ข้าพเจ้านางสาวอัญชลี แก้วสำโรง ปรเภทประชาชน ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลายชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โครางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG

3กรกฎาคม 2565

ทางผู้ปฎิบัติงาน ได้มีการลงพื้นที่สำรวจในชุมชน ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี 11 หมู่บ้าน จากการสำรวจในชุมชนพบว่าอาชีพส่วนใหญ่ในตำบล คือ เกษตรกร และมีการสำรวจในหมู่บ้านต่างๆที่มีการทำผลิตภัณฑ์ตำบล พบว่ามีผลิตภัณฑ์2ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ คือ กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า บ้านตะโกรี หมู่ที่3 และผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น หมู่ที่6

     

6 กรกฎาคม 2565

ทางคณะผู้ปฏิบัติงานได้มีการปรึกษาถึงการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์อย่างไรให้มีความโดดเด่นและน่าซื้อของตัวผลิตภัณฑ์จึงจะทำให้ชุมชนตำบลสำโรงมีรายได้เสริม

• การออกแบบแพ็คเกจของตัวผลิตภัณฑ์ 

• การแปรรูปผลิตภัณฑ์ 

หารายได้เสริมให้กับชุมชน

8 กรกฎาคม 2565

ทางคณะกรรมการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้มีการอมรมของโครงการ อธิบายขั้นตอนการทำงานและการเก็บข้อมูลของโครงการ

9 กรกฎาคม 2565

ทางคณะผู้ปฎิบัติงานพบว่า กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าและข้าวแต๋น มีการซ้ำกับตำบลอื่นค่อนข้างมากจึงได้มีการนัดหมายประชุมเกี่ยวผลิตภัณฑ์ตำบล และได้มีการเสนอแนะว่า จะทำผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่วัสดุจากฟางข้าวของเกษตรกร ที่เหลือจากการเป็นอาหารของสัตว์ มาแปรรูปให้เป็นสิ่งของที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น กระถางต้นไม้จากฟางข้าว กระดาษจากฟางข้าว ฯลฯ

17กรกฎาคม 2565

คณะปฎิบัติงานได้ตรวจสอบว่าแต่ละตำบลต้องมี2ผลิตภัณฑ์ จึงมีการเสนอเเนะและตกลงกันว่าจะทำมะละกอแก้ว ซึ่งสามารถเป็นของฝากและเป็นอาหารทานเล่นได้ ทางคณะผู้ปฎิบัติงานจึงนัดหมายทำมะละกอแก้ว บ้านสำโรง ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และเขียนบทความเพื่อส่งให้ทางคณะกรรมการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

 

สรุป

จากการที่ได้เข้าโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ได้มีการเรียนรู้และความรู้มากมาย ข้าพเจ้าปฎิบัติงานนี้ครั้งเเรก และครั้งต่อไปข้าพเจ้าจะทำให้ดีที่สุด