สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวนันทิชา เมฆหมอก ประเภทบัณฑิตจบใหม่
ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS04-1
ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าเทิดพระเกียรติ ปลูกป่าทดแทนตามโครงการปลูกป่าแหล่งอาหารปอดของชุมชน นำโดยพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม พร้อมด้วย อาจารย์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์และประชาชนในเขตพื้น ณ โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ หมู่ 4 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการตัดหญ้าบริเวณที่ปลูกป่า ปลูกต้นไม้เพิ่มแทนที่ต้นไม้เดิมที่เสียหาย และคลุมหญ้าที่ตัดให้ต้นไม้เพื่อรักษาความชื้นในบริเวณโคนต้นไม้ ทำให้ต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดี เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่บริเวณของสวนป่าโรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ประโยชน์ของการปลูกต้นไม้
- บรรเทาความร้ายแรงของพายุ เพราะป่าจะเป็นฉากกำบังและลดความเร็วของลม
- ป้องกันการกัดชะดิน ใบไม้ ต้นไม้ กิ่งไม้ เศษไม้ ซากพืช จะคอยป้องกันความแรงของฝนมิให้ตกกระทบผิวดินหรือผิวหน้าดินให้ถูกกัดชะไป
- ป้องกันน้ำท่วมเพราะป่าจะทำให้น้ำไหลช้าลงไม่ไหลหลากมาท่วมพื้นที่ที่ต่ำ
- ทำให้มีน้ำไหลตลอดปี พื้นดินใต้ป่าจะเปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำในฤดูฝนแล้วค่อย ๆ ปล่อยออกมาในฤดูแล้ง
- เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนหลังจากที่เคร่งเครียดจากการงานมาตลอดทั้งวัน
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปหมูกระจกบ้านจาน หมู่ 8 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปหมูกระจก ด้วยการเพิ่มสมุนไพรพื้นบ้านในผลิตภัณฑ์ให้มีกลิ่นหอมของสมุนไพรเครื่องเทศโดยการเพิ่ม พริก ใบเตย ตะไคร้ ใบมะกรูด ถั่วทอดกรอบ เพื่อสร้างมูลค้าให้กับผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากขึ้นและการสร้างคุณภาพ มาตรฐาน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้รายได้มั่นคงและยั่งยืน และการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์การขยายตลาดหรือการหากลุ่มเป้าหมายใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมด้วยการสร้างเครื่องหมายการค้า การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นนวัตกรรม การสร้างผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่แตกต่างจากเดิมและแปลกใหม่เพื่อเน้นความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่เฉพาะถิ่น
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปหมูกระจกบ้านจาน
- Strengths (จุดแข็ง)
-เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง
-จดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปหมูกระจกที่ชัดเจน
-ในกลุ่มมีการช่วยเหลือกันในเรื่องการตลาด ทั้งปลีก-ส่ง
-มีกลุ่มลูกค้าประจำที่มารับซื้อทั้งปลีก-ส่ง
- Weaknesses (จุดอ่อน)
-ไม่เคยการคำนวณ ต้นทุน กำไรที่ชัดเจน
-ไม่มีมาตรฐานในการชั่งตวงวัตถุดิบที่ชัดเจน
-ไม่ได้ชั่งน้ำหนักแพ็คสินค้าถุงเล็กสำหรับขายส่ง
-ไม่ได้ชั่งน้ำหนักหลังการจากการทอดหมูกระจก
- Opportunities (โอกาส)
-สร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์และจุดเด่น
-สร้างโลโก้ผลิตภัณฑ์ให้ดึงดูดและน่าสนใจ
-เพิ่มการขายช่องทางออนไลน์เพื่อขยายตลาด
- Threats (อุปสรรค)
-วัตถุดิบขึ้นราคาแต่ต้องขายราคาเดิมทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น กำไรลดลง
-ในการทอดหมูกระจกต่อครั้งต้องทอด 200 กิโลกรัมขึ้นไปถึงจะได้กำไร เพราะถ้าทอดต่ำกว่านี้จะทำให้ต้นทุนสูงกว่ารายรับ
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.30-13.00 น. ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมถวายพระพรและปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ บริเวณเนินโคกตะโก บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จัดขึ้นโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ มี องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน และประชาชนชาวอำเภอนางรอง พร้อมทั้งผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T for BCG และสโมสรนักศึกษาวิศวกรสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีกิจกรรมจิตอาสาคือการถวายพระพร การทำความสะอาดบริเวณคลองช่องแมว และปลูกต้นไม้ ยางนา สัก พยุง ไม้แดง เป็นต้น จำนวน 1,000 กว่าต้น
วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อแสดงความจงรักภัคดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาแล้ว เป็นการส่งเสริมความรู้รักสามัคคีสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และคนชุมชนนำไปสู่การร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืน
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 ดิฉันได้เข้าเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและการเรียนรู้ของเดือนสิงหาคมนี้คือหัวข้อ “พัฒนา” สร้างคุณค่าสินค้าละบริการ (Value Chain) การพัฒนาสินค้าและบริการ บทเรียนของการเรียนรู้ในเดือนสิงหาคมนี้มีทั้งหมด 4 หัวข้อ คือ ออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ วางแผนการตลาดและการสร้างแบรนด์ ออกแบบเรื่องราวสินค้าให้น่าสนใจ การเป็นผู้ประกอบการและการเติบโต การเรียนออนไลน์ในหัวข้อการพัฒนานี้ได้รู้ถึงความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อตัวสินค้าและการเพิ่มคุณค่าสินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ ได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง
- หลักสูตรพัฒนา มี 4 หัวข้อดังนี้
- M-05 ออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์
- M-06 วางแผนการตลาดและการสร้างแบรนด์
- M-07 ออกแบบเรื่องราวสินค้าให้น่าสนใจ
- M-08 การเป็นผู้ประกอบการและการเติบโต
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2565 เวลา 11.00-11.30 น. ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์กับอาจารย์ประจำตำบลถึงการลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD ในพื้นที่ชุมชนตำบลหนองยายพิมพ์ พร้อมทั้งอาจารย์ประจำตำบลได้แจ้งถึงรายละเอียดการเก็บข้อมูลและได้มอบหมายแต่ล่ะหัวข้อให้แต่ล่ะคนรับผิดชอบ และของดิฉันได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในหัวข้อเกษตรกรในท้องถิ่นและตำบลหนองยายพิมพ์ของเรามีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน และหัวข้อการลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD มี 10 หัวข้อดังนี้
- ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด
- แหล่งท่องเที่ยว
- ที่พัก/โรงแรม
- ร้านอาหารในท้องถิ่น
- อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
- เกษตรกรในท้องถิ่น
- พืชในท้องถิ่น
- สัตว์ในท้องถิ่น
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- แหล่งน้ำในท้องถิ่น
TCD คือชุดข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Thailand Community Data) หรือ “บิ๊กดาต้า” ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกจัดเก็บ เรียบเรียงเพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเชื่อมโยงการวิเคราะห์กับข้อมูลความต้องการของตลาด ข้อมูลปัจจัยต่างๆข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานราชการอื่น อาทิ ข้อมูลผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ข้อมูลการส่งออกข้อมูล TPMAP ที่เป็นระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนและแก้จนแบบชี้เป้า
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00-14.30 น. ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD ในพื้นที่ชุมชนตำบลหนองยายพิมพ์ หมู่ 5 บ้านหนองยาง และ หมู่ 6 บ้านหนองถนน โดยการเก็บข้อมูลนี้ดิฉันได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูลในหัวข้อเกษตรกรในท้องถิ่น การเก็บข้อมูลมีหัวข้อย่อย 12 ข้อ รายละเอียด ดังนี้ ชื่อ-สกุล ที่อยู่ พิกัด เบอร์ติดต่อ จำนวนแรงงานทั้งหมดที่ใช้ รายได้เฉลี่ยต่อปี ใช้ระบบหรือเทคโนโลยีทุ่นแรงหรือไม่ เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้หรือไม่ พื้นที่ทำเกษตรทั้งหมด(ไร่) เกษตรกรเป็นเจ้าของพื้นที่ทำการเกษตรหรือไม่ รูปแบบการใช้งานพื้นที่ทำการเกษตร และภาพถ่ายพื้นที่/ผลผลิต/เกษตรกร และการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ได้ทราบถึงข้อมูลในพื้นที่ว่าการทำเกษตรของคนใน 2 หมู่บ้านนี้มีการทำเกษตรอยู่ 2 อย่างหลักๆคือ การทำนาข้าวประมาณ 80% การปลูกมันสำปะหลัง 10% และอื่นๆ 10% ส่วนการทำเกษตรอื่น ๆ ยังไม่ค่อยมี เพราะส่วนมากพื้นที่ในตำบลหนองยายพิมพ์ส่วนมากจะเป็นพื้นที่นาข้าว จึงไม่สามารถทำสวนทำไร่ได้และการลงพื้นที่ของดิฉันเหลือหมู่บ้านที่ต้องรับผิดชอบลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำเกษตรอีก 3 หมู่บ้าน ต้องมาดูว่าพื้นที่ที่เหลือจะทำเกษตรเกี่ยวกับอะไรบ้าง
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมถวายพระพรและปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา (เก็บงานสืบเนื่องต่อจากวันที่ 29 กรกฎาคม 2565) ณ บริเวณเนินโคกตะโก บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ วัดหนองตาไก้ กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน และประชาชนชาวอำเภอนางรอง พร้อมทั้งผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T for BCG ทั้งหมด 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองยายพิมพ์ หนองโสน และหนองกง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 60 คน โดยกิจกรรมจิตอาสาประกอบด้วย การทำความสะอาดบริเวณคลองช่องแมว และปลูกต้นไม้ เช่น ยางนา พยุง เป็นต้น จำนวน 300 ต้น