โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
หลักสูตร SC20-2 คณะวิทยาศาสตร์
ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนกรกฎาคม
โครงการ U2T BCG มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางานหรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยผ่านการใช้หลัก BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันที่เริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการและเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพิ่มการจ้างงานบัณฑิตที่เพิ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ พัฒนาฐานที่จำเป็นต่อทักษะการทำงานในปัจจุบันและที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG รวมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ (Thailand Community Big Data : TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในพื้นที่ของประเทศ
จากวัตถุประสงค์ข้างต้น ข้าพเจ้า นางสาวพรรณพิสุทธิ์ ทองอินทร์ ผู้ปฏิบัติงานในส่วนตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการเริ่มปฏิบัติงานดังนี้ ข้าพเจ้าลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลในตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ตามที่ได้รับมอบหมายงาน โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สำรวจเก็บข้อมูลหมู่ 2 บ้านหนองเต็ง ตำบลเมืองฝ้าย และมีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้ ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีจำนวนประชากรทั้งหมด 7,770 คน และมีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านฝ้าย หมู่ที่ 2 บ้านหนองเต็ง หมู่ที่ 3 บ้านหนองตะคร้อ หมู่ที่ 4 บ้านหนองย่างหมู หมู่ที่ 5 บ้านโคกปราสาท หมู่ที่ 6 บ้านหนองสาม หมู่ที่ 7 บ้านหนองม่วง หมู่ที่ 8 บ้านประชาสามัคคี หมู่ที่ 9 บ้านปราสาททอง หมู่ที่ 10 บ้านคูเมือง หมู่ที่ 11 บ้านปราสาทอำนวย หมู่ที่ 12 บ้านโปรงตึกพัฒนา
สภาพทางเศรษฐกิจ อาชีพ ประชากรในตำบลเมืองฝ้ายส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพหลักคือ ทำนาข้าว มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ข้าวหอมมะลิ หอมแดง กระเทียม ฟักทอง อ้อย มันสำปะหลัง
การปศุสัตว์ มีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่เลี้ยงโค-กระบือ สุกร ไก่ เป็ด
การท่องเที่ยว ตำบลเมืองฝ้ายมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์คือพิพิธภัณฑ์ชชุมชนโบราณเมืองฝ้ายเมืองฝ้าย เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมืองฝ้าย มีหลักฐานการขุดพบของโบราณหลายชนิด (ออนไลน์. ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. แหล่งที่มา. http://burirum.kapook.com)
จากข้อมูลข้างต้น ข้าพเจ้าจึงได้รับมอบหมายให้สำรวจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสร้างรายได้และเป็นอาชีพเสริมให้กับหมู่ 2 ตำบลเมืองฝ้าย โดยข้าพเจ้าได้สัมภาษณ์ชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้านจึงได้ข้อมูลดังนี้ จากการลงพื้นที่พบว่าชาวบ้านในหมู่บ้านหนองเต็งได้มีการทำผลิตภัณฑ์ดังนี้
- น้ำพริกแมงดา
- ทอเสื่อกก
- ขนมไทย
โดยจะมีข้อมูลรายละเอียดการผลิตดังนี้
- น้ำพริกแมงดา
วัตถุดิบ พริกหยวก พริกแดงจินดา น้ำตาล เกลือ ผงชูรส รสดี หัวเชื้อแมงดา
ราคาขาย ขายถุงละ 10 บาท
ตลาดการขาย ขายแบบออฟไลน์ ขายตามบ้าน และมีลูกค้าสั่งทำ
ต้นทุนและกำไรจากการขาย ต้นทุนต่อถุง ตกเฉลี่ยถุงละ 5 บาท กำไรจากการขาย ตกเฉลี่ยถุงละ 5 บาท
วัสดุและอุปกรณ์ ต้นกก ฟืมทอเสื่อ เชือก กรรไกร สีย้อมกก
ขั้นตอนการทำ นำต้นกกที่ได้มาแยกความยาวให้เท่ากัน จากนั้นนำมาตากแดด 2- วัน ใช้มึดสอยเป็นเส้นเล็ก ๆ นำเส้นกกที่ได้ไปตากแดดผึ่งให้แห้ง พอตากเสร็จก็ทำการย้อมสีตามที่ชอบจากนั้นก็ตากแดดให้แห้ง เตรียมเชือกมาโยงใส่ฟืมจนเสร็จ จากนั้นก็ทอตามลายที่เลือก
ราคาขาย
- ผืนขนาดเล็ก 100 บาท
- ผืนขนาดกลาง 120 บาท
- ผืนขนาดใหญ่ 150 บาท
ตลาดการขาย ขายแบบออฟไลน์ ขายตามบ้าน มีลูกค้าสั่งทำและมารับซื้อถึงบ้าน
3. ขนมไทย
วัตถุดิบ ใบตอง ใบมะพร้าว ข้าวเหนียว น้ำตาล ลูกตาล กล้วย
ราคาขาย
- ข้าวต้ม 3 ห่อ 10 บาท
- ขนมวุ้น ถุงละ 10 บาท
- สาคู ถุงละ 10 บาท
- ขนมใส่ไส้ 3 ห่อ 10 บาท
- ขนมตาล 3 ห่อ 10 บาท
รายได้ต่อวัน ปกติทำ 200-300 ชิ้น สามรถสร้างรายได้วันละ 1500 บาท และได้กำไรจากการขาย 50%
ตลาดการขาย ขายแบบออฟไลน์ ขายตามบ้าน และมีลูกค้าสั่งทำโดยเฉพาะช่วงเทศกาลเข้าพรรษาจะขายได้เป็นจำนวนมาก
จากผลการสำรวจข้างต้น สรุปได้ว่าประชาชนของหมู่ 2 มีการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆขึ้นมาเพื่อสร้างรายได้เสริมจากการทำอาชีพหลัก และจากการสำรวจผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 อย่าง ส่วนใหญ่ชาวบ้านหมู่ 2 จะมีการทอเสื่อกกมากที่สุดเนื่องจากต้นกกนั้นหาได้เองตามธรรมชาติจึงทำให้มีต้นทุนที่ต่ำสามารถเก็บไว้ได้นาน สะดวกต่อการซื้อขาย แต่ยังขาดการพัฒนาและต่อยอดให้ดีขึ้นไป ดังนั้นจึงจะต้องช่วยพัฒนาต่อยอดและแปรรูปสินค้าให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น จัดทำและยกระดับสินค้าให้เป็นสินค้าประจำถิ่นและสามารถทำรายได้อย่างยั่งยืนให้กับชุมชน ตัวอย่างเช่น การแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการพัฒนายกระดับสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1. ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 17 กรกฎาคม 2565. แหล่งที่มา. (http://burirum.kapook.com)
2. สำนักงานที่ดินอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. (2559). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 17 กรกฎาคม 2565 แหล่งที่มา. (http://www.oic.go.th/)