ข้าพเจ้านางสาวฟาริดา ราชภักดี ปฏิบัติงานประเภทบุคคลในตำบล ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะวิทยาการจัดการ MS10-2
ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
การประชุมเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 น.
โดยมีอาจารย์นลินทิพย์ อาจารย์จตุพร และอาจารย์ฤทัยภัทร เป็นผู้ดำเนินการประชุม ในการประชุมครั้งนี้เป็นการวางแผนงานและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้แต่ละคน ดังนี้
- หัวหน้ากลุ่ม คือ คุณกิ่งกาญจนา อินทรสังข์ (แป๋ว)
- เลขากลุ่ม คือ คุณศรัญญา ทิพยาง (ต๋อมแต๋ม)
- ฝ่ายบัญชี คือ คุณคัทลียา จังพล (โมเม)
และคนอื่นๆได้รับมอบหมายในการหาวัตถุดิบ อุปกรณ์ เพื่อลงปฏิบัติงานเรื่องการทำไข่เค็มดองและไข่เค็มพอกสาวหลงในครั้งถัดไป
การลงมือทำไข่เค็มดองและไข่เค็มพอกสาวหลง วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.30 น.
ทีมงานมารวมตัวกันที่บ้านคุณกิ่งกาญจนา พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายอย่างครบถ้วน เช่น ไข่เป็ด โหล เกลือ น้ำส้มสายชู ดินสอพอง ดินปลวก ทางด้านคุณกิ่งกาญจนาได้เตรียมสมุนไพรต่างๆ เช่น ว่านสาวหลง ขมิ้น ตะไคร้หอม ใบเตย อัญชัน ฝางแดง
โดยในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากคุณคนึงนิจให้ความรู้และลงมือปฏิบัติงงาน หลังจากที่ทุกคนได้ฟังคำอธิบายทางทีมงานได้ลงมือช่วยกันทำตามความสามารถเพื่อให้ได้ไข่เค็มดอง 5 สี และไข่เค็มพอก 5 สี
การทดลองทำ วันที่ 6 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น.
อาจารย์จตุพร และอาจารย์ฤทัยภัทรได้ลงพื้นที่พบทีมงานตำบลโนนดินแดง และมีกลุ่มแม่บ้านที่สนใจจะทำไข่เค็มดองและไข่เค็มพอกสาวหลงมาร่วมฟังและลงมือทำ หลังจากนั้นได้นำไข่เค็มสาวหลงที่เคยทำในครั้งก่อนมาดาวและต้มให้อาจารย์และทีมงานชิมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในครั้งถัดไป และอาจารย์ได้มีการเรียกรวมกลุ่มประชุมอีกครั้งเพื่อคำนวนต้นทุนและรูปแบบแพ็คเกจ และทีมงานจะต้องลงพื้นที่บันทึก TCD ตามที่ส่วนกลางกำหนด โดยมีหัวข้อดังนี้
- ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องสถานการณ์โควิด
- แหล่งท่องเที่ยว
- ที่พัก – โรงแรม
- ร้านอาหารในท้องถิ่น
- อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
- เกษตรกรในท้องถิ่น
- พืชในท้องถิ่น
- สัตว์ในท้องถิ่น
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- แหล่งน้ำในท้องถิ่น
และมอบหมายหน้าที่ให้ทีมงานติดต่อประสานงานเพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกับผู้นำชุมชนและประชาชนที่สนใจ ทั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8ในการจัดตั้งวิสาหกิจด้วย ได้แก่
- ประธาน คือ ผ.ญ. โสภณ ดีประโคน
- รองประธาน คือ กิ่งกาญจนา อินทรสังข์
- เลขา คือ ศรัญญา ทิพยาง
- กรรมการ คือ สมาชิกที่เหลือ
และในการลงพื้นที่ครั้งถัดไปจะเชิญพัฒนาชุมชนและวิยากรมาทำกัมมี่ฟรุตเจลลี่โดยมีวัตถุดิบประกอบด้วย
- มัลเบอรี่
- เสาวรส
- กระเจี๊ยบ
- มะนาว
- มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นต้น
โดยเราจะผลักดันไข่เค็มสาวหลงและกัมมี่ฟรุตเจลลี่เป็นผลิตภัณฑ์หลักต่อไป