ข้าพเจ้านางสาวอัญชลี แก้วสำโรง ประเภทประชาชน  ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2565

คณะผู้ปฏิบัติงานได้มีการลงพื้นที่สำรวจ และสอบถามข้อมูลในพื้นที่ชุมชนตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เราได้ข้อมูลพบว่ามีผลิตภัทณ์น่าสนใจอยู่2ผลิตภัณฑ์คือ กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า บ้านตะโกรี หมู่3 และข้าวแต๋น บ้านโสน หมู่6 ทางคณะผู้ปฎิบัติงานพบว่าทั้ง2ผลิตภัณฑ์นี้ซ้ำกับตำบลอื่นค่อนข้างมาก ทางผู้ปฎบัติงานจึงได้มีการนัดหมายเพื่อหาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เหมือนใคร

6 กรกฎาคม 2565

ทางคณะผู้ปฎิบัติงานได้มีการร่วมกันออกแบบ ในส่วนของผลิตภัณฑ์

  • การออกแบเเพ็คเกจ
  • การส่งเสริมรายได้ของชุมชน
  • รวมถึงขั้นการผลิตให้มีความสุขลักษณะอนามัย

 

 

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ได้มีการอมรมเกี่ยวกับการปฎิบัติงานของโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG มีการอธิบายการปฎิบัติงานของโครงการและระบบการเก็บข้อมูลต่างๆ

 

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ทางผู้ปฎิบัติงานได้มีการนัดหมายประชุมเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่ซ้ำกับตำบลอื่น ทางคณะปฎิบัติงานได้มีการเสนอแนะและตกลงกันว่าจะสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ ทางผู้ปฎิบัติงานเห็นว่าในชุมชนมีฟางข้าวที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวข้าวของชาวบ้านที่ยังเหลือจากการเป็นอาหารสัตว์ คือการนำฟางข้าว มาแปรรูปเป็นของชำร่วย กระถ่างดอกไม้ กระดาษ ฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ทางคณะผู้ปฎิบัติงานได้มีการนัดหมายเพื่อที่จะทำผลิตภัณฑ์เพิ่มคือมะละกอแก้ว จึงได้มีการลงปฎิบัติงานทำมะละกลแก้ว ที่บ้านสำโรง ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์

สรุป

ข้าพเจ้าได้รับโอกาศเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและรากฐานสังคมหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG ข้าพเจ้าได้เรียนู้เกี่ยวกับการลงพื้นที่สำรวจในชุมชนตำบลสำโรง และได้นำผลิตภัณฑ์ของตำบลสำโรงมาพัฒนาต่อไป