ดิฉัน นางสาวสมส่วน เรืองศรีชาติ ประเภท ประชาชน ได้เข้าร่วม ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG and Regional Development) ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในโครงการ 3เดือนได้ลงพื้นที่ใน ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03(1)

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ HS03(1)

ทีมคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน HS03(1) จัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนกรกฎาคมพร้อมจัดการแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานภายในทีม การตั้งชื่อโครงการ ชื่อผลิตภัณฑ์ การทำงานผ่าน แพลตฟอร์มที่ทาง อว. กำหนด การทำงานใช้งานระบบออนไลน์ ที่ใช้ปฎิบัติงาน เช่น PBMและ MIS

ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2565 คณะผู้ปฏิบัติงาน HS03(1) ร่วมกับอาจารย์ประจำโครงการ ทีมงานตำบลหนองโบสถ์ ณ.ศาลากลางหมู่บ้านศาลาประชาคมบ้านโคกพลวง ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์  เข้าร่วมปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชน คือ นาง สามัญ โล่ห์ทอง ผู้ใหญ่บ้านโคกพลวง  ชี้แนะแนวทางเกี่ยวกับโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังจากโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ได้ร่วมกันคิดและเล็งเห็นวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ชุมชนนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน รวมถึงให้คำแนะนำ ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาชุมชนบ้านโคกพลวง

ทั้งนี้ทางทีมผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจคัดเลือกสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมา 2 อย่าง ได้แก่

-หมวกจักสานจากต้นไหล

-ปุ๋ยหมักใบไม้จากชุมชนบ้านโคกพลวง

หมวกจักสานจากต้นไหลเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กับโครงการนี้เป็นอย่างดี “โครงการ U2T FOR BCG “สามารถนำมาต่อยอดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้

หมวกจักสานจากต้นไหล

 

ชุมชนบ้านโคกพลวงเป็นหมู่บ้านที่มีต้นไหลปลูกไว้ทุกบ้านเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงได้มีการนำต้นไหลมาจักสานเป็นหมวก ,เสื่อ เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน ณ ปัจจุบันสมาชิกที่ร่วมกันจักสานหมวกจากต้นไหล มีประมาณ 5คน โดยมี พี่จาก เป็นผู้นำในการทำหมวกจากต้นไหลที่มีฝีมือ และความประณีต  ละเอียดอ่อน  สวยงาม  สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ว่างงาน  จึงได้ใช้เวลาว่าง มาทำการผลิตหมวกจากต้นไหล  แต่ขั้นตอนการผลิตไม่ได้ง่าย ต้องใช้เวลานานพอสมควร ความอดทนและ ฝีมือเป็นอย่างมาก เราจึงอยากช่วยต่อยอด คิดจะทำอย่างไรที่จะต่อยอดสินค้าผลิตภัณฑ์ให้มีราคาเพิ่มขึ้น และเพิ่มอัตลักษณ์สินค้าของชุมชนให้ดูน่าสวมใส่มากขึ้น ต้นไหลเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นหมวก เพื่อการสวมใส่และสามารถเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวและบุคคลที่สนใจผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน เพิ่มมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์อนุรักษ์และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผลิตภัณฑ์หมวกจักสานจากต้นไหล มีความสอดคล้องและตอบโจทย์กับโครงการนี้คือ เป็นเศรษฐกิจชีวภาพ Bio Economy คือการนำเอาความรู้เทคโนโลยีและวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอด ทรัพยากรธรรมชาติหรือผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนที่มีอยู่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เช่น การทำหมวกจากต้นไหลนำความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการทำหมวกจากต้นไหลธรรมดามาสานเป้นหมวกที่มีลวดลายสวยงามและเพิ่มอัตลักษณ์ จากราคาปกติ สามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในชุมชนขึ้นได้ เป็นการสร้างคณค่าให้กับชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

ปุ๋ยหมักใบไม้จากชุมชนบ้านโคกพลวง

ชุมชุนบ้านโคกพลวงเป็นหมู่บ้านนวัตวิถี หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนหมู่บ้านที่มีการปลูกต้นไม้ เป็นจำนวนมากโดยมีป้าไว หรือ  ป้าทองม้วน รังพงษ์ เป็นผู้ริเริ่มและเป็นต้นแบบในการในการปลูกป่า โดยป้าไวได้สละพื้นที่ของตนเองปลูกป่าหลายชนิด ในพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ต้นไม้ที่นิยมปลูกเช่น สะเดา ต้นไผ่ ไม้แดง ไม้เต็ง เป็นต้น ทางทีมงานได้ไปสำรวจลงพื้นที่ “สวนป่าป้าปลูก” สวนของป้าไวนั่นเอง ทีมงานได้มองเห็นใบไม้ในพื้นที่สวนของป้าไวร่วงหล่นและทับถมกันเป็นจำนวนมาก จึงมีแนวคิดและเล็งเห็นว่าใบไม้ที่ทับถมกันเป็นจำนวนมากสามารถนำมาสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ เราจึงคิดนำมาทำเป็น ปุ๋ยหมักใบไม้จากชุมชนบ้านโคกพลวง เพื่อเป็นการต่อยอดจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนให้มีรายได้และสร้างอาชีพให้กับชุมนต่อไป

 

ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักใบไม้ชุมชนบ้านโคกพลวง เป็นการแปลรูปวัสดุเหลือทิ้งเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพมีมูลค่าสูง และสอดคล้องกับโครงการ U2T for BCG คือเศรษฐกิจชีวภาพ Bio Economy ซึ่งเศรษฐกิจชีวภาพคือ การที่เราพยายามสร้างประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น พืช สัตว์ หรือสิ่งเล็กๆโดยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ให้มีมูลค่า เช่นการทำปุ๋ยหมักใบไม้ เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนที่มีอยู่ที่ร่วงหล่นทับถมกันเป็นจำนวนมาก ทิ้งไว้ก็ไม่เกิดประโยชน์ เราจึงคิดหาวิธีสร้างคุณค่าให้กับชุมชน นำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างและแปลรูป วัสดุเหลือทิ้ง เป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพมีมูลค่าสูง เป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือปุ่ยหมักใบไม้ ที่เราจะทำขึ้น ได้นนำมาใช้ประโยชน์ให้เกษตรปลูกผัก ต้นไม้ ให้เจริญเติบโต สวยงาม ตามความต้องการของเกษตรกรและคนในชุมชน เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิต/การสร้างมูลค่าให้กับชุมชน/การอนุรักษ์และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทสรุปจากการได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในครั้งนี้

   จากการได้ร่วมโครงการและอบรมลงพื้นที่ในครั้งนี้ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานทุกทนได้เรียนรู้แนวทางการพัฒนาต่อยอดสินค้าการนำวัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นมาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน  รู้จักการเพิ่มมูลค่าผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/บริการ/การอนุรักษ์และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมซึ่งทำให้ดิฉันได้รับประสบการณ์และสิ่งประทับใจหลายๆอย่างที่ทำให้ดิฉันได้ทำงานอย่างสนุกสนานในการทำงานในครั้งนี้ค่ะ

                                                               รูปภาพประกอบการลงพื้นที่

                                                                                                                                 นางสาวสมส่วน เรืองศรีชาติ

                                                                                                                                                                              ประชาชน