กระผมนายธเนศ หอมจันทร์ ประเภทประชาชน เป็นผู้รับจ้างประจำตำบลสนวน อำเภอห้วยราชจังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG)

    กัญชา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis indica มีหลายสายพันธุ์แต่สายพันธุ์หลักๆ 3 สายพันธุ์ได้แก่ 1) พันธุ์ซาติวา (Canabis sativa), 2) สายพันธุ์อินดิกา (Canabis indica), และ 3) สายพันธุ์รูเดราลิส (Canabis ruderaris) ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะมีส่วนประกอบทางเคมีต่างกัน เราเรียกว่าคานาบินอยด์ (Canabiniods) ในปัจจุบันมีการค้นพบคานาบินอยด์ในกัญชาจำนวนมาก แต่สารที่มีความสำคัญและมีบทบาทในทางวิทยาศาสตร์มากคือ delta-9-Tetrahydro-Canabinoids หรือ THC และ Canabidiol หรือ CBD (Brenneisen, 2007)

          

        กัญชา เป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ในทางการแพทย์ ซึ่งมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนทั้งแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนปัจจุบันชี้ให้เห็นสรรพคุณและความปลอดภัย ซึ่งการใช้กัญชาในทางการแพทย์เพื่อบรรเทาอาการปวดเรื้อรังโดยเฉพาะอาการปวดจากปลายประสาท อีกทั้งยังพบการศึกษาของกัญชาในการรักษาโรคมะเร็งที่พบว่า สาร THC ในกัญชาสามารถยับยั้งการสร้างเซลล์มะเร็งและสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ (Leelawat te al., 2010) เราจะเห็นได้ว่าการศึกษาเรื่องกัญชามีมติที่มาเกี่ยวข้องหลากหลายมิติ เช่น มิติประโยชน์ทางการแพทย์ มิติประโยชน์ทางสังคมวัฒนธรรมและวิถีชีวิต และมิติความมั่นคงด้านยาและสุขภาพ ซึ่งการศึกษาให้ครอบคลุมทั้งสามมิติดังกล่าว น่าจะนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการที่จะพิจารณานำพืขกัญชามาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

 

โดยวันนี้เราได้จัดกิจกรรมการอบรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์และพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนและสังคมในอำเภอห้วยราช ตำบลสนวน ด้วยการ อบรมการทำผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร จากกัญชา โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมอบรมเป็นอย่างดี แลดูทุกคนจะมีความสุขที่ได้เข้ารับการอบรมและร่วมปฏิบัติการทำผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรจากกัญชาในครั้งนี้ การอบรมครั้งนี้ราบรื่นไปด้วยดีและทุกคนต่างได้รับความรู้และประสบการณ์ในการลงมือทำอย่างดี