หลักสูตร: HS10-1 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG 

(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน กันยายน 2565

            ข้าพเจ้า นางสาวศศิวรรณ นาคศรี ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งภายในเดือนนี้มีกิจกรรมมากมาย และข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานมาจวบจนเดือนสุดท้ายของเฟสนี้ การดำเนินโครงการเป็นไปด้วยความราบรื่น และปฏิบัติงานอย่างแข่งขันเพื่อให้งานออกมาสำเร็จ 

เมื่อวันที่ 20-21 สิงหาคม 2565 ผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำตำบล ได้ลงพื้นที่อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำพริกกากหมูทรงเครื่อง และน้ำพริกปลาทูคั่วแห้งแก่ชาวบ้าน ตั้งแต่เวลา 08:00 – 17:00 น. ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองเก้าข่า ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการทำน้ำพริกกากหมูทรงเครื่อง และน้ำพริกปลาทูคั่วแห้ง ซึ่งวิทยากรท่านแรกคือ คุณศิริญญา หนองหาญ และคุณปาณิดา หนองหาญ มาให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการพัฒนา ส่งเสริมและผลักดันเศรษฐกิจ BCG ของพื้นที่อย่างยั่งยืนในการออกแบบผลิตภัณฑ์น้ำพริกกากหมูทรงเครื่อง และน้ำพริกกากหมูคั่วแห้งให้สามารถถนอมอาหารไว้ได้นานเพื่อสร้างแบรนด์ และขยายพื้นที่การขายสู่ตลาดออนไลน์ และในการอบรมครั้งนี้ข้าพเจ้ารับหน้าที่ออกแบบป้ายไวนิลโครงการและถ่ายภาพ วีดีโอการดำเนินกิจกรรม

วันที่ 27 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านหนองเก้าข่า ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เก็บข้อมูลประเภทพืชและร้านค้าในชุมชนเพื่อบันทึกลงระบบ TCD ซึ่งประเภทพืชในชุมชนที่ข้าพเจ้าลงพื้นที่และพบเห็นในครั้งนี้ ได้แก่  ต้นสัก ต้นมะขามหวาน ต้นเพกา ต้นปาล์ม ต้นกล้วย ต้นอ้อย และต้นยางพารา ซึ่งสามารถพบต้นไม้ในชุมชนจำนวนมาก เนื่องจากชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรพืชสวนเป็นหลัก และบางต้นสามารถนำมาประกอบอาหาร เพื่อรับประทานและจำหน่ายในชุมชนได้ และอีกหนึ่งประเภท คือ ร้านค้าในชุมชนมีหลายร้านค้า เนื่องจากชาวบ้านบางส่วนก็ประกอบอาชีพค้าขายและทำเกษตรกรรมบางฤดูกาล จึงประกอบอาชีพหลายรูปแบบ

วันที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 15:30 – 16:30 น. เข้าร่วมประชุมออนไลน์เตรียมไปร่วมทำบุญงานผ้าป่าเสวนาชุมชน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ซึ่งการประชุมครั้งนี้จัดดำเนินการประชุมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีเนื้อหาการประชุมเกี่ยวกับการแจ้งสถานที่งานบุญผ้าป่าเสวนาชุมชน ชวนคนใจบุญไปร่วมสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง และกำหนดการเบื้องต้น พร้อมทั้งพูดคุยเกี่ยวกับการร่วมทำบุญเพื่อสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 

วันที่ 31 สิงหาคม 2565 เวลา 08:30 – 15:30 น. ร่วมงานผ้าป่า เสวนาชุมชน ชวนคนใจบุญไปร่วมสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง ณ บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในงานมีการบรรยายพิเศษ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา ฝ่าทุกวิกฤติในยุค Would Disruption โดย คุณโจน จันได ผู้ก่อตั้งพันพรรณ-ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ ได้บรรยายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ อาชีพเกษตรกรรมที่คนทั่วไปมองว่าลงทุนมากได้ผลน้อย แต่เด็กรุ่นใหม่สามารถพัฒนาเพิ่มพูนมูลค่าผลิตภัณฑ์จากเกษตรได้ และได้ร่วมทอดผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ด้วย

             วันที่ 2 กันยายน 2565 เวลา 15:30 -16:30 น. ข้าพเจ้าเข้าร่วมการประชุมเตรียมการลงพื้นที่ผ่านระบบออนไลน์ประเภท Meet ซึ่งอาจารย์ประจำตำบลเมืองแฝกมีเรื่องนัดหมายเกี่ยวกับการลงพื้นที่อบรมการสร้างแบนเนอร์สินค้าและการขายสินค้าผ่านออนไลน์ไม่ให้ติดลิขสิทธิ์ ในวันที่ 10 กันยายน 2565 และการจัดบู๊ทแสดงสินค้าและจำหน่ายสินค้าในตำบล ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในวันที่ 14-18 กันยายน 2565 

วันที่ 4 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าอบรมหลักสูตรออนไลน์ผ่าน Application CIVIC EDUCATION หัวข้อพลเมืองคุณภาพ โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย 20 หัวข้อ ได้แก่ 1. ทำไมต้อง “พลเมืองคุณภาพ”, 2. ความภูมิใจในความเป็นไทย, 3. รัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตย, 4. ต้นไม้ประชาธิปไตย, 5. หลักประชาธิปไตย, 6. สรุปสาระสำคัญของประชาธิปไตย, 7. จิตสำนึกสาธารณะ, 8. ใครคือ “พลเมือง”, 9. คุณลักษณะของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, 10. วิถีประชาธิปไตยกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, 11. มารู้จัก “ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย ศส.ปชต., 12. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง, 13. การเลือกตั้งของไทย, 14. พลเมืองกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง, 15. บทบาทของพลเมืองในการแก้ไขปัญหาของชุมชน, 16. คณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย, 17. เครือข่ายพลเมืองกับ ศส.ปชต., 18. 5ก. กับความสำเร็จของ ศส. ปชต., 19. ศส.ปชต. กับการส่งเสริมประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง, 20. คำมั่นสัญญาของพลเมืองคุณภาพ และทำแบบทดสอบเพื่อเอาเกียรติบัตร

วันที่ 5-8 กันยายน 2565 ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (คส.ปชต.) ณ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (คส.ปชต.) ตำบลเมืองแฝก ซึ่งข้าพเจ้าเลือกลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่สอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยและการใช้ชีวิตของชาวบ้านที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ บ้านหนองเก้าข่าและบ้านหนองครก พร้อมด้วยสรุปผลรายงานการลงพื้นที่ในครั้งนี้ส่งให้ ศส.ปชต. ตรวจสอบความเรียบร้อย

วันที่ 6 กันยายน 2565 ข้าพเจ้ารับหน้าที่กรอกข้อมูล C-04 ผลการพัฒนาสินค้าและบริการ ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนที่ 1 ผลิตภัณฑ์หรือบริการ BCG เป้าหมายในพื้นที่  ส่วนที่ 2 ความก้าวหน้า ส่วนที่ 3 วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 4 กิจกรรม ส่วนที่ 5 เป้าหมาย ส่วนที่ 6 การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน ส่วนที่ 7 สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อ และส่วนที่ 8 ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการพัฒนาสินค้าและบริการ 

และวันที่ 9-11 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่ไปนำเสนอผลิตภัณฑ์ของตำบลเมืองแฝกในงานมหกรรมสินค้าคุณภาพ สินค้าผ่านการคัดสรร จากโครงการ U2T For BCG สินค้าดีมีคุณภาพจากตำบล ชม ชิม ช้อป ณ ขอนแก่นฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัลขอนแก่น ซึ่งภายในงานมีตัวแทนจากหลายจังหวัดของภาคอีสาน พร้อมทั้งขายสินค้าจากตำบลของเราเอง

ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน 3 เดือนที่ผ่านมาข้าพเจ้าเรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากกิจกรรมดำเนินไปอย่างเร่งรีบแข่งขันกับเวลา ซึ่งข้าพเจ้ายังจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตำบลเมืองแฝกให้มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และพัฒนาตำบลเมืองแฝกให้ก้าวไกลต่อไป

https://youtu.be/eB1X-Qz3fB8