สวัสดีครับ ชื่อนายพงษ์ศักดิ์ จงกรด ประเภทประชาชน เป็นผู้ปฏิบัติงานของ ตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG)
ปฏิบัติงานประจำเดือน สิงหาคม
ก่อนการปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคม ทีมโคกว่านได้ประชุมภายในกลุ่มเพื่อทำผลิตพันธ์เปลี่ยนแปลงสินค้าเพื่อมีประสิทธ์ภาะและคุณภาพอย่างสมบูรณ์เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG)
ตำบลโคกว่าน ตั้งอยู่ ถนน ละหานทราย – นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ตำบลโค่กว่านตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่ราบภูเขาไฟเขาอังคารที่ดับสนิทแล้ว จึงทำให้ดินในบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์อุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิด อีกทั้งบริเวณตำบลโคกว่านเป็นบริเวณที่สามารถระบายน้ำได้ดี ส่งผลให้เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิ พืชผักสวนครัวชนิดต่างๆ ที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งอาหารและเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงประชาชนบ้านสมจิตได้มาอย่างยั่งยืน ชุมชนบ้านสมจิตรตำบลโค่กว่านนำจุดแข็งด้านทรัพยากรที่ตรงเองมีบวกกับความขยันของคนในชุมชนมาเป็นจุดเริ่มต้นในการผลิตข้าวตอก ข้าวพองและไข่เค็มลาวา ในเบื้องต้นคนในชุมชนได้มีการทดลองการทำและใช้เวลาในการปรับปรุงให้เข้ากับแผนธุรกิจที่จัดไว้โดยใช้วิถีและวัฒนธรรมชุมชนเป็นพื้นฐานจนเกิดความสำเร็จ สะสมประสบการณ์ องค์ความรู้จนเกิดความชำนาญจนเกิดมาเป็นรูปแบบวิสาหกิจชุมชนตามวิถีวัฒนธรรมของบ้านสมจิตร จนเป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้ซื้อผู้ขายมากขึ้น ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของตลาด และต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการหลายๆแบรนด์ ดังนั้นบ้านสมจิตรจึงต้องมีมาตรฐานและรักษามาตรฐานการผลิตให้เป็นเอกลักษณ์และวิถีชุมชนไว้ การสร้างรายได้ให้กับชุมชนหรือการเพิ่มการผลิตวิสาหกิจชุมชนนั้นควรจะต้องคำนึงถึงการสร้างมาตรฐานการผลิตความสดความสะอาดปลอดภัยให้มีมาตรฐานรองรับเช่นมาตรฐานของอย. เพื่อเป็นการยกระดับการแข่งขันเพิ่มตลาดแต่อาจจะต้องลดต้นทุนเพื่อเพิ่มกำไรให้แก่รัฐวิสาหกิจชุมชน อีกทั้งปรับปรุงอาคารโรงเรือนการป้องกันฝุ่นละออง หรือเสียงที่มารบกวนเพื่อนบ้านควรอีกทั้งรัฐวิสาหกิจชุมชนยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้คนรุ่นใหม่ในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการผลิตต่างๆหรือนำองค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆมาต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนการตลาดออนไลน์ บรรจุภัณฑ์ให้มีความสุขสวยงามได้มาตรฐาน มีแรงงานให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อนของคู่แข่งมาและนำมาพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น
วันพุธ ที่ 10 สิงหาคม 2565
ได้ส่งผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่จะพัฒนาในเดือนนี้ และได้รับการปรับปรุงจากผลิตภัณฑ์เล็กน้อย และได้ประชุมหารือภายในกลุ่ม ในการแก้ไขสินค้าของตำบลที่จะพัฒนาตามที่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
วันอาทิตย์ ที่ 14 สิงหาคม 2565
การลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD ทางผู้ปฏิบัติงานได้มีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลสำรวจบริบทของชุมชน โดยมีการลงพื้นที่สำรวจชุมชนร่วมกัน โดยต้องเก็บข้อมูลทั้งหมด 500 ข้อมูล ดังนั้นจึงได้แบ่งให้ผู้ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลคนละ 50 ข้อมูล ซึ่งตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอละหานทรายประมาณ 7 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีเขียว มีต้นไม้เป็นจำนวนมากส่งผลให้ตำบลโคกว่านมีความร่มรื่น อีกทั้งลักษณะของชุมชนเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกัน มีหลังคาเรือนทั้งหมด 1,124 หลังคาเรือน
ดังนั้น ปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคมกำลังเร่งดำเนินการของการเก็บข้อมูลบริบท TCD ภายเดือนนี้ให้เสร็จสมบูรณ์ อย่างตามวัตถุประสงค์ที่สั่งไว้ครับ