แนวทางการจดมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ปิ่นอนงค์ ยวงโปร่งแก้ว
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) คือ ข้อกําหนดด้านคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และสร้าง ความมั่นใจให้ผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด และสอดคล้องกับนโยบาย OTOP
ดังนั้น ตำบลเมืองโพธิ์ อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้รวมกลุ่มเข้าร่วมโครงการสร้างรายได้และการพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชน โดยหมู่ที่7 ตำบลเมืองโพธิ์ อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เสนอของบสนับสนุนในชื่อโครงการ ”ผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า” เพื่อจำหน่าย โดยมีสำนักงานเกษตรอำเภอ เป็นผู้รับเรื่องโครงการและติดตามส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกร งบที่ได้จัดสรรมานั้น ตำบลล่ะล้าน ได้จัดสรรซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับผลิตก้อนเชื้อเห็ด จัดสรรงบสร้างโรงเรียนแต่ละหมู่ การจ้างงานประชาชนในพื้นที่ให้มีงานทำให้มีรายได้ในช่วงว่างงาน สถานที่ดำเนินการทำก้อนเห็ดนางฟ้านั้นอยู่ที่ศาลาประชาคมหมู่ที่ 7 บ้านศรีเจริญ ตำบลเมืองโพธิ์ ในส่วนของก้อนเห็ดที่ได้ทำจากการอัดก้อนและผ่านกระบวนการต่าง ๆ แล้วได้จัดสรรคให้ผู้นำแต่ละหมู่ได้นำกลับไปดูแล เพื่อเก็บดอกบริโภคและจำหน่าย เป็นรายได้ของประชาชน หลังจากที่ได้ดำเนินโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนแล้วนั้นได้มีโครงการอื่น ๆ เข้ามา เช่น โครงการ 9101 และโครงการเสริมสร้างรายได้ที่สนับสนุนส่งเสริมเกี่ยวกับการทำเห็ดนางฟ้า โดยที่หมู่ 1 และหมู่ 8 เป็นกลุ่มที่เข้มแข็งสามารถนำกลุ่มต่อยอดการทำเห็ดนางฟ้าทั้ง 3 โครงการ ทำให้เกิดรายได้ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ประโยชน์ที่ไดร้บจาก มผช. คือ
-
- ผู้ผลิตเห็ดนางฟ้า มีความเข้าใจ และมีความรู้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
- สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
- สินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ต้องการของตลาด
- สามารถนําผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรร OTOP Product Champion (ระดับดาว)
- ได้รับการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
- ขอบข่าย
เอกสารหลักเกณฑ์นี้กำหนดนิยาม เอกสารอ้างอิง เงื่อนไขสำหรับผู้ยื่นคำขอ กระบวนการรับรองมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้า
เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับการรับรอง ลักษณะ การทำ และการแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ชุมชน การตรวจติดตามผล การต่ออายุใบรับรอง การพักใช้ การเพิกถอน และการสิ้นอายุใบรับรอง
การร้องเรียนและการอุทธรณ์ การรักษาความลับ และการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
- นิยาม
ความหมายของคำในเอกสารนี้ มีดังต่อไปนี้
2.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) หมายถึง ข้อกาหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน
มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและเอกลักษณ์เฉพาะ อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่
เกี่ยวข้อง
2.2 การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หมายถึง การให้การรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ทำโดย
ผู้ทำผลิตภัณฑ์ชุมชน ตาม มผช.
2.3 หน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรับรองผลิตภัณฑ์
ชุมชนตามข้อกาหนด มผช. ในที่นี้ดำเนินการโดย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “หน่วยรับรอง”
2.4 คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (กผช.) หมายถึง คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งให้
พิจารณากำหนดนโยบาย ทิศทาง และแนวทางในการดำเนินงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
2.5 คณะพิจารณาตัดสินให้การรับรอง มผช. หมายถึง คณะบุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาตัดสินให้การรับรอง
คุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ในที่นี้ คือ คณะกรรมการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัด และ
คณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
2.6 ผู้ยื่นคำขอ หมายถึง ผู้ทำผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยื่นขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
2.7 ผู้ได้รับการรับรอง หมายถึง ผู้ยื่นคำขอที่ผ่านการตรวจประเมินสถานที่ทำ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไป
ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และได้รับการรับรองจากคณะพิจารณาตัดสินให้การรับรอง มผช.
2.8 เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หมายถึง เครื่องหมายการรับรองคุณภาพที่แสดงกับผลิตภัณฑ์
ชุมชนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
- เงื่อนไขของผู้ยื่นคำขอ
ผู้ยื่นคำขอ ต้อง
เป็นผู้ทำผลิตภัณฑ์ชุมชน ไม่เป็นผู้แอบอ้าง หรือทาการผลิตแอบแฝง และมีคุณสมบัติในข้อใด
ข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) บุคคลทั่วไป
(2) กลุ่มผู้ผลิตชุมชน ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานราชการหรือกลุ่มตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน
(3) นิติบุคคล ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
- กระบวนการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
เมื่อได้รับคำขอแล้ว หน่วยรับรองจะดำเนินการ ดังนี้
- ตรวจประเมินศักยภาพของสถานที่ทำและตรวจประเมินความพร้อมของผลิตภัณฑ์เบื้องต้น
เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ทำผลิตภัณฑ์ชุมชนมีศักยภาพในการดำเนินการและมีความพร้อมในการทำ
ผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ
- ตรวจประเมินสถานที่ทำและเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ทำผลิตภัณฑ์มี
สถานที่ทำและการควบคุมคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ยื่นขอที่เหมาะสม และเก็บตัวอย่าง
ผลิตภัณฑ์เพื่อส่งตรวจสอบตามเกณฑ์ที่กำหนด
หน่วยรับรองขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณายกเลิกคำขอ หากผู้ยื่นคำขอไม่ให้ความร่วมมือในการ
ดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
- การพิจารณาตัดสินให้การรับรอง
หน่วยรับรองจะนำเสนอคณะพิจารณาตัดสินให้การรับรอง มผช. ก็ต่อเมื่อ
3.1 ผลการตรวจประเมินสถานที่ทำพบว่ามีการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์เป็นไปตามที่กำหนด
3.2 ผลการตรวจสอบหรือทดสอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐาน มผช. ที่ขอรับการรับรอง
- การออกใบรับรอง
เมื่อคณะพิจารณาตัดสินให้การรับรองมีมติให้การรับรอง หน่วยรับรองจะ
4.1จัดทำใบรับรองให้แสดงเครื่องหมาย มผช. ตามแบบที่กำหนด ใบรับรองมีอายุ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่มีมติให้การรับรอง
4.2จัดทำรายชื่อผู้ได้รับการรับรองเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อไป
- เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับการรับรอง
ผู้ได้รับการรับรอง ต้อง
5.1 รักษาระบบการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง
5.2 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งที่ประกาศใช้แล้ว หรือที่
จะประกาศใช้บังคับในภายหน้า
5.3 นำใบรับรองให้แสดงเครื่องหมาย มผช. และเครื่องหมาย มผช. ไปใช้อ้างอิงได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่อยู่
ภายใต้ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองเท่านั้น
5.4 ยุติการใช้ใบรับรองและเครื่องหมาย มผช. เมื่อสิ้นอายุเวลาการรับรอง หรือในทันทีที่มีการพักใช้ หรือ
ยกเลิก หรือเพิกถอนการรับรอง
5.5 จัดเตรียมเอกสารหลักฐานและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการร้องเรียนผลิตภัณฑ์ภายใต้ขอบข่ายที่ได้รับ
การรับรอง
5.6 แจ้งให้หน่วยรับรองทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น การเปลี่ยนผู้ติดต่อประสานงาน
การจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อนิติบุคคล การย้ายสถานที่ การปรับกระบวนการทำที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์
ภายใต้ขอบข่ายที่ได้รับการรับรอง
- ลักษณะ การทำ และการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
6.1 ลักษณะของเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
รูปแบบ ขนาด และสัดส่วนของเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามที่กำหนดใน
ภาคผนวก
6.2 ผู้ได้รับการรับรองต้องเป็นผู้ทำเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
6.3 การแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การแสดงเครื่องหมายและฉลาก ต้องมีข้อความครบถ้วนตามที่กาหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้แสดงให้เห็นได้ง่ายและชัดเจนไว้ที่ผลิตภัณฑ์ และ/หรือที่สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ หรือสิ่งผูกมัด หรือให้ระบุหมายเลขมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนไว้ใกล้เคียงกับเครื่องหมาย โดยหมายเลขมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วยตัวอักษรย่อ “มผช.” ตามด้วยเลขที่มาตรฐานทั้งหมดเป็นเลขไทย หรือเลขอารบิกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มผช.9/2561 ตัวอย่างการแสดงเครื่องหมาย มผช.
- การตรวจติดตามผล
7.1 หน่วยรับรองจะตรวจติดตามผลเพื่อติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนภายหลังได้รับการรับรอง
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ได้รับการรับรองยังคงรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตาม
มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
7.2 เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจประเมิน ณ สถานที่ทำของผู้ได้รับการรับรอง และอาจเก็บตัวอย่างเพื่อส่ง
ทดสอบ/ตรวจสอบตามวิธีการและจำนวนที่กำหนดในมาตรฐาน และแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ได้รับ
การรับรองทราบ
- การต่ออายุใบรับรอง
8.1 หากผู้ได้รับการรับรองมีความประสงค์ขอต่ออายุใบรับรองให้ยื่นขอใหม่ล่วงหน้า 120 วันก่อนที่
ใบรับรองจะสิ้นอายุ
8.2 หน่วยรับรองจะดำเนินการตามกระบวนการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนข้างต้น
- การพักใช้ การเพิกถอน และการสิ้นอายุใบรับรอง
9.1 การพักใช้การรับรอง
- หากพบว่าผู้ได้รับการรับรองไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ชุมชน จะถูกพักใช้ใบรับรองไม่น้อยกว่า 60 วัน แต่ไม่เกิน 180 วัน
- ในระหว่างการพักใช้การรับรอง ต้องยุติการใช้ใบรับรองในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้ง
การแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การใช้เอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ หรือโฆษณาใดๆ
ที่ระบุหรือที่มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนทันที จนกว่าจะได้รับแจ้งผล
การพิจารณา
- ผู้ถูกพักใช้การรับรองต้องปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องให้เรียบร้อย และแจ้งให้หน่วยรับรองทราบ เพื่อดำเนินการตรวจติดตามผลการแก้ไขนั้นหากดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนด จะคืนสถานะการรับรองให้กับผู้ได้รับ
การรับรองหากไม่สามารถดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด จะพิจารณาเพิกถอนการรับรอง
9.2 การเพิกถอนการรับรองผู้ได้รับการรับรองจะถูกเพิกถอนการรับรอง ในกรณีต่อไปนี้
- ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ภายในระยะเวลาที่ถูกพักใช้การรับรอง
- ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข และส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการรับรอง หรือทำให้เกิด
ความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้บริโภค
- ปฏิเสธความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดต่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นความเสียหายที่ผู้ได้รับ
การรับรองต้องรับผิดชอบ
ผู้ที่ถูกเพิกถอนการรับรองต้องส่งคืนใบรับรองให้แก่หน่วยรับรอง พร้อมทั้งยุติการแสดงเครื่องหมาย
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนับตั้งแต่วันที่ถูกเพิกถอน
9.3 การสิ้นอายุใบรับรอง
- เมื่อใบรับรองครบอายุ 3 ปี นับจากวันที่ได้รับการรับรอง
- ผู้ได้รับการรับรองมีความประสงค์ขอยกเลิกการรับรอง โดยแจ้งให้หน่วยรับรองทราบเป็น
ลายลักษณ์อักษร
- ผู้ได้รับการรับรองเลิก หรือถูกสั่งให้เลิกประกอบกิจการในขอบข่ายที่ได้รับการรับรอง
- เมื่อมีการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการรับรอง หน่วยรับรองจะแจ้ง
เป็นหนังสือให้ผู้ได้รับการรับรองทราบ โดยใบรับรองจะมีอายุ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่มาตรฐานใหม่
มีผลบังคับใช้
- เมื่อมีการยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการรับรอง
- ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 2 ครั้งติดต่อกัน
- การรักษาความลับ
หน่วยรับรองมีนโยบายและขั้นตอนในการเก็บรักษาความลับข้อมูลของผู้ยื่นคำขอและผู้ได้รับการรับรอง
ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามระเบียบราชการที่เกี่ยวข้อง
- การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ชุมชน หน่วยรับรองจะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอและผู้ได้รับการรับรองทราบ พร้อมกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุง
แก้ไขให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขฉบับใหม่
- อื่นๆ
หน่วยรับรองไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการกระทำใดๆ ของผู้ยื่นคำขอหรือผู้ได้รับการรับรอง
ที่กระทำโดยไม่สุจริต หลบเลี่ยง หรือฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใดๆ ที่เกี่ยวกับการรับรองมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
ภาคผนวก
ลักษณะของเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มีลักษณะเป็นรูปมือประสานต่อเนื่องกันภายในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส
เอียงเป็นมุม ๔๕ องศา มีสัดส่วนของเครื่องหมายตามรูป และมีขนาดเท่าใดก็ได้
วีดีโอประจำเดือน กรกฎาคม