หลักสูตร MS14-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานโควิดด้านเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG)
ชื่อบทความ : MS14-2 การลงพื้นที่เก็บข้อมูลบริบทชุมชนและผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นางศิริพร บุตรสุด ประเภทประชาชน
ดิฉัน นางศิริพร บุตรสุด ผู้ปฏิบัติงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG)
บริบชุมชนตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ตำบลจันดุม มีลักษณะที่เป็นที่ราบสูง สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร มีลุ่มน้ำเตียวเป็นสายน้ำสำคัญทางการเกษตรของชุมชน เนื้อที่ทั้งหมด 68.34 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 42,712.50 ไร่ มีจำนวนหมู่บ้าน 18 หมู่บ้าน
อาชีพของราษฏร
-อาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 89
-ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 3
-พนักงานหน่วยงานเอกชน คิดเป็นร้อยละ 2
-ธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 1
-รับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 3
-อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 2
วันที่ 3 กรกฏาคม 2565 ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานในโครงการ เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังแนวทางการปฏิบัติงานของตำบลจันดุม ประจำเดือนกรกฏาคม 2565 เพื่อใช้ลงข้อมูลในระบบ C01 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ในชุมชน
วันที่ 13 กรกฏาคม 2565 ดิฉันและผู้ปฏิบัติงาน ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำโครงการ ให้ลงปฏิบัติงานในพื้นที่ชุมชนตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชนเพื่อนำมาเป็นข้อมูลการนำเสนอโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG) มีรายละเอียดผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้
ชื่อผลิตภัณฑ์ แม่ประคองปลาส้ม
บ้านห้วย ต.จันดุม อ.พลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์ มีลักษณะมีแม่น้ำเยอะทำให้สามารถหาปลาได้เยอะ จึงเกิดการคิดค้นว่าจะทำอย่างไรจึงจะเก็บปลาให้สามารถเก็บปลาไว้รับประทานได้หลายวัน จึงเกิดวิธีการถนอมอาหารโดยเอาปลาที่หาได้มาทำเป็นปลาส้ม
-วัตถุประสงค์การพัฒนา
1.เพิ่มมูลค่าของปลาส้ม
2.สร้างมาตรฐานในการในการผลิต
3.เพิ่มการตลาด
ส่วนผสม ปลาส้มไร้ก้าง
1.ปลาตะเพียนหรือปลาอีสบหรือปลานวลจัน
2.เกลือ
3.ข้าวสวย
4.ผงชูรส
5.ผงปรุงรส
6..กระเทียม
7.แป้งมัน
8.ซอลฝาเขียว
9.ยาง
10.ใบตอง
วิธีทำ ปลาส้ม
1.นำปลาที่ทำความสะอาดแล้วมาแล่เอาแค่เนื้อปลา
2.นำเนื้อปลาที่ทำความสะอาดแล้วมาใส่เกลือใส่ 1 ช้อนโต๊ะ ข้าวสวย1 ถ้วย (ประมาณ 2 ขีด) ผงชูรส ใส่ 1 ช้อนโต๊ะ ผงปรุงรส 2 ช้อนโต๊ะ กระเทียมใส่ไปประมาณ 2 ขีด แป้งมัน 2 ช้อนโต๊ะ ซอลฝาเขียว 2 ช้อนโต๊ะ แล้วผสมทุกอย่างให้เข้ากัน
3.เมื่อผสมทุกอย่างให้เข้ากันแล้วนำไปใส่เครื่องบด
4.เมื่อบดทุกอย่างให้เข้ากันแล้วนำไปห่อด้วยใบตอง
5.เมื่อห่อด้วยใบตองแล้วเสร็จ ต้องทิ้งไว้ประมาณ1คืนก็สามารถรับประทานได้
ชื่อผลิตภัณฑ์ ทองพับแม่จำรัส
วัตถุประสงค์การพัฒนา
1.เพิ่มมูลค่าของทองพับ
2.สร้างมาตรฐานในการในการผลิต
3.เพิ่มการตลาด
-กรรมวิธีในการผลิต (เริ่มจากเลือก ดูคุณภาพวัตถุดิบ การเตรียม การปรุง ฯลฯ )โดยผู้ปฏิบัติต้องลงมือทำผลิตภัณฑ์เอง และเก็บภาพการทำงานของทุกคน และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการลงมือทำ
วัตถุดิบ
แป้งมันสำปะหลัง 2 ถ้วย
แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปี๊บ ½ ถ้วย
กะทิ 2 ถ้วย
ไข่ไก่ 1 ฟอง
งาดำ 2 ช้อนโต๊ะ
งาขาว 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือ 1 ช้อนชา
ใบเตย
อัญชัน
อุปกรณ์ในการทำทองพับ
- แปรงซิลิโคน สำหรับทาพิมพ์
- พิมพ์ทองม้วนขนาด 6.5 นิ้ว
- เตาแก๊สหรือเตาถ่านสำหรับย่างทองม้วน
- ไม้ม้วนทองม้วน
- ถุงมือ
วิธีทำ ทองพับ
1.ร่อนแป้งสาลีและแป้งมันพร้อมกัน ลงไปในชามผสม เปิดหลุมตรงกลางไว้
2.ใส่ไข่ไก่ลงไป ตามด้วยเกลือป่น น้ำตาลมะพร้าว กะทิใส่เล็กน้อย จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากัน สามารถใช้มือได้
3.พอนวดจนน้ำตาลละลายดี และแป้งเนียนเข้าด้วยกัน จากนั้นค่อยๆ ใส่หัวกะทิลงไป จนหมด นวดให้ทุกอย่างเนียนเข้ากันดี
4.นำแป้งไปพักไว้ในอุณหภูมิห้องอย่างน้อย 30 นาที – 1 ชั่วโมง
5.จากนั้นใส่งาดำลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน
6.เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำทองม้วน เปิดแก๊สใช้ไฟอ่อน วางพิมพ์ทองม้วนลงไป ทาด้วยน้ำมันพืชบางๆ ทั้งด้านบนและด้านล่าง วอร์มให้พิมพ์ร้อน
8.หยอดแป้งลงไปประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้เวลาย่างประมาณ 2 นาที ในระหว่างที่ย่าง ควรบีบพิมพ์ให้แน่น ย่างฝั่งละ 1 นาที
9.จากนั้นม้วนให้เป็นทรงทองม้วน จากนั้นนำขึ้นไปผึ่งบนตะแกรง รอจนหายร้อน เป็นอันเสร็จ