ข้าพเจ้านางสาวสุภาพร สุวรรณปะโต และทีมงานเจ้าหน้าที่ดำเนินงานประเภทบัณฑิต ตำบลหนองเยือง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ
BCG (U2T for BCG) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เริ่มปฎิบัติงานเดือน กันยายน 2565
สัปดาห์ ที่1
เก็บข้อมูล TCD ครบตามจำนวนที่ได้รับมอบหมายในวันเสาร์ที่ 3 กันยายน 65 ทางคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และวิทยากรจากจังหวัดลพบุรีได้นัดคณะบัณฑิตและประชาชน U2T ทำบุญหนองเยือง

ลงพื้นที่เอาแบบลายผ้าที่ออกแบบไว้ไปให้ทอและประสานงานกับกลุ่มขนมไทยสื่ออารมณ์เพื่อนัดหมายการทำขนมและกรอบ boot ในวันที่ 14-18 กันยายน 2565 ทำการออกตลาดเพื่อต่อยอดสินค้าในงานรับปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สัปดาห์ที่ 2
คณะอาจารย์ได้รับมอบหมายให้ทีมU2Tตำบลหนองเรือได้ดำเนินกิจกรรมECT WEEW ให้ดำเนินการโดยสามารถสอดแทรกร่วมกิจกรรมอื่นๆในพื้นที่ตำบลหนองเยืองทำการสำรวจข้อมูลเพื่อภารกิจแต่ละวันในวันที่ 5 ถึง 6 กันยายน 65 ให้ดำเนินการสำรวจข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 คนและนำมาสรุปและประมวลผลลงในแบบรายงานของแต่ละวันโดยทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ECT WEEW ภายในวันที่ 5 – 9 กันยายน 2565

วันที่ 5 กันยายน 2565 คณะ U2Tทำการลงพื้นที่ร่วมกับ กก.ศส.ปชต.ประจำตำบลและประสานงานกับครูกศน.ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 9 ของตำบลหนองเยืองและได้รับการประสานงาน
1.คุณวรรณศรี อินไธสง (ครูแปร)
2. (ครูอุ้ม)

5/ก.ย/65 คณะU2T ออกสำรวจลงพื้นที่หมู่ 2 และหมู่4
-ให้ความรู้กับชาวบ้านเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของกก.ศส.ปชต.
-ให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของคนในสังคมในระบอบประชาธิปไตย ( วิถีชีวิตและประชาธิปไตย )
-ให้ความรู้เกี่ยวกับผู้แทนทางการเมืองของประชาชนที่พึงประสงค์
-ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
7ก.ย 65 ลงพื้นที่
8ก.ย65 ลงพื้นที่
9ก.ย 65 สรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทำใบงานของแต่ละวันส่งครูกศน.กับอาจารย์ประจำตำบล

สัปดาห์ที่ 3
คณะ U2T ร่วมปรึกษากันเกี่ยวกับการออกบูธในวันที่ 14-18 กันยายน 2565 และจัดทำ C05,C06ส่งให้คณะอาจารย์ประจำตำบลและจัดเตรียมสินค้าที่ออกแบบลายผ้าทำการท่อเพื่อจะได้จำหน่ายให้ทันวันออกบูทและหมักผ้าที่หมักด้วยดินสอพองและผลิตภัณฑ์ขนมไทยเสืออารมณ์เพื่อนำไปออกตลาดต่อยอดในการดำเนินงานต่อไป

สรุปยอดขายเดือน กรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน
เดือนกรกฎาคม
– ยอดขายขนมไทยสื่ออารมณ์ รวม 5000 บาท/เดือน
– ยอดขายผ้าทอพริ้วบ้านโคกจิก รวม 5000 บาท/เดือน
เดือนสิงหาคม
– ยอดขายขนมไทยสื่ออารมณ์ รวม 5000 บาท/เดือน
– ยอดขายผ้าทอพริ้วบ้านโคกจิก รวม 5000 บาท/เดือน
ซึ่งหลังจากทำการพัฒนาสินค้า รวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ ในเดือนกันยายน พร้อมทั้งทำการเปิดตลาดสินค้าสินค้าออนไลน์ใน shopee ปรากฎว่ายอดขายผ้าทอพริ้วบ้านโคกจิกเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 บาท/เดือน จากต้นทุน 6,750 บาท ซึ่งเป็นกำไรสุทธิ 25%
ส่วนยอดขายของขนมไทยสื่ออารมณ์ เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 บาท/เดือน จากต้นทุน 7,500 บาท ซึ่งเป็นกำไรสุทธิ 25%