เริ่มต้นเดือนแรกของการปฎิบัติงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG ต.กันทรารมย์ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ประจำเดือนกรกฎาคม 2565 โดยมีการสอบถามและสืบค้นข้อมูลมาได้ว่า
ตำบลกันทรารมย์มีการแบ่งเขตการปกครอง เป็น 12 หมู่บ้าน |
ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่1 บ้านตะน็อบ , หมู่2 บ้านดอนยาว , หมู่3 บ้านปลาย , หมู่4 บ้านโคกยาง , หมู่5 บ้านระกาเสม็ด , หมู่6 บ้านหนองขอน , หมู่7 บ้านกะโลง , หมู่8 บ้านสระสี่เหลี่ยม , หมู่9 บ้านปรีเวง , หมู่10 บ้านเสม็ด , หมู่11 บ้านโคกใหญ่ , หมู่12 บ้านศรีภูมิ |
โดยอาชีพหลักของชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะเป็นชาวนาและในบ้างหมู่บ้านก็จะมีกลุ่มแม่บ้านที่เขาจัดกลุ่มกันเพื่อหารายได้เสริมหลากหลายประเภทได้แก่ กลุ่มสตรีประดิษฐ์กระเป๋าจากผ้าไหม กลุ่มสตรีทำขนมนางเล็ต กลุ่มสตรีทำกล้วยเบรคแตก และกลุ่มเกษตรกรปลูกหัวไชเท้า
เนื่องจากทางผู้ปฏิบัติงานเล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์ในส่วนของกล้วยเบรคแตกและหัวไชเท้ามีความน่าสนใจจึงเลือกเป็นในส่วนของผลิตผลจากกล้วยและหัวไชเท้ามาพัฒนาเพื่อต่อยอดให้มีความหลากหลายทางด้วยผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้นและยังช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ในเดือนกรกฎาคมการดำเนินงานของเราจึงเริ่มจากการลงพื้นที่เพื่อเข้าไปสอบถามข้อมูลของกลุ่มสินค้ากล่าวนี้ว่ามีหมู่บ้านไหนทำบ้าง รายได้ในแต่ละเดือนเท่าไหร่ และสอบถามในส่วนของขั้นตอนการผลิตเพื่อที่ทางผู้ปฏิบัติงานจะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาคิดวิเคราะห์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ หลังจากที่ได้ทราบข้อมูลแล้วทางผู้ปฏิบัติงานได้ลงความเห็นกันว่าจะทำผลิตภัณฑ์ 2 อย่างก็คือผลิตภัณฑ์บานาน่านูกัต(ลูกอมกล้วย)และผลิตภัณฑ์เซราะอินมู(หัวไชเท้าดองเกาหลี) โดยจะมีการลงมือผลิตสินค้าเป็นลำดับถัดไป