BURIRAM RAJABHAT UNIVERSITY TO TAMBON : BRU2T
ชื่อบทความ U2T for BCG MS19-2 โครงการการสื่อสารในการออกแบบลวดลายผ้าพื้นบ้าน ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจชุมชน
หัวหน้าโครงการ : รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ
: อาจารย์คธาวุฒิ จันบัวลา
ชื่อเจ้าของบทความ นายเฉลิมวุฒิ วิชัยรัมย์ ประเภทประชาชน
สวัสดีครับกระผม นายเฉลิมวุฒิ วิชัยรัมย์ ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (MS19-2 ตำบลหลักเขต) สังกัด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม″ การปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคม 2565 ได้ลงพื้นที่ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ความรับผิดชอบ คือ หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 และหมู่ 14 สำรวจข้อมูลของชุมชน (Thailand Community Data) หรือ TCD เพื่อนำข้อมูล TCD มาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาครัวเรือนยากจน เชื่อมโยงกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้” ฐานข้อมูลหมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 14 สรุปได้ ดังนี้
จากฐานข้อมูล TCD สรุปได้ว่า หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 14 สรุปได้ดังนี้ มีร้านอาหารในท้องถิ่น 2 ร้าน มีเกษตรกรในท้องถิ่น 287 ครัวเรือน พืชในท้องถิ่นมีมากกว่า 50 ชนิด เช่น ต้นองุ่น ต้นเศรษฐีวิลสัน ต้นบอนสี เป็นต้นและมีสัตว์ในท้องถิ่น มีมากกว่า 3 ชนิด เช่น วัว ควาย ไก่ จากข้อมูลตำบลหลักเขตมีพื้นที่ทั้งหมด 40.264 ตารางกิโลเมตร 25,065 ไร่ มีประชากรทั้งหมด 6,499 คน มีหมู่บ้านที่หมด 14 หมู่บ้าน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกรรม
นายเฉลิมวุฒิ วิชัยรัมย์
ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์