สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวอาทิติยา อิรัญ บัณฑิตปฏิบัติงาน ตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด-19 ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
ปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม
ในการปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคมนี้ทีมผู้ปฏิบัติงาน ตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการประชุมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าถึงทุกกลุ่มลูกค้า
ในการประชุมครั้งที่ 1
ได้มีการหาลือถึงแนวทางการขอมารตฐานอย.
เพื่อเป็นการสร้างมารตรฐานให้กับผลิตภัฑ์
การประชุมในครั้งที่ 2 เพื่อพัฒนารสชาติของผลิตภัณฑ์
ในการประชุมในครั้งที่ 2 เป็นการพัฒนารสชาติของผลิตภัณฑ์โดยให้แต่ละตำบลนำผลิตภัณฑ์ประจำตำบลมาชิมร่วมกัน โดยผลิตภัณฑ์ของตำบลโคกว่านได้ข้อเสนอว่า กระยาสารทให้เพิ่มธัญพืช เพิ่มงา และหวานน้อยลง ในส่วนของไข่เค็มให้ตัดผงปาปิก้าออกเพื่อให้ได้รสชาติของไข่เค็มแท้
การประชุมครั้งที่ 3 และ 4 ติดตามผลการพัฒนารสชาติของผลิตภัณฑ์
ในการติดตามผลการพัฒนาได้มีการประชุมถึง 2 ครั้ง เพื่อให้ได้รสชาติที่ดีที่สุด กระยาสารทต้องมีธัญพืชที่หลากหลาย หวานกำลังดีและไม่เหนียวหรือแข็งจนเกินไป ส่วนผงไข่เค็มต้องหอม เค็ม มัน เป็นรสชาติของไข่เค็ม 100% ไม่ใส่ผงปรุงรส และเมื่อได้รสชาติที่ต้องการแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์
แบบบรรจุภัณฑ์กระยาสารท
โลโก้ประจำตำบล
แบบบรรจุภัณฑ์ผงไข่เค็ม
การลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD
วันอาทิตย์ ที่ 14 สิงหาคม ผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล TCD พบว่าตำบลโคกว่านเป็นที่ที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้นานาชนิด และที่น่าสนใจคือตำบลโคกว่านมีพื้นที่ป่าไม้ขนาดเล็กภายในหมู่บ้าน มีต้นไม้ประจำถิ่นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ต้นมะค่าแต้ มะค่าโมง ต้นทองกราว ต้นตองตึง นอกจากนี้ยังมีไม้พะยูงซึ่งเป็นไม้มงคลนาม ตามชื่อที่พ้องกับคำว่า “พยุง” ที่หมายถึง การประคองให้อยู่ในสภาพปกติ ช่วยให้ทรงตัวได้ จึงมีความเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นพะยูงไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยทำให้ชีวิตไม่ตกต่ำ ช่วยพยุงให้โชคดีมีชัย
ในส่วนของไม้ผลพบไม้ผลพื้นบ้านที่น่าสนใจคือ หมากเม่า หรือส้มสร้อย เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนยาว แตกกิ่งก้านมาก กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลม สูงประมาณ 5-10 เมตร เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถึง 4 คนโอบ และมีเนื้อไม้แข็ง มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือตามหัวไร่ปลายนาทั่วทุกภาคของประเทศไทย และมะเม่ายังเป็นผลไม้ท้องถิ่นของภาคอีสาน
หมากเม่าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย โดยผลมะเม่าสุกจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด เช่น มีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการมากถึง 18 ชนิดจากทั้งหมด 20 ชนิด นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม เหล็ก สังกะสี และวิตามินต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ อีกด้วย