รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง โควิทด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T BCG)

ประจำเดือนกันยายน 2565

หลักสูตร: HS01-1 การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานรากของชุมชนเพื่อต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ ทีมีคุณภาพและมีระบบการจัดการและการตลาดที่ยั่งยืน “จากกล้วยที่มีปลูกทุกครัวเรือนในชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์สู่ผลิตภัณฑ์การแปรรูป ขนมท้องม้วนมันม่วง “ตราสิงห์คู่” ให้เป็นผลิตภัณฑ์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และได้นำแป้งกล้วยมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยการนำแป้งกล้วยมาทำขนมทองม้วนซึ่งได้ผสมมันม่วงลงไปด้วย ทำให้เกิดเป็นทองม้วนรสชาติใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจำเดือน กันยายน 2565 และการดำเนินการในเดือนนี้  ได้ออกแบบฉลากสติ๊กเกอร์ผลิตภัณฑ์ หา Packaging เพื่อนำมาบรรจุแป้งกล้วย และขนมทองม้วนมันม่วง ให้ดูมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น มีความสวยงามน่าดึงดูดมากขึ้นอีกด้วย

ดิฉันนางสาวสุจิตรา เศรษฐี ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน  รับผิดชอบดําเนินงานในเขตพื้นที่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กิจกรรมและ แผนการดำเนินงานของโครงการ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

  1. กิจกรรมประชุม Online และ Onsite

        วันที่ 28 สิงหาคม ได้มีการเสนอความคิดในการออกแบบฉลากสินค้าและประชุมกิจกรรมต่างๆที่จะเตรียมความพร้อมใน LINE Group (สรุปโดยเลขา)

-ออกแบบโลโก้สินค้าทองม้วนมันม่วงและแป้งกล้วยทอดกรอบ

-วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 ประชุมออนไลน์ 15:30 เตรียมไปร่วมทำบุญเสวนาชุมชนของคณะ

-จัดอบรมวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน ช่วงเช้าเวลา 10:00 – 12:00 น. มีวิทยากรมาให้ความรู้

-เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำท้องม้วนและกล้วยทอด

-เตรียมแป้งกล้วยบดให้เรียบร้อย

-เชิญชาวบ้านผู้สนใจมาร่วมอบรม 15-20คน

-จัดสถานที่ ที่ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่7 บ้านหนองบัวราย

-มีเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม

-มหาลัยให้ออกบูธขายสินค้างานวันรับปริญญา 14-18 ก.ย

สินค้าที่ขาย

-แป้งกล้วยทอดกรอบ

-มัน/กล้วยชุปแป้งทอด

-ทองม้วนมันม่วง

-ต้องมีการจัดซุ้มให้สวยงามน่าสนใจ

 

วันที่ 29 สิงหาคม 2565  ได้เข้าร่วมประชุมการเตรียมการร่วมทำบุญงานผ้าป่าเสวนาชุมชน ผ่าน

สรุปการประชุม

เตรียมตัวไปร่วมทำบุญงานผ้าป่าเสวนาชุมชน ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 31 สิงหาคม เวลา 08.30 น. เริ่มแห่ตรงทางเข้าศูนย์เรียนรู้ 150-200 เมตร โดยวงดนตรีและมีชาวบ้านร่วมด้วย และมีเมล็ดพันธุ์พืช-ต้นไม้แจกผู้มาร่วมงาน

 

       วันที่ 31 สิงหาคม 2565 ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์

       นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เป็นประธานเปิดงานทอดผ้าป่า-เสวนาชุมชน ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคีเครือข่ายและประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันจัดขึ้น ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์  และรองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา กล่าวต้อนรับและขอบคุณ และร่วมปลูกต้นไม้กับแขกผู้มีเกียรติรวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ปลูกต้นรวงผึ้ง ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำ รัชกาลที่ ๑๐ และเพื่อต้องการให้ อ.นางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมมาชีพต่างๆ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงาน และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับกสิกรรมธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็น Social Lab ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคมด้วย โดยมี รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม

ทั้งนี้กิจกรรมภายในงานนอกจาก พิธีทอดผ้าป่าสามัคคีแล้ว จากนั้นรับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง ‘ศาสตร์พระราชา’ ฝ่าทุกวิกฤติในยุค World Disruption “ โดยคุณ โจน จันได ผู้ก่อตั่งพันพรรณ-ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งพาตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ จากนั้นถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์และทอดผ้าป่าสามัคคี เวลา 13.00 น. เสวนาชุมชน เรื่อง “เกษตรอินทรีย์บนวิถีพอเพียง :ทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน?”มีผู้ร่วมเสวนาและดำเนินการเสวนา โดย พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย เจ้าคณะตำบลหนองกง พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายก อบต.หนองโสน นายเดช สวัสดิ์พูน นายก อบต.หนองยายพิมพ์ นายมานพ บุญรอด เจ้าของวนเกษตร นายพิชาญ ดัดตนรัมย์ “ช่างดำอิ้นดี้” เจ้าของกระท่อมกินแดด นายคำนึง เจริญศิริ ผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านสุขวัฒนา นายอำเภอนางรอง เปิดเผยว่า การทำบุญทอดผ้าป่าในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการสมทบเงินทุนในการสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง ที่กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อให้อำเภอนางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมมาชีพต่างๆ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานที่สนใจเกี่ยวกับ กสิกรรมธรรมชาติ และเป็น Social Lab ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้อยู่ดีมีสุข ในการดำเนินการเสวนานั้นมีความน่าฟัง เพลิดเพลิน ภายในงานมีร้านค้าของชุมชนตำบลต่างๆ มาจัดแสดง แจกอาหาร และจำหน่ายสินค้าของตำบลนั่นๆ เวลา15.00 น. ได้มีการกล่าวปิดงาน และแจกวัตถุมงคลต้นไม้เพื่อนำไปปลูกป่าสร้างคุณค่าสู่แผ่นดิน โดยพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์

 

วันที่ 4 กันยายน 2565 ทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์ ได้ลงพื้นที่โดยผู้ทีมปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์ ได้นัดหมายและรวมตัวกันที่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้จัดอบรมเชิญชวนชาวบ้าน มาร่วมทำขนมทองม้วนสูตรมันม่วง และทอดกล้วยจากแป้งกล้วย ซึ่งได้มีชาวบ้านเข้ามาสนใจเป็นจำนวนมาก ผู้ปฏิบัติงาน U2T ได้แบ่งกลุ่มชาวบ้านเป็น3กลุ่ม ในการทำกิจกรรม ซึ่งได้เตรียมอุปกรณ์ไว้พร้อมแล้ว ทางคณะอาจารย์ได้เข้าบรรยายให้ความรู้ชาวบ้าน เรื่องการต่อยอดขนมทองม้วนและแป้งกล้วย จากนั้นได้ลงมือทำขนมทองม้วนและผสมแป้งกล้วยเพื่อเตรียมการทอดกล้วย ระหว่างทำกิจกรรมได้สอบถามความคิดเห็นของชาวบ้านเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้น ชาวบ้านให้ความคิดเห็นว่า ทองม้วนมีความหอมอร่อย แปลกใหม่ สีสันสวยงาม ส่วนแป้งกล้วยที่ทางผู้ปฏิบัติงานได้คิดขึ้นมานั้น มีรสชาติที่ดี มีกลิ่นหอมชูรสชาติเอกลักษณ์ของกล้วย และเมื่อทำกิจกรรมเสร็จได้แจกขนมทองม้วนมันม่วงและแป้งกล้วยที่ชาวบ้านมาร่วมกันทำให้เป็นของฝากที่ระลึก และให้ชาวบ้านนำไปปฏิบัติลงมือทำตามสูตรที่เรียนรู้ไปจากการอบรม ซึ่งเป็นการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานรากทางภูมิปัญญาดั้งเดิมจากการ แปรรูปกล้วย และ ขนมทองม้วนมันม่วง “ต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนโบราณเป็น ผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นชื่อของดีชุมชนตำบลบ้านสิงห์ และยังทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของตัวสินค้าอีกด้วย

 

 

 

วันที่ 12 กันยายน 2565  อบรมการเปิดร้านค้าออนไลน์ Shopee ภายใต้ แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ (U2T Online Marketplace )

สรุปการเข้าอบรมหัวข้อ “สร้างร้าน Shopee ให้ขายดี ติดตลาด ฉับไว”

1.เทรนด์ของ E-commerce 2022

– E-commerce ช่องทางอันดับ1 ของนักช้อปออนไลน์

– Live commerce สร้างฐานลูกค้าจากการไลฟ์สด

– First Party Data เพื่อการตลาดที่แม่นยำ

– Direct to Customer ธุรกิจตรงสู่ผู้ผลิต

2.เกี่ยวกับ Shopee และตัวอย่างความสำเร็จ

2.1เกี่ยวกับ Shopee

– Community ขนาดใหญ่ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

– แอปพลิเคชั่น Online Shopping ที่มีจำนวนดาวน์โหลดสูงสุดในประเทศไทย

– มีผู้ใช้งาน 95% ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศ

– ตัวเลือกอันดับ 1 ของนักช้อปออนไลน์จากการสำรวจของ สพธอ.

2.2 ตัวอย่างความสำเร็จ

– สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า

– ปรับตัวและไม่หยุดพัฒนา

– สังเกต เข้าใจ และเปลี่ยนแปลง

3.การเปิดร้านค้าบน Shopee

– บัญชีผู้ใช้งาน

– สินค้าสำหรับลงขาย

– บัตรประชาชน

– บัญชีธนาคาร

– ความตั่งใจในการขาย

4.เทคนิคการลงสินค้าให้น่าสนใจ

– สร้างร้านค้าให้น่าสนใจ ช่วยการดึงดูดผู้ซื้อ รูปภาพการอธิบายสินค้า

– การตั่งชื่อร้านให้น่าสนใจ

– เทคนิคการตั่งชื่อสินค้า

– รายละเอียดร้านค้า เช่น ประเภทสินค้า การรับประกัน เวลาตอบกลับ

5.ช่วงถาม-ตอบ

-ถามและตอบคำถามต่างๆที่ผู้เข้าร่วมอบรม หรือ ผู้ใช้งาน Shopee ได้ส่งข้อความเข้ามาในการอบรม

 

วันที่ 14 กันยายน 2565 ทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์ได้ลงพื้นที่จัดโชว์และจำหน่าย สินค้าของตำบ้านสิงห์ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์  ในงาน  ชม ชิม ช้อป แชร์ “U2T for BCG BRU FAIR” มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพ ตั่งแต่วันที่ 14-18 กันยายน 2565 ซึ่งภายในงานมีร้านค้าของตำบลต่างๆในจังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตำบล ภายใต้โครงการ U2T for BCG การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้าของตำบล ซึ่งตำบลบ้านสิงห์ได้นำ ขนมทองม้วนมันม่วง และแป้งกล้วยทอดกรอบ ไปจำหน่ายในงานนี้ด้วย นอกจากนี้ตำบลบ้านสิงห์ยังได้ทอดกล้วยจากแป้งกล้วยเพื่อจำหน่ายหารายได้เพิ่มจากสินค้าที่มีอยู่ อีกด้วย   บรรยากาศภายในงานมีผู้คนให้ความสนใจแวะเข้ามาชิม มาซื้อสินค้า ซึ่งเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก

 

สรุปผลการทํางานและการทดลองประจําเดือนกันยายน

ทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตําบลบ้านสิงห์ ได้เข้าร่วมอบรมต่างๆของทางโครงการ ได้ความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้น และนำมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ในตำบลให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ผู้ปฏบัติงานได้เริ่มปฎิบัติงานตามโครงการมาตั่งแต่เดือนกรกฎาคมโดยเริ่มต้นจากสรุปโครงการของตำบลบ้านสิงห์ คือแป้งกล้วยทอดกรอบ และทองม้วนมันม่วง ชื่อผลิตภัณฑ์คือ  “สิงห์คู่” ซึ่ง Admin ได้ลงข้อมูลโครงการ C01 ในระบบเรียบร้อยแล้ว จากนั้นได้เริ่มขั้นตอนการแปรรูปกล้วย และได้คิดทดลองสูตรการผสมแป้งทอด และสูตรแป้งกล้วยสำเร็จรูป  ต่อมาเดือนสิงหาคม ได้มีการต่อยอดนาแป้งกล้วยและมันม่วงมาเพิ่มสูตรใหม่อีก รวมเป็น 4 สูตร และแต่ละสูตรมีกลิ่น มีส่วนผสมที่ต่างกันออกไป สูตรที่ 1 กลิ่นหอมหวานมันของกะทิ สูตรที่ 2 มีกลิ่นหอมกะทิและมันม่วง ทองม้วนมีสีม่วงเข้มเพราะมีส่วนผสมของเนื้อมันม่วงหอมหวานมัน สูตรที่3 มีกลิ่นหอมกะทิและกล้วย ซึ่งมีความหอมเป็นเอกลักษณ์ของกล้วยชัดเจน รสชาติหวานจากแป้งกล้วยมีความมันของกะทิ แป้งบางเนียน และสูตรที่ 4 มีความหอมกะทิ กล้วย และมันม่วง สีทองม้วนออกมาสวย ทั้ง4 สูตรนั้นได้มีการใส่ดอกไม้ทานได้จากธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความสวยงามแก่ผลิตภัณฑ์อีกด้วย และเดือนสุดท้ายของโครงการ เดือนกันยายน ได้นำผลผลิตที่คิดค้นสูตร มาอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านโดยการจัดอบรมให้ชาวบ้านได้ร่วมกิจกรรม ได้ลงมือทำขมทองม้วนมันม่วง และการทอดกล้วยจากแป้งกล้วยทอดกรอบ ซึ่งชาวบ้านชื่นชอบเป็นอย่างมาก ในความแปลกใหม่ และรสชาติที่อร่อย และยังเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านตําบลบ้านสิงห์  ต่อยอดให้เป็นสินค้า OTOP และนำสินค้าไปแสดงและจำหน่ายในงาน  ชม ชิม ช้อป แชร์ “U2T for BCG BRU FAIR” มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพอีกด้วย