โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T for BCG )
หลักสูตร SC20-2 คณะวิทยาศาสตร์
ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม
ข้าพเจ้า นายธีรวุฒิ คะเรรัมย์ ประเภทประชาชนทั่วไป ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ BCG (U2T for BCG and Regional Development) รอบที่ 2
………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
เสื่อกกเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน คนสมัยก่อนยังไม่มีเสื่อปูนั่ง จึงได้นำเอาวัสดุต่างๆหรือพวกใบไม้เพื่อมาปูนั่ง ยังไม่มีการทอเสื่อเหมือนยุคสมัยปัจจุบัน การทำเสื่อกกนั้นแต่ก่อนต้นกกเกิดขึ้นตามธรรมชาติแหล่งน้ำมากมาย ชาวบ้านจึงเล็งเห็นว่าต้นกกสามารถนำมาสานเป็นเสื่อไว้ปูนั่ง และยังสามารถเก็บไว้ใช้ได้อีกนาน
ซึ่งชาวบ้านจึงเกิดแนวคิดว่าลองนำต้นกกนั้นมาทำเป็นที่รองนั่งหรือไว้ปูเป็นที่นอน โดยชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจึงรวมกลุ่มไปเก็บเกี่ยวต้นกกที่เกิดตามธรรมชาติเพื่อทำเสื่อกก โดยจะต้องนำต้นกกมาแบ่งซึ่งต้นกก 1 ต้น มาแบ่งออกเป็น 3 เส้น แล้วจึงนำต้นกกที่ทำไว้แล้วนำไปตากแดด การตากแดดต้องตากที่แดดจัดเพื่อไล่ความชื้นออกจากต้นกก ประมาณ 2-3 วัน จนแห้งสนิท และหลังจากนั้นจึงนำมาสาน ก่อนที่จะสานนำต้นกกที่เราจะเตรียมไว้สานไปชุบน้ำเพื่อให้มันอ่อนตัวเพื่อที่จะได้สานง่ายขึ้น แล้วจึงนำมาสานด้วยวิธีการสานไขว้กันไปมา ซึ่งแต่ก่อนจะไม่มีสี ไม่มีลวดลายใดๆ การสานแต่ก่อนนั้นจะใช้เวลาในการสานประมาณ 2-3 วัน เพราะจะทำเวลาหลังเลิกงานจึงใช้เวลานาน พอมาถึงยุคสมัยจะเปลี่ยนจากการสานเป็นการทอที่มีอุปกรณ์เพิ่มเข้ามา เช่น โครงทอ ไม้สอด ฟืมหรือตัวทอ และเชือก เป็นต้น การทำเสื่อกกในยุคสมัยนี้การทำจะย่นเวลาจากที่เคยทำ 2-3 วันต่อผืน เป็นวันละ 2-3 ผืน และยังคิดค้นการเย็บขอบของเสื่อและนำเสื่อมาเย็บต่อกันแบบพับเก็บได้ เพื่อลดพื้นที่การเก็บเสื่อจากผืนใหญ่ให้เล็กลง และเสื่อกกนั้นยังสามารถนำไปเป็นของฝากและใช้งานพิธีต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น แต่พอมาถึงยุคสมัยปัจจุบันการทำเสื่อกกนั้นเริ่มหายตามกาลเวลา จากแต่ก่อนทำเกือบทุกครัวเรือน ปัจจุบันนี้เหลือเพียงไม่กี่ครัวเรือน
การทำเสื่อกกนั้นเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านตั้งแต่สมัยโบราณที่สืบทอดกันมา จึงอยากให้อนุรักษ์การทำเสื่อกกนั้นไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่า เห็นความตั้งใจ ที่จะสืบทอดต่อกันมา เพื่อตระหนักถึงภูมิปัญญา เพื่อจะได้เห็นเสื่อกกอยู่กับชุมชนต่อไป
รูปภาพประกอบ