ข้าพเจ้า นายณัฐพล นวลศรี ผู้ปฏิบัติงานโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประเภทประชาชน ประจำบ้านหนอกครก ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

 

เมื่อวันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม 2565 กระผมและทีมงาน U2T ตำบลเมืองแฝก ได้เข้าไปพบกับป้าแดง นางศิริญญา หนองหาญ ที่หมู่บ้านหนองครก ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  เรื่องการทำน้ำพริกกากหมูป้าแดงได้บอกถึงส่วนผสมของน้ำพริกกากหมู ซึ่งประกอบด้วย

  1. หมู 15 กิโลกรัม 2 กระเทียม
  2. กิโลกรัม
  3. พริกแห้ง1 กิโลกรัม
  4. ใบมะรูด ½ กิโลกรัม
  5. น้ำมะขามเปียก 600 มิลลิลิตร
  6. พริกป่น 2 กิโลกรัม

7.เกลือ ½ กิโลกรัม

  1. น้ำส้มสายชู 600 มิลลิลิตร
  2. ผงชูรส 1 กิโลกรัม
  3. น้ำปลา 600 มิลลิลิตร

การทำน้ำพริกกากหมูสามารถสร้างรายได้ในครัวหรือจะทำเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักก็ได้ นอกจากนี้ส่วนผสมต่างๆเช่นกระเทียมพริก ใบมะกรูด เป็นต้นก็สามรถซื้อจากสวนของชาวบ้านในชุมชนเพื่อเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชน และเป็นผักที่ปลอดสารพิษผู้บริโภคสามารถกินได้อย่างสบายใจปลอดภัยจากสารเคมีและรสชาติอร่อยและกระผมขอนำประวัติน้ำพริกกากหมูมาเผยแพร่

ประวัติและความสำคัญของน้ำพริกต่อสังคมไทยน้ำพริก มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยคำว่า “น้ำพริก” มีความหมายมาจากการปรุงด้วยการนำสมุนไพร พริก กระเทียม หัวหอม เครื่องเทศกลิ่นแรง มาโขก บด รวมกัน เพื่อใช้สำหรับจิ้ม โดยมี ดอกแค มะเขือยาว แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือม่วง ถั่วพู สัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น ปลา กุ้ง เป็นต้น น้ำพริก เป็นวิธีปรุงอาหารหรือเครื่องปรุงอาหาร โดยการนำเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ ลงโขลกรวมกันในครก โดยมากเป็นวิธีปรุงอาหารประเภทน้ำพริกต่างๆ คำว่า ตำ ยังใช้เรียกนำหน้าอาหารบางชนิด ที่ปรุงคล้ายยำ แต่ทำการคลุกเคล้ากันในครกโดยการตำเช่น ตำเทา (เตา) ตำบ่าโอ (ส้มโอ) ตำบ่าเขือ ตำบ่าม่วง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การตำมักใช้อาหารประเภท น้ำพริก ซึ่งมีอยู่หลายชนิด

การเรียกชื่อน้ำพริกแต่ละชนิด มักจะเรียกตามส่วนประกอบหลักที่นำมาทำ ซึ่งอาจเป็นเนื้อสัตว์ พืชผัก แมลงหรือผลิตผลจากพืชหรือสัตว์ก็ได้ เช่น น้ำพริกขิง น้ำพริกปลา น้ำพริกร้า น้ำพริก-น้ำปู น้ำพริกน้ำผัก เป็นต้น ประเภทของพริก ที่นำมาตำน้ำพริก ก็มีทั้งพริกดิบ หรือ พริกหนุ่ม และพริกแห้ง ส่วนประกอบของน้ำพริก โดยทั่วไปแล้ว การตำน้ำพริกของคนล้านนา มักจะมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ เกลือ กระเทียม หัวหอม พริก(แห้งหรือพริกดิบ) ซึ่งถ้าเป็นน้ำพริกที่ใช้ข้าวเหนียวจิ้มกินแล้ว ก็จะ เผา จี่ หรือหมกขี้เถ้าร้อนให้สุกก่อน เพื่อให้มีรสดียิ่งขึ้น สำหรับเครื่องปรุงอื่น ๆ เช่น กะปิ ปลาร้า มะเขือเทศ ข่า ตะไคร้ อาจจะมีเพิ่มเข้าไปอีกแล้วแต่เฉพาะของน้ำพริกแต่ละชนิดไป ในระยะหลังน้ำพริกทุกชนิดมักโรยด้วยต้นหอมผักชีทุกครั้งเมื่อตำเสร็จแล้ว

ชนิดของน้ำพริก นอกจากจะแบ่งตามลักษณะของพริกที่นำมาทำแล้ว ยังอาจแบ่งได้ตามลักษณะของน้ำพริก ได้แก่ น้ำพริกที่ลักษณะค่อนข้างแห้ง และน้ำพริกลักษณะมีน้ำขลุกขลิก

คนในสมัยก่อนนิยมรับประทานสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก จึงอาจคิดค้นน้ำพริกขึ้น เพื่อเพิ่มรสชาติและดับกลิ่นคาวต่าง ๆ น้ำพริก ถูกใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ หรือใช้ในการรับประทาน เป็นกับข้าว ก็ได้ และยังได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับน้ำพริก แบบที่ใช้เป็นเครื่องปรุงส่วนผสมนั้น เกิดขึ้นเพราะอาหารไทยจำพวกแกง จำเป็นที่จะต้องมีส่วนประกอบ หรือกรรมวิธีการทำที่ค่อนข้างซับซ้อน ผู้ปรุงจึงคิดทำน้ำพริกขึ้น เพื่อรวบรวมส่วนผสมต่าง ๆ นั้นเข้าด้วยกัน เป็นการลดขั้นตอนการปรุงลง และยังสามารถทำเก็บไว้ได้ในจำนวนมาก

ประโยชน์ของน้ำพริกเพื่อสุขภาพ

คุณสมบัติทางยาของน้ำพริก ได้ถูกประกาศโดยกระทรวงสาธารณะสุข และมุ่งส่งเสริมให้แพร่หลายมากขึ้นสำหรับผู้บริโภค

นอกจากจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าแล้ว ยังช่วยประหยัดค่ารักษาสุขภาพของคนไทย ปีหนึ่งไม่ต่ำกว่าพันล้านบาทน้ำพริก มีส่วนผสมของสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีส่วนประกอบทั่วไป คือ พริก กระเทียม หอมแดง กุ้ง น้ำปลา และปลาร้า น้ำพริก สามารถเพิ่มการสร้างเซลล์กำจัดเชื้อโรคได้อย่างเป็นธรรมชาติ ส่งเสริมระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบการหายใจให้ดีขึ้น ซึ่งช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน

น้ำพริก มีส่วนประกอบของ antioxidants และ anti-aging ซึ่งสามารถลดการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ได้ร้อยละ 20 และโรคลม โรคทางสมอง ได้ร้อยละ 26 ถึง 42 นอกจากนี้ น้ำพริกยังสนับสนุนให้คนทั่วไปนิยมทานมากกว่าผัก ด้วยรสชาติที่เผ็ดร้อน เราไม่สามารถที่จะทานน้ำพริกโดยไม่ทานผักและข้าวไปด้วยได้ ทางการแพทย์ยืนยันแล้วว่า เส้นใยผักช่วยในระบบการย่อยอาหาร

น้ำพริก มีรสชาติที่อร่อย หากใช้ส่วนประกอบที่มีคุณภาพ และผักที่สะอาด น้ำพริกบางประเภทใช้พริกต่างชนิดกัน เพื่อรสชาติที่ดีสำหรับน้ำพริกประเภทนั้น ๆ

ประเทศไทยเคยมีน้ำพริก มากกว่า 500 ประเภท แต่ปัจจุบันเหลืออยู่ 200 ประเภทเท่านั้น ในแต่ละท้องถิ่นจะมีส่วนประกอบของน้ำพริก วิธีการทำ และวิธีการกิน ที่แตกต่างกันไป ในภาคเหนือ มักจะใช้ถั่วเน่าเป็นส่วนประกอบในการทำน้ำพริก ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ ในขณะที่ ปลาร้า มักนิยมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปลาบูด นิยมใช้กันในภาคใต้

และกระผมได้ไปสำรวจคนที่ปลูกตะไคร้ ข่า คือสวนของ นางทองย้อย บุญอำนวย ซึ่งได้ปลูกหลายชนิดเพื่อส่งขายในชุมชนและนอกจากนั้นยังเป็นสวนเศรษฐกิจพอเพียงที่น่าเรียนปลูกพืชหลายชนิดเช่น มะนาว มะพร้าว ส้มโอ และเลี้ยงหนูนา และอื่นๆอีกมากมาย

จากนั้นได้สำรวจพื้นที่ในตำบลเมืองแฝกเพื่อหาสถานที่ให้วิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ ในการทำน้ำพริกกากหมู คือคุณศิริญญา หนองหาญ มาให้ความรู้แก่คนในชุมชนตำบลเมืองแฝก ได้สถานที่เป็นศาลากลางบ้านหนองเก้าข่า หมู่ 3 ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

กระผมหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่จะสนใจศึกษาเรื่องการทำน้ำพริกกากหมูเพื่อจะทำกินเองในครัวเรือนจะทำขายเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคลเพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพในยุคโควิตต่อไป

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.lannaworld.com).html,2550