พลิกฟื้นภูมิปัญญาหว่านแหหาปลาหมู่บ้านชาวประมง

หมู่บ้านชาวประมง ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อาศัยอยู่ติดลำน้ำมูล ที่ไหลผ่านอำเภอสตึก กว่า 10 ครอบครัว ว่างเว้นจากการทำนา มีอาชีพอีกอย่างหนึ่งคือหาปลาเพราะอำเภอสตึกแต่ก่อนมีสภาพเป็นป่าดงดิบอุดมไปด้วยน้ำ มีประชากรส่วนหนึ่งมาตั้งกรากพูดภาษาเขมรและเรียกป่าดงดิบนี้ว่า “หมู่บ้านน้ำ”

ชุมชนประมง เป็นชุมชนเล็กๆตั้งอยู่บริเวณเขตริมแม่น้ำมูล ซึ่งไม่มีทรัพยากรอื่นๆเลย จึงเป็นข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ในการดำรงชีพและการสร้างรายได้ หลังเสร็จจากเก็บเกี่ยวข้าว จะชวนกันมาหว่านแหจับปลาในลำน้ำมูล โดยจะใช้วิธีแบบดั้งเดิมแบบนี้คือการหว่านแหวง( อ่านว่า หว่านแห-วง ) ซึ่งวิธีดังกล่าวยังถือเป็นวิถีชีวิตที่ทำกันมานานส่งต่อรุ่นต่อรุ่น และ ยังเป็นการพลิกฟื้นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชน และสร้างความสามัคคีด้วยในส่วนของปลาก็จะนำการแปรรูปถนอมอาหาร ปลาน้ำมูล สู่ปลาแดดเดียว ปลาร้า และของขึ้นชื่อของชุนชนคือ ปลาส้ม ส่วนปลาที่จับได้จะนำไปบริโภค และ จำหน่าย แต่ละวันชาวบ้านสามารถจับปลาได้ถึง 5 – 10 กิโลกรัม มีทั้ง ปลาหน้าหนู ปลาตะเพียน ปลานาง และ ปลาอื่นๆ อีกหลายชนิด เป็นการสร้างรายได้เสริมให้แต่ละครัวเรือน เฉลี่ยครอบครัวละ 300 – 500 บาท ต่อวัน ส่วนปลาที่หาได้ก็จะนำมาขายที่ตลาดสด

การหาปลามีมายาวนานตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันสู่รุ่นลูกหลาน การสืบทอดภูมิปัญญานี้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ พัฒนาให้ชุมชนดำรงต่อไปข้างหน้าด้วยความยั่งยืน