให้มีการเก็บข้อมูลที่ซ้ำกันและได้เข้าไปเยี่ยมชมการจักสานบ้านตลาดโพธิ์ หมู่ที่3 มีการจักรสานกระติบข้าวและข้าพเจ้าจะนำเสนอการทำกระติบข้าวจากไม้ไผ่

วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
1. ไม้ไผ่บ้าน
2. ด้ายไนล่อน
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
4. กรรไกร
5. มีดโต้
6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)
8. ก้านตาล

ขั้นตอนการสานกระติบข้าว

1.นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ2-3 ม.ม. ขูดให้เรียบและบาง

2.นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน

3.นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา

4.ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด

5.นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง

6.ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย

7.นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว

8.นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ และเพื่อความสวยงาม ทนทาน ไม่เกิดราดำ

9.นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม

10.เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะไว้

11.ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้

ประโยชน์ที่ได้จากกระติบข้าว

  1. ใช้บรรจุข้าวเหนียว
  2. เป็นของชำร่วย
  3. ประดับตกแต่ง
  4. กล่องเอนกประสงค์
  5. กล่องออมสิน
  6. แจกัน
  7. กล่องใส่ดินสอ

และข้าพเจ้าได้เข้าไปเยี่ยมชมการทำ โคมไฟสุ่มไก่และการทำกระด้ง ที่บ้านบุตาแหบหมู่ที่ 8

พืชในท้องถิ่น

สัตว์ในท้องถิ่น

เกษตรกรในท้องถิ่น

ลงพื้นที่เก็บของมูล TCD

การทำกระติบข้าว

ลงพื้นที่เยี่ยมชมการทำกระด้ง โคมไฟสุ่มไก่