ข้าพเจ้า นางสาวเกษริน โสดก ประเภทประชาชน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

รหัสตำบล ID18-2 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตำบลบึงเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

เนื่องด้วยตำบลบึงเจริญมีโบราณสถานและสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่น่าสนใจและยังส่งเสริมเศรษฐกิจ
ของคนในชุมชน เช่น หมู่บ้านผึ้งร้อยรัง เขื่อนห้วยเมฆา ห้วยตาเขียว พิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์
วัดป่าพระสบาย เป็นต้น

ดิฉันพร้อมด้วยอาจารย์ประจำตำบล ได้ลงพื้นที่และแบ่งหน้าที่ในการทำงานต่าง ๆ และได้ลงพื้นที่สำรวจ
อาหารประจำถิ่นของบ้านผึ้งร้อยรัง ได้แก่

จะแกน้อยลอยหิมะ (ขนมหมาน้อย)

หมาน้อยที่ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่สุนัขนะจ๊ะทุกคน อย่าเข้าใจผิดกัน หมาน้อยที่ว่ามันเป็นพืชผักค่ะ ที่นำมาทำอาหาร
ของคนทางภาคอีสาน สมัยเป็นเด็ก ๆ คนเฒ่าคนแก่พากินหมาน้อยบ่อย ๆ  ตอนแรกเราก็ไม่กล้ากิน  เพราะคิดมาตลอดว่าทำมาจากลูกหมาลูกสุนัข วันนี้เลยจะพามารู้จักกับ “เครือหมาน้อย”กันค่ะ

เครือหมาน้อย

เครือหมาน้อย มีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีใบเป็นรูปหัวใจ แต่โคนใบเป็นแบบก้นปิด หน้าใบและหลังใบมีขน ๆปกคลุมหนา เวลาเอามือลูบใบ รู้สึกนุ่มเหมือนขนหมาน้อย คนเฒ่าคนแก่โบราณพาเรียก “เครือหมาน้อย”
หลายชุมชนในบ้านเราชาวอีสาน  จะนำเครือหมาน้อยมาทำเป็นอาหารรับประทาน

manoi 02

manoi 03

อาหารจากเครือหมาน้อย

นำมาทำอาหารคาวหวานได้ เอามาทำเป็นขนมวุ้นใส่น้ำเชื่อมกินก็ได้  เป็นวุ้นเขียว ๆ วุ้นธรรมชาติ

วุ้นหมาน้อย

นอกจากจะทำลาบหมาน้อยแล้ว ยังเอามาทำเป็นของหวานทานในหน้าร้อนก็ไม่เลวนะครับ ทำไม่ยากเลย

วัตถุดิบในการทำวุ้น

  • ใบหมาน้อย ประมาณ 30 ใบ
  • ใบเตย ประมาณ 3 – 4 ใบ
  • ใบย่านาง ประมาณ 10 ใบ
  • น้ำสะอาด ประมาณ 1 ลิตร

วิธีการทําวุ้นหมาน้อย

  • เลือกใบหมาน้อยที่แก่จัด ลักษณะเป็นใบสีเขียวเข้ม ใบค่อนข้างใหญ่ ประมาณ 30 ใบ
  • นําใบหมาน้อย ใบเตย ใบย่านาง ที่คัดไว้มาล้างทําความสะอาด แล้วตั้งทิ้งไว้ให้พอหมาดๆ
  • นําใบหมาน้อยมาขยี้จนใบหมาน้อยเหลือแต่เส้นใบ (ทําคล้ายๆ ขยี้ใบย่านางใส่แกงหน่อไม้) ขยี้จนหมดให้เหลือแต่เส้นใบ และนำใบเตยหั่นชิ้นเล็กๆ ใบย่านาง มาขยี้จนเหลือแต่ก้านใบ นํามาผสมกับน้ำใบหมาน้อย
  • นําไปกรองใสภาชนะที่เตรียมไว้ เอาก้านออกจากน้ำให้หมดเหลือแต่น้ำ
  • ปล่อยทิ้งไว้สักพัก น้ำหมาน้อยที่ขยี้ไวจะเริ่มจับตัวเป็นเจลลี่ แล้วจับตัวแข็งขึ้นเป็นก้อนวุ้น
  • จากนั้นใช้มีดตัดเป็นชิ้นเล็ก เหมือนลูกเต๋า
  • แช่เย็นไว้ในตู้เย็น เวลารับประทานจึงนํามาผสมกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ ใส่น้ำแข็งเล็กน้อย เท่านี้ก็จะได้วุ้นหมาน้อยลอยแก้ว รับประทานคลายร้อนแล้วครับ

manoi 07

ลาบหมาน้อย

การทำลาบหมาน้อยไม่ใช่เรื่องยากครับ จริงๆ จะบอกว่า “ลาบ” ก็ไม่เหมือนลาบหมู ลาบเนื้อ ลาบปลา ลาบไก่นะครับ มันเหมือนวุ้นมากกว่า หรือบางคนอาจจะนึกถึง “หมูเย็น” (พะโล้แช่แข็ง) อาหารจีนมากกว่า ขั้นตอนและวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากครับ เริ่มกันเลย

ส่วนประกอบและเครื่องปรุง

  • ใบหมาน้อยประมาณ 30-40 ใบ (จะมากน้อยก็ตามปริมาณที่ต้องการทำ และคนกิน มีมากก็จะได้วุ้นที่เข้มข้นมากขึ้น)
  • ใบย่านาง 3-4 ใบ (บางคนอาจไม่ชอบก็ไม่ต้องใส่ครับ จะช่วยให้มีความข้นและกลื่นหอม สรรพคุณเป็นยาเย็น)
  • น้ำเปล่า 1-2 ถ้วย (ตามปริมาณใบหมาน้อย ใส่มากจะทำให้ไม่เป็นวุ้นได้นะ ภาษาผู้เฒ่าเพิ่นว่ามันสิจาง)
  • ป่นปลา 1 ถ้วย (ปลาตามชอบตามที่มี แต่นางซื้อปลาข่อใหญ่มากะสิเอาส่วนหางมาป่น ส่วนหัวไปต้มซดแซบๆ มีไข่บ่น้อโตนี้)
  • ตะไคร่ 1 ต้น
  • มะเขือขื่น 1 ลูก
  • ข้าวคั่ว พริกป่น ผักหอมเป หอมสดซอย (มากน้อยตามชอบ) น้ำปลาร้า น้ำปลาปรุงรส

manoi 06

ขั้นตอนการทำลาบหมาน้อย

  • ล้างใบหมาน้อย ใบย่านางให้สะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำทิ้งไว้ก่อน
  • ตะไคร้หั่นบางๆ หอม ผักชีหั่นละเอียด มะเขือขื่นผ่าควักเมล็ดทิ้ง ล้างให้สะอาดแล้วหั่นชิ้นเล็กๆ เตรียมไว้ให้พร้อม
  • เตรียมป่นปลาไว้ 1 ถ้วย (การทำป่นปลาฉบับย่อๆ นำหอมแดง พริกไปย่างไฟให้หอม ต้มปลาในน้ำปลาร้าให้สุก แกะเอาเฉพาะเนื้อปลา จากนั้นโขลกพริกและหอมให้ละเอียดใส่เนื้อปลาลงไปโขลกรวมกัน ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า น้ำปลาให้ได้รสแซบนัวตามชอบ)
  • นำใบหมาน้อย ใบย่านางมาใส่ในหม้อหรือกะละมังใส่น้ำเปล่าลงไปไม่ต้องมาก คั้นใบหมาน้อยและใบย่านางให้ละเอียดจนเหลือแต่ก้าน คั้นไปจนรู้สึกว่าน้ำจะเป็นวุ้นก็หยุด
  • นำเอาน้ำที่ได้ไปกรองเอากากออกให้หมด เหลือแต่น้ำข้นๆ นำป่นปลาลงไปผสม เติมข้าวคั่ว พริกป่น ตะไคร้ มะเขือขื่น คนให้เข้ากันดี ชิมรสดูหากจืดไปเติมน้ำปลาร้า น้ำปลาจนได้รสชาติที่ต้องการ
  • ตักใส่ถ้วยใบเล็กพอประมาณหลายๆ ถ้วยก็ได้ ทิ้งไว้สัก 10-15 นาที ก็จะแข็งตัวเป็นวุ้น จะตักรับประทานก็ได้เลย หรือจะเอาออกจากถ้วยวางคว่ำบนจานแล้วตกแต่งด้วยผักเคียงต่างๆ ให้เหมือนอาหารเหลาก็น่ารับประทานไปอีกแบบครับ

manoi 05

สรรพคุณทางยา

  • ส่วนเหนือดิน เป็นยาแก้ร้อนใน แก้โรคตับ ราก มีกลิ่นหอม รสสุขุม ใช้แก้ไข้ แก้ดีรั่ว ดีล้น ดีซ่าน เป็นยาขับปัสสาวะ ยาถ่าย แก้ไข้มาลาเรีย ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ยาอายุวัฒนะ ยาช่วยย่อย แก้ท้องร่วง บวมน้ำ แก้ไอ ขัดเบา กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และใช้ในรายถูกงูกัด เป็นยาลดไข้ แก้ปวดท้อง โรคหนองใน
  • ราก มีกลิ่นรสหอมเย็นสุขุม แก้ไข้ แก้ดีรั่ว ดีซ่าน เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงอวัยวะเพศให้แข็งแรง แก้ลม โลหิต กำเดา แก้โรคตา ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ใช้เคี้ยว แก้ปวดท้อง และโรคบิด ระบายนิ่ว แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไอเจ็บหน้าอก เป็นยาขับเหงื่อ ยาขับระดู ยาบำรุง ยาสงบประสาท ยาขับน้ำเหลืองเสีย ยาสมาน
  • รากและใบ พอกเป็นยาเฉพาะที่ แก้โรคผิวหนัง หิด ลำต้น ดับพิษไข้ทุกชนิด บำรุงโลหิตสตรี เป็นยาพอกแก้ตาอักเสบ เนื้อไม้ แก้โรคปอด และโรคโลหิตจาง
  • ใบ แก้ร้อนใน พอกแผล ฝี แก้แผลมะเร็ง แก้หืด ใช้ทาภายนอกแก้หิด