บทความประจำเดือน กรกฎาคม 2565
กลุ่ม ID32-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ
บ้านดอนพรม หมู่ที่ 13 บ้านเสม็ด หมู่ที่ 5 บ้านลุมปุ๊ก หมู่ที่ 1 ตำบลหลุมปุ๊ก อำเภอเมือง
จังหวัดบุรีรัมย์
กระผมนายณรงค์ฤทธิ์ ปุลันรัมย์ ประเภท ประชาชนทั่วไป ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านดอนพรม หมู่ที่ 13 บ้านเสม็ด หมู่ที่ 5 บ้านลุมปุ๊ก หมู่ที่ 1 ของตำบลลุมปุ๊ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2 แบบ คือ แบบฟอร์ม C-01 ข้อมูลเสนอโครงการ ข้อมูลโครงการ รายละเอียดสินค้าและบริการ รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน การขายและรายได้ วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้า เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะนำมาพัฒนา ทรัพยากรบุคคล แบบฟอร์ม C-02 ข้อมูลรายละเอียดแผนธุรกิจ อธิบายแผนธุรกิจของทีมและแนบลิ้งแผนธุรกิจลงในระบบที่ส่วนกลางกำหนด กรอกข้อมูลทั่วไปของลูกค้า กลุ่มลูกค้า การสร้างรายได้ของธุรกิจ ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สินค้าและราคา
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ID32-2
ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เข้าร่วมปฐมนิเทศออนไลน์กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผ่านระบบ Facebook Live
ในช่วงวันที่ 1-5 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตร นัดส่งเอกสารหลักฐานการสมัครงานพร้อมใบรายงานตัว ที่ห้องสำนักงานคณะ ชั้น1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ในช่วงวันที่ 6-18กรกฏาคม 2565 ออกสำรวจพื้นที่หาข้อมูลต่างๆเกี่ยวผลิตภัณฑ์ในตำบลลุมปุ๊ก
ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG ด้านการคิดเชิงออกแบบ Design thinking ด้านโมเดลธุรกิจ Business Model Canvas ด้านเร่งการเติบโต (Growth Hacking) กระผมได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100% และได้ทำการศึกษา Presentation-Tips เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%
บทบาทและหน้าที่
คอยประสานงานออกพื้นที่ถ่ายภาพพาแนะเพื่อนๆในทีมทำความรู้จักกับประชากรในตำบลลุมปุ๊ก
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 3 หมู่บ้าน
ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ การทำนา ทำไร่อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เช่น การเลี้ยงโค การเลี้ยงกระบือ การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ซึ่งประชากรในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาและทำไร่เป็น แต่ยังมีสินค้า OTOP ที่สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน เช่น การทอผ้าไหม การทอเสื่อกก การทำชาจากแก่นตะวัน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้านการจัดจำหน่ายสินค้ายังไม่มีช่องทางในการจัดจำหน่าย สินค้าบริการยังเป็นแบบเดิมยังไม่มีการพัฒนาให้มีความหลากหลายและน่าสนใจ
ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดและตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อาจเนื่องมาจากลักษณะการทำงาน อาชีพและประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งควรมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป
ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรก ๆ พบปัญหาประชาชนในพื้นที่ไม่อยู่ที่บ้านหรือในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และทางทีมงาน ID32-2จำเป็นจะต้องกลับมาเก็บข้อมูล C-01 และ C-02 อีกครั้ง โดยทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ประสานไปยังผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายประชาชนก่อนการลงพื้นที่ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ทีมงานสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกครัวเรือนตามเป้าหมายตั้งไว้
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.ได้รู้จักการทำงานเป็นทีม
2.ได้ทราบถึงวิถีชีวิตในชุมชน
3.ได้ทราบถึงอาชีพในชุมชน
4.ได้ทราบถึงปัญหาที่ชุมชนต้องการและแนวทางการแก้ไข
5.ได้ทราบถึงสินค้า OTOP ในชุมชน
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
ทีม ID32-2 มีแผนการดำเนินงานในเดือน สิงหาคม 2565 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป