ข้าพเจ้า นางณัฐพัชร์ พาแกดำ ประเภทประชาชน ผู้ปฏิบัติงานตำบลสะเดา อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ประจำเดือน สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานดังนี้

วันที่ 2 ส.ค. 65 ลงพื้นที่ทำซีเรียลเห็ดนางฟ้าทอดกรอบ การลงพื้นที่ครั้งนี้ มีอาจารย์นำทีมลง พร้อมด้วย ผู้ปฏิบัติงานในทีมที่เป็นบัณฑิตและภาคประชาชน ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ เราได้เรียนรู้การทำซีเรียลเห็ดนางฟ้าทอดกรอบ

ซึ่งอาหารประเภทซีเรียลในปัจจุบันถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากซีเรียลเป็นทางเลือกอาหารแสนอร่อยที่ให้ผู้รับประทานได้รับคุณค่าสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อรางกาย และเพิ่มสะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

การทำซีเรียลโดยใช้ส่วนประกอบหลัก เป็นเห็ดนางฟ้า ซึ่งเห็ดนางฟ้ามีโปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์ จึงมีคุณสมบัติในการช่วยซ่อมเเซมส่วนที่สึกหรอต่างๆของร่างกาย แถมยังมีรสชาติคล้ายเนื้อสัตว์และไม่เหนียวด้วยทำให้เป็นผลดีต่อระบบย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนักและเห็ดนางฟ้าเป็นอาหารที่ทานเพื่อควบคุมน้ำหนักได้ เห็ดนางฟ้านั้นเหมาะกับกลุ่มคนที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะนอกจากจะมีโปรตีนสูงเเล้วยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารอยู่มาก

วันที่ 9 ส.ค.65 ลงพื้นที่ทำข้าวแต๋น  การลงพื้นที่ครั้งนี้นำทีมโดย อาจารย์ โดยมีทีมผู้ปฏิบัติงานลงไปเรียนรุ้ หัดทำข้าวแต๋น ซึ่งเป็นอาหารว่างของคนในขุมชนแต่ดั้งเดิม  โดยการ นำข้าวสารที่แช่น้ำแล้ว ล้างให้สะอาด  นึ่งให้สุกแล้วนำมาผสมน้ำแตงโมหรือน้ำแก้วมังกรที่ปรุงรสเรียบร้อยแล้ว  คนให้เข้ากันดี และนำไปหยอดลงพิมพ์ที่เตรียมไว้ นำข้าวแต๋นตากแดดจัดๆ ประมาณ 3-4 แดด หรืออบ แล้วนำเก็บใส่ภาชนะมีฝาปิดมิดชิดเป็นข้าวแต๋นรอการทอดต่อไป

วันที่13 ส.ค.65 ลงพื้นที่TDC บ้านสะเดาและบ้านนกเกรียน เพื่อสำรวจความเป็นอยู่ของชุมชน ซึ่งในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้สร้างความยากลำบากให้กับคนในชุมชนสะเดา  ที่ต้องลำบากขึ้นกว่าเดิมจากสถานการณ์พืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำจนรายได้ลดลงไปอย่างมาก จากสถานการณ์ ดังกล่าวทำให้ชาวบ้าน มีการลดค่าใช้จ่ายโดยการปลูกพืชสวครัวรับประทานเอง การเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่  ปลา  เป็นต้น

วันที่16 ส.ค.65 ลงพื้นที่  TDC บ้านโคกตะเคียน  ได้ศึกษาอาชีพเลี้ยงสัตว์ของชาวบนเนื้อที่จำกัด เช่น การเลี้ยงควาย 2-3 ตัว ที่บริเวณบ้าน และนอกจากนี้ ชาวบ้านยังทำนา ทำไร่ พร้อมทั้งเลี้ยงวัว ตามท้องทุ่งนา  ทำให้ได้ปุ๋ยคอกในบริเวณนา สามารถปลูกพืชไว้รับประทานเองตามคันนา เช่น มะเขือ  พริก  แตง  ถั่ว เป็นต้น

จากการลงพื้นที่ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้นำในชุมชน รวมทั้งชาวบ้าน ในการ ให้ข้อมูล และสามารถเก็บข้อมูลในชุมชน รับรู้ ถึงอาชีพที่สร้างรายได้แก่ครัวเรือน และรายได้ที่เกิดในชุมชน