โครงการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2t for BCG)                                                           รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ข้าพเจ้า นางสาวจิราวรรณ นาคนวล ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลสระทอง   อำเภอหนองหงส์   จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวจิราวรรณ นาคนวล กลุ่มงานตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 19 กรกฎาคม 2565  เวลา 10.00 น. ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Google Meet ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลสระทอง และสมาชิกในกลุ่มประจำตำบลสระทอง เกี่ยวกับการลงพื้นที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่กลุ่มทอผ้าบ้านม่วงเจริญ ร่วมกับชาวบ้าน หมู่ที่ 6 บ้านม่วงเจริญ ตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านม่วงเจริญ ซึ่งการลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านในครั้งนี้ก็จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลเข้าร่วมด้วย ข้าพเจ้านางสาวจิราวรรณ  นาคนวล รับหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์และประสานงานร่วมกับชาวบ้านและสมาชิกในกลุ่มตำบลสระทอง และช่วยเรื่องการจัดเตรียมสถานที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ ต่อมาอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลได้ให้คำแนะนำเกี่ยวการลงพื้นที่ในแต่ละหมู่บ้าน การเก็บข้อมูล TCD ในตำบล การใช้งานแอพพลิเคชั่น U2T และให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งรายงานการปฏิบัติงานและบทความ การนำบทความและรายงานการปฏิบัติงานลงเว็บไซต์ U2T For BCG การใช้งานเว็บไซต์ ขั้นตอนการลงข้อมูลต่าง ๆ การแก้ไขข้อมูลในเว็บไซต์  การแทรกรูปภาพ ตลอดจนการอัปโหลดข้อมูลลงเว็บไซต์

วันที่ 24 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้านางสาวจิราวรรณ  นาคนวล และสมาชิกในกลุ่มตำบลสระทอง  ทั้งประเภทบัณฑิตและประชาชน ร่วมกันทำความสะอาดและช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ เพื่อจัดกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน หมู่ที่ 6 บ้านม่วงเจริญ          ตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านม่วงเจริญ

       

วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.30 น. ข้าพเจ้านางสาวจิราวรรณ นาคนวล มาถึงสถานที่จัดกิจกรรม ต่อมาเวลา 09.00 น.            ชาวบ้านเริ่มลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรม และนำ ผ้าไหม   ผ้าด้าย รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านทอและผลิตขึ้น นำมาร่วมกิจกรรมนี้ด้วย  เช่น ผ้าพันคอ เสื้อ ผ้าถุง ผ้าซิ่นตีนแดง ทั้งแบบย้อมสีธรรมชาติ ต่อมาอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบล เริ่มบรรยายเกี่ยวกับโครงการ        ในครั้งนี้ ที่มาของโครงการ ระยะเวลาการจัดทำโครงการ โครงการ U2T จัดขึ้นเพื่ออะไร เพื่อส่งเสริมและสร้างรายได้ให้กับผลิตภัณฑ์ของแต่ละตำบล ซึ่งจะจัดหาวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมาบรรยายเกี่ยวกับการออกแบบกระเป๋า รวมถึงวิธีการ       ตัดเย็บกระเป๋า เพื่อแจ้งให้ชาวบ้านที่มาร่วมกิจกรรมทราบ ในครั้งต่อไป เพื่อที่ชาวบ้านจะได้เตรียมตัวในการร่วมทำกิจกรรม           ในครั้งหน้า ต่อมาอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลก็ให้แนะนำตัวเป็นรายบุคคล และทำการบรรยายเพื่อปิดการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

                                                                                                                                                          

ต่อมา วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.00 น. ข้าพเจ้านางสาวจิราวรรณ  นาคนวล และสมาชิกในกลุ่ม ได้ทำการลงพื้นที่ในการ   เก็บข้อมูลเพิ่มเติมกับชาวบ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโนนสวรรค์ ตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อที่จะได้เก็บข้อมูลให้ครบตามกำหนดของแต่ละเดือน โดยได้รับความร่วมจากผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโนนสวรรค์ นางนวลจันทร์  ปะนาที                  ช่วยอำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่ในแต่ละบ้าน และสามารถเก็บข้อมูลได้ครบตามจำนวนที่กำหนด

      

วันที่ 5 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 น. ข้าพเจ้าและสมาชิกประจำตำบลสระทอง ประเภทบัณฑิตและประชาชน ร่วมกันทำความสะอาด ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านม่วงเจริญ และทำการขนย้ายจักรเย็บผ้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม และช่วยกันจัดทำเบรคขนมอาหารว่างให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลสระทอง และวิทยากรที่มีความรู้    ความสามารถในการตัดเย็บกระเป๋าเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

                                                                                             

วันที่ 6 สิงหาคม 2565 เวลา 08.30 น. ข้าพเจ้านางสาวจิราวรรณ นาคนวล มาถึงสถานที่จัดกิจกรรม ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านม่วงเจริญ หมู่ที่ 6 บ้านม่วงเจริญ ตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ เวลา 09.00 น. ชาวบ้านเริ่มลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม        ต่อมาอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลเริ่มบรรยายเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ และส่งต่อการบรรยายให้กับวิทยากรที่มีความรู้  ความสามารถในดำเนินกิจกรรมต่อ วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับ วัสดุที่นำมาทำกระเป๋า อุปกรณ์ที่จะต้องใช้ ผ้าที่นำมาตัดเย็บ           เพื่อทำกระเป๋า หลังจากที่วิทยากรได้ทำการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเย็บกระเป๋าให้แก่ชาวบ้านแล้ว วิทยากรจึงแบ่งกลุ่ม ให้ชาวบ้านเพื่อที่จะได้ทำการทดลองเย็บกระเป๋า และสามารถปฏิบัติได้จริง เพื่อที่จะได้สามารถนำไปจำหน่ายให้เกิดรายได้          ในชุมชน ผลปรากฏว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ และบางส่วนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเย็บผ้าเป้นทุนเดิม จึงทำให้วิทยากรสอนและฝึกปฏิบัติตัดเย็บกระเป๋าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสามารถวางจำหน่ายได้จริง และต่อมาอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลและวิทยากร จึงได้กล่าวปิดกิจกรรมในครั้งนี้ และจัดหาออเดอร์สินค้ากระเป๋าให้แก่ชาวบ้านในตำบลต่อไป