โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T  for BCG )

บทความและรายงานการปฏิบัติงาน

               โครงการ U2T BCG มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางานหรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่าง ๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยผ่านการใช้หลัก BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันที่เริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการและเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพิ่มการจ้างงานบัณฑิตที่เพิ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ พัฒนาฐานที่จำเป็นต่อทักษะการทำงานในปัจจุบันและที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG รวมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ (Thailand Community Big Data : TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในพื้นที่ของประเทศ

SC20-2  ข้าพเจ้า นางสาวณัฐมล ขุนนามวงค์ เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ประเภทบุคคลในตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคม รายตำบลแบบบรูณการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ

 

 

 

 

 

 

 

 

จากผลสรุปการสำรวจ ของผู้ปฏิบัติงานในการลงพื้นที่หาข้อมูลการทำผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ทั้ง 12 หมู่บ้าน ในตำบลเมืองฝ้าย ส่วนใหญ่ชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้าน จะมีการทอเสื่อมากกว่าการทำสิ่งอื่นการทอเสื่อจาก กก หรือ ไหล นั้นจึงเป็นผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งอย่างที่ทำกันค่อนข้างหลากหลายครัวเรือนและขึ้นชื่อของตำบลเมืองฝ้าย นับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านที่นำเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติมาแปรรูป เป็นเสื่อปูนั่งใช้ประโยชน์ในครัวเรือนหรือจำหน่าย

การทอเสื่อเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในชนบทที่ใช้เวลาว่างจากการทำไร่ทำนามาถักทอ บางส่วนทอเก็บไว้เพื่อทำบุญช่วงเทศกาลตามประเพณี โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น คือใช้ต้นกกหรือต้นไหล คิดค้นลวดลายให้แปลกใหม่ ถักทอจนเป็นผืนสวยงาม เสื่อกก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น ประณีต สวยงาม มีหลากหลายชนิด ผลิตจากเส้นใยที่มีคุณภาพเหนียวแน่นทนนาน ผิวมันละเอียด ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และสามารถปลูกเองในพื้นที่

จากแนวทางของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในยุคใหม่นี้ จะเห็นได้ว่า มีความคล่องตัวสูง และ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ที่สามารถให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้เสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์แบบทุกอย่าง จากนั้น จึงค่อยกลับมาพัฒนาเพิ่มเติม เสริมต่อ เรื่อย ๆ จนสามารถตอบโจทย์ลูกค้าและเข้าถึงตลาดเป้าหมายได้ในที่สุด

ดังนั้นผู้ปฎิบัติงานจึงอยากพัฒนาต่อยอดโดยการแปรรูปเสื่อกกให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย และสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เบาะรองนั่ง โคมไฟที่ทันสมัย จึงตัดสินใจนำผลิตภัณฑ์เสื่อกกมาแปรรูป เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชนอีกด้วย