• NS09-2 การลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับข้าวโพด ตำบลแคนดง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวสุกัญญา ศรีมงคล เจ้าหน้าที่ดำเนินงานตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ผู้จ้างงานประเภทบัณฑิต ตำบลแคนดง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์

ตามที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ได้มีการประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อจ้างงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ข้าพเจ้ามีความสนใจและสมัครเข้าร่วมโครงการ ประเภทบัณฑิต ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ เพื่อสอบถามข้อมูลกับเจ้าหน้าที่พัฒนากรประจำอำเภอแคนดง และสำรวจชุมชน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2565

จากที่ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจตำบลแคนดงนั้น ตำบลแคนดงมีทั้งหมด 18 หมู่บ้าน ชาวบ้านส่วนมาก ประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ปลูกข้าวโพด ปลูกยางพารา ปลูกข้าว ปลูกกล้วย และหาปลา หมู่บ้านที่มีการปลูกข้าวโพดเป็นจำนวนมาก และปลูกอยู่ตลอดทั้งปี คือ หมู่ที่ 1 บ้านแคนดง และ หมู่ที่ 16 บ้านไมตรีจิตร ในการปลูกข้าวโพดนั้นจะใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิต 3 เดือน/ครั้ง

วันที่19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ทีมปฏิบัติงานของข้าพเจ้าได้เล็งเห็นว่าสามารถ ยกระดับผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดให้มีมูลค่าและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนมากขึ้น คือ ข้าวเกรียบข้าวโพด และดอกไม้จากเปลือกข้าวโพด โดยได้ลงพื้นที่และขอความร่วมมือกับพัฒนากรประจำอำเภอแคนดง เพื่อขอคำแนะนำในเรื่องการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ร่วมกับท่านผู้นำในชุมชนหมู่ที่ 1 บ้านแคนดงเพื่อขอความร่วมมือให้ชุมชนเข้าร่วมโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด

ดังนั้น จากการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ต่างๆ ทั้งความสามัคคีและความเป็นกันเองของคนในชุมชน และได้รับความรู้เรื่องการปลูกข้าวโพด การแปรรูปข้าวโพด การใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ผู้นำชุมชนและชาวบ้านพร้อมที่จะยกระดับในการนำข้าวโพดมาเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน

รูปลงปฏิบัติงาน