โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”

กระผมนายณัฐวุฒิ สุขสมจิตต์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานประจำ ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : MS10-2 การวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสาวหลง และกัมมี่ฟรุ้ตเจลลี่สาวหลง ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

ผลงานการปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม

  • จากการลงสำรวจพื้นที่ในเดือนกรกฎาคม สรุปได้ว่า ผู้ปฏิบัติงานจะจัดทำผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสาวหลงและกัมมี่ฟรุ้ตเจลลี่สาวหลง โดยไข่เค็มสาวหลงจะใช้ไข่ในฟาร์มที่มีอยู่ในชุมชนและสมุนไพรอื่น ๆ ทีประชาชนปลูกไว้
  • ในส่วนของกัมมี่ฟรุ้ตเจลลี่สาวหลง ก็จะทำจากผลไม้ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น มะม่วงหาวมะนาวโห่ มะนาว เสาวรส กระเจี๊ยบ มะพร้าว เป็นต้น

วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ได้มีการลองทำไข่เค็มสาวหลงและไข่พอกสาวหลงโดยทีมงานผู้ปฏิบัติงานที่ ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทราบวันที่แน่นอนในการเกิดไข่เค็ม และสามารถบันทึกเป็นสูตรกลางการทำไข่เค็มและไข่พอกสาวหลงทั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานต้องการความเค็มที่แน่นอนและพอดีไม่เค็มจนเกินไป จึงต้องมีการลองทำก่อนนำสูตรกลางไปเผยแพร่และทดลองทำร่วมกับกลุ่มแม่บ้าน

-หลังจากที่ได้มีการลองทำไข่เค็มสาวหลงก็ได้มีการลงพื้นที่เพื่อจัดเตรียมวัตถุดิบในการทอดลองทำไข่เค็มที่ ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยผู้ปฏิบัติงานได้มีการเตรียมสถานที่ในการทดลองและจัดเตรียมวัตถุดิบที่มีอยู่ใน ตำบลโนนดินแดง  เพื่อการทดลองให้กลุ่มแม่บ้านรู้จักวิธีการผลิตไข่เค็มและไข่พอกในสูตรที่เราจัดเตรียมและทดลองทำไว้

-กลุ่มแม่บ้านร่วมกับผู้ปฏิบัติงานทดลองทำไข่เค็มแบบดอง และไข่เค็มแบบพอกที่ ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ทั่งนี้ทางผู้ปฏิบัติงานและกลุ่มแม่บ้านได้มีการคิดริเริ่มจัดตั้งรัฐวิสาหกิจชุมชนที่เกี่ยวกับข้องกับไข่เค็มสาวหลงและกัมมี่ฟรุ้ตเจลลี่สาวหลง โดยผู้ปฏิบัติงานและกลุ่มแม่บ้านได้มีการเล็งเห็นถึงความน่าสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงได้มีการส่งเสริมเป็นผู้นำรัฐวิสาหกิจจากท่านผู้ใหญ่บ้านเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์

  • ผลจากการทดลองทำไข่เค็มสาวหลงในครั้งนี้ พบว่า ประชาชนให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำไข่เค็มสาวหลงเป็นอย่างมาก และเกิดการกระตุ้นให้ประชาชนหันมาปลูกสมุนไพรมากขึ้น และประชาชนยังให้ความสนใจในการเข้าร่วมจัดตั้งกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชนอีกด้วย
  • หลังจากทำการทดลองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีการประชุมเพื่อปรึกษากับทีมผู้ปฏิบัติงานในการแบ่งทีมสำรวจข้อมูล TCD ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ประชุมตกลงกันเพื่อแบ่งหมู่บ้านในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล TCD ซึ่งจะเริ่มลงสำรวจภายในเดือนสิงหาคม

ในวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล TCD ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลประเภทต่าง ๆ ของแต่ละหมู่บ้านในพื้นที่ ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ลงในระบบ http://cbd.u2t.ac.th โดยข้อมูลที่ต้องสำรวจประกอบไปด้วย ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก/โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งน้ำท้องถิ่น

การปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคมได้มีการปฏิบัติงานตามแผนที่วางเอาไว้ โดยผู้ปฏิบัติงานมีแนวทางในการสร้างอาชีพให้กลุ่มแม่บ้านโดยการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและมีการประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านและนักพัฒนาชุมชมเพื่อการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ทำการทดลอง ผลการทดลองทำไข่เค็มและไข่พอกสาวหลง กลุ่มแม่บ้านเกิดความสนใจในการร่วมกลุ่มรัฐวิสาหกิจ โดยมีการลงทะเบียนหรือลงชื่อเพื่อติดต่อในการเป็นสมาชิก โดยทั้งจะมีการอบรมและพัฒนารัฐวิสาหกิจให้เจริญเติบโตขึ้นไปเป็นลำดับ