ข้าพเจ้า นายภาณุพันธ์ นิลรัตนานนท์ ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2 แบบ คือ แบบฟอร์ม C-01 ข้อมูลเสนอโครงการ ข้อมูลโครงการ รายละเอียดสินค้าและบริการ รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน การขายและรายได้ วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้า เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะนำมาพัฒนา ทรัพยากรบุคคล แบบฟอร์ม C-02 ข้อมูลรายละเอียดแผนธุรกิจ อธิบายแผนธุรกิจของทีมและแนบลิ้งแผนธุรกิจลงในระบบที่ส่วนกลางกำหนด กรอกข้อมูลทั่วไปของลูกค้า กลุ่มลูกค้า การสร้างรายได้ของธุรกิจ ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สินค้าและราคา

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565

เข้ารับชมงานเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG ทาง Live Facebook ช่อง MHESI Thailand

วันที่ 6 กรกฎาคม 2565

ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆในตำบลบ้านบัว จากนั้นเก็บข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป

 

วันที่ 8 กรกฎาคม 2565

  • เข้าร่วมการปฐมนิเทศโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นการชี้แจงรายละเอียดและวิธีการดำเนินงานในแต่ละส่วน
  • ประชุมชี้แจงการดำเนินงานของตำบลบ้านบัว ร่วมกับทีมงานตำบลบ้านบัวและอาจารย์ประจำตำบล ซึ่งเป็นการชี้แจงรายละเอียดงานที่ทำและร่วมกันอภิปรายจุดเด่น จุดด้อย ของผลิตภัณฑ์ที่จะทำด้วย ผ่านทาง Google Meet

    กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เลือกจะนำไปพัฒนาต่อยอด

    กลุ่มน้ำพริกบ้านบัว

    จุดแข็ง

    เป็นกลุ่มที่มีการดำเนินการมาหลายปีเป็นที่รู้จักของกลุ่มผู้บริโภคทั้งในชุมชนและนอกชุมชน และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมนำไปใช้เป็นของฝากได้

    จุดอ่อน

    การดำเนินการในนามกลุ่มน้ำพริกก็จริงแต่ในการบริหารกลุ่มอาจจะไม่ได้มีสมาชิกที่แน่ชัดและยังมองว่าเป็นของส่วนบุคคลเนื่องจากมีเรื่องของสูตรน้ำพริกที่ยังเป็นความลับทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการขยายฐานสมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่มจะมีน้อยมากและจำนวนผลิตภัณฑ์ก็ยังน้อยผู้บริโภคยังไม่สามารถเลือกได้มากนัก

    โอกาสในการสร้างมูลค่า

    เป็นกลุ่มที่ยังขาดการสนับสนุนในด้านการส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดออนไลน์ในปัจจุบันรวมถึงการสร้างแบรนด์ทีเป็นสากลและบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่จะช่วยสร้างมูลค่าของสินค้าในระยะยาวได้

    กลุ่มผ้าไหมทอมือ (ม.1 ม.18 ม.9)

    จุดแข็ง

    เป็นผลิตภัณฑ์ที่คนในชุมชนทำอยู่แล้วในวิถีชีวิตเน้นการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือนเป็นหลักและมีลายมีสีที่เป็นอัตตะลักษณ์ของชุมชนเขมรพื้นถิ่น มีกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในแต่ละด้าน เช่น ด้านการออกแบบลายผ้า ด้านการผสมสี ด้านการมัดย้อม เป็นต้น

    จุดอ่อน

    การรวมกลุ่มอาจจะยังไม่เหนียวแน่นเพราะยังเป็นการที่ต่างคนต่างทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ทำออกมายังไม่มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นประเภทผลิตภัณฑ์ ลายผ้า รวมถึงกลุ่มคนที่ทำส่วนใหญ่จะยังคงเป็นคนที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ แม้จะมีการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์มาแล้ว เช่น เฟสบุ๊ค มาแล้วก็ตามแต่ก็ยังเป็นการจำหน่ายตาม ฤดูกาล เช่น งานแต่งงาน งานบวช กลุ่มลูกค้ายังไม่หลากหลายมากพอ

    โอกาสในการสร้างมูลค่า

    เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์มาแล้ว เช่น Facebook แต่ยังไม่มีการขยายตลาดออนไลน์ที่หลากหลาย ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของตลาดแล้วส่วนหนึ่ง

วันที่ 19 กรกฎาคม 2565

ทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านบัวได้นัดประชุมกัน เพื่อปรึกษาและกรอกข้อมูล C02 ด้วยกัน จากนั้นก็ไปลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลและถ่ายภาพเพิ่มเติม