ข้าพเจ้านายบรรเลง จวงพลงาม ผู้ปฏิบัติงานประเภท ประชาชน SC15-2 ตำบลเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)
หลักสูตร : การพัฒนาและแปรรูปพืชสมุนไพรแก่นฝางตามภูมิปัญญาท้องถิ่น จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน มหาวิทยาลัย
ราชภัฏบุรีรัมย์
การเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ของผม มุ่งหมายที่จะเผยแพร่ศาสตร์พระราชาที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างแน่วแน่เชื่อมั่น และศัทธา การลงมือทำ สั่งสมสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ เรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด ตั้งเป้าหมายชัดเจน โดยได้นำเอาองค์ความรู้ตามศาสตร์พระราชามาประยุกค์ใช้คือการทำป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง จัดโครงสร้างและลำดับชั้นต้นไม้ในป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เป็นการจัดโครงสร้าง พันธุ์ไม้ให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อความสมดุลของระบบนิเวศ โดยให้มีชั้นเรือนยอด 3 ชั้น ได้แก่ เรือนยอดชั้นบน เรือนยอดชั้นกลาง เรือนยอดชั้นล่าง และหากจัดโครงสร้างด้านการใช้ประโยชน์จะเป็น 4 ระดับ คือ ชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นล่างและชั้นใต้ดิน ตามรูปแบบเกษตร 4 ชั้น
ค่อย ๆ ลงมือทำที่ละเล็กทีละน้อยค่อยบ่มเพาะประสบการณ์จนเชี่ยวชาญ สามารถต่อยอดเอาองค์ความรู้ไปเผยแผ่ด้วยการเป็นวิทยากรตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ เข้าร่วมโครงการยังสมาร์ทฟาเมอร์ เป็นวิทยากรที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านแสงจันทร์ จากกการเป็นวิทยากรจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติมให้มากขึ้นต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กว้างไกลโดยการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมากกว่า 4 ครั้ง จากประสบการณ์นี้หวังใจยิ่งว่าจะสามารถทำออกมาได้ดี
พื้นที่เดิมนั้นเป็นเกษตรผสมผสานบนเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่ที่บ้านยางโลน ต.เมืองแก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ก็จะปลูกหลายอย่าง อาทิ ไม้ติดแผ่นดิน ได้แก่ ยางนา พยุง 40-50 ปี จึงตัดขายได้ กับไม้ยืนต้น หลายอายุ 10 ปี 15 ปี 20 ปี จึงตัดขายได้เช่นกัน ยังมีกระถินณรงค์ ปลูกเป็นพี่เลี้ยงยางนา ถัดไปเป็น ไพร จากโครงการทำน้อยได้มาก ไพรสามารถนำมาทำเป็นน้ำมันนวด เพราะถ้าขุดขายมันขายน้อยทำมาก สมุนไพรอื่น ก็ปลูกคละ ๆ กันไป มีข่าหัว ว่านยานางแดง (รางจืดชนิดหนึ่ง) เป็นยาถอดพิษ มีดอก มีเม็ดจากฝักล่วงลงดิน ใครอยากได้ก็พอมีแบ่งปัน ต้นไม้รายทางระหว่างทาง ซ้ายและขวางปลูกมาเกือบสิบปี ความห่างระหว่างกันกั้นถนนอยู๋ที่ 8-9 เมตร มีน้อยหน้า มะฮอกกานี ผักหวานป่าปลูกแซมได้ไม้พี่เลี้ยง ยังมีผักกูดที่อยู่ในตระกูลเฟริน์ แล้วยังมีพริกไทเกาะลำต้นเลื้อยบนตัวสัก ห่างจากตัวถนนจะเป็นไผ่ซางหม่น ไม้หน่อ ไม้ลำ สูงต่ำ เตี้ย เรี่ยดิน รั้วกินได้
ครั้งนี้ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อต้องการต่อยอดจากการทำเกษตรอินทรีย์นำเอา “ฝาง” พืชสมุนไพรชนิดหนึ่งลงดินในพื้นที่นี้เมื่อหลายปีก่อน เคยนำมาแปรรูปอยู่บ้างแต่ยังไม่ได้เป็นกิจลักษณะเท่าที่ควร เพราะเริ่มให้ความสนใจในการนำฝางมาใช้ประโยชน์เมื่อหลายปีก่อนหลังจากนั้นจึงศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม พบว่าฝางต้านสามารถต้านเชื้อโรคได้ทุกตัวได้หลายชนิด โดยมีงานวิจัยชัดเจนรองรับ ทำให้เกิดความมั่นใจว่าฝางน่าจะเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง ต่อมาจึงเริ่มนำฝางมาต้มกินเป็นน้ำดื่ม รวมถึงทำสบู่เพื่อเป็นการทดลองคุณภาพ ปรากฏว่าได้คุณภาพดี
โดยครั้งนี้ได้รับความสนใจจากโครงการฯ จึงเข้าร่วมกับทางมหาวิทยาลัยเพื่อที่จะได้เอาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จากแก่นฝางรวมไปจนถึงการเพิ่มมูลค่าด้วยการจำหน่ายผ่านเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ทางอาจารย์ประจำตำบลในโครงการจะนำมาช่วยให้มีช่องทางประชาสัมพันธ์ รมไปจนถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ และช่องทางจัดจำหน่ายต่อไป.