มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ข้าพเจ้า นายพงศธร อัครชาติรักษ์ เจ้าหน้าที่ดำเนินงานตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร่วมกับทีมงานในการสำรวจข้อมูลการทำข้าวหมาก วัฒนธรรมการกินข้าวหมาก หรือข้าวหมากนั้นแพร่หลายอยู่ในดินแดน ที่เป็นดินดำน้ำชุ่มและยังคงวนเวียนอยู่ในสำรับของคนไทยมาจนปัจจุบัน และไม่ใช่เป็นเพียงขนมหวานเท่านั้น แต่ข้าวหมากยังผสมรวมอยู่ในสำรับอาหารคาวอย่างกลมกล่อม ด้วย “น้ำต้อย” คือน้ำที่เกิดจากขบวนการหมักให้ได้ข้าวหมากนั่นเอง  นับเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสหวานชั้นยอดของแม่ครัวโบราณ เนื่องจากน้ำต้อยมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ มีรสหวานอ่อนละมุนไม่หวานแสบคออย่างน้ำตาลทรายหรือหวานเชื่อมอย่างน้ำตาลจากมะพร้าวหรือโตนด โดยเฉพาะในเมนูกะทิหลากชนิดนิยมใช้น้ำข้าวหมากปรุงรส ซึ่งใช้น้ำข้าวหมากเป็นตัวชูโรงสำคัญผสมกับรสเปรี้ยวจากมะดันซอย กระทั่งกลายเป็นเมนูรสนวลที่แตกต่างจากหลนหรือแกงกะทิตำรับอื่นในสำรับไทย

   

ข้าวหมากคือ ข้าวที่หมักได้จะนุ่มและมีรสหวาน ส่งกลิ่นหอม นอกจากข้าวหมาก จะรับประทานเพื่อความสดชื่นแล้ว ยังสามารถบำบัดอาการของโรคเรื้อรังต่างๆได้ ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ต้านโรคอัมพฤกษ์ ต้านมะเร็ง ต้านโรคหัวใจต้านความดันโลหิต แก้ปัญหาวัยทอง ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ผิวพรรณดี ผิวใส อีกด้วย ซึ่งข้าวหมากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยคนเฒ่าคนแก่มักถ่ายทอดกันโดยเฉพาะเครือญาติ  ในช่วงเวลาการทำข้าวหมากนั้นมักทำทุกช่วงเทศกาลหรือในโอกาสพิเศษ พร้อมทั้งทำขายด้วยเช่นกัน

วีธีการทำข้าวหมากมีส่วนผสมคือ

  1. ข้าวหมาก
  2. ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
  3. ลูกแป้งข้าวหมาก 2-3 ลูก
  4. ใบตองสำหรับห่อข้าวหมาก

ขั้นตอนแรกแช่ข้าวทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง แล้วนำมานึ่ง พอนึ่งเสร็จแล้วนำมาวางไว้ให้อุ่นๆแล้วนำมาแช่น้ำสะอาด จากนั้นนำลูกแป้งข้าวหมากที่เตรียมไว้มาคลุกเคล้ากับข้าวที่เตรียมไว้ แล้วนำมาห่อกับใบตองเก็บไว้2วัน เมื่อหมัก ข้าวหมาก 2-3 วันแล้วสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาหรือช่องแช่แข็งก็ได้ จะช่วยเก็บข้าวหมากไว้รับประทานได้นาน มีรสหวานเหมือนเดิม ลูกแป้งข้าวหมากหาซื้อได้ตามร้านขายข้าวสาร

แนวความคิดของคนรุ่นใหม่กับข้าวหมาก ในตำบลปังกู ข้าวหมากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมานานและเมื่อได้รู้ถึงสรรพคุณว่าช่วยป้องโรคต่างๆได้และรสชาติของข้าวหมากก็มีความอร่อยหอม หวาน กลมกล่อม เมื่อได้รู้ว่าข้าวหมากที่มีวีธีการทำง่ายๆแต่มีสรรพคุณเยอะ มักทึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่คนเฒ่าคนแก่ที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน

       

ข้อมูลจาก คุณยาย อุไล ยึนประโคน อายุ 66 ปี บ้านเขว้า ต.ปังกู อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์