สวัสดีครับ กระผมนายตรีวิชญ์ ทองทับพันธ์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS04-1

ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

     เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 กระผมได้เข้าร่วมเปิดตัวโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG ผ่านระบบออนไลน์ โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธาน พร้อมกับ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผช.รมว.อว. พร้อมด้วยอธิการบดีและผู้บริหารของ อว. และมีผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG  จำนวน 68,350 คน เข้าร่วม ซึ่งมีทั้งบัณฑิตจบใหม่และประชาชนที่จะลงไปทำงานกับชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเป็นรายตำบลใน 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG เป็นสิ่งที่ทุกคนรอคอย หลังจากโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T เพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ต้องขอขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ที่ผลักดันงบกลางมาให้ อว. ได้ดำเนินโครงการนี้ในระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ ก.ค.- ก.ย. 2565

โดย U2T for BCG เป็นการสานต่อโครงการ U2T แต่จะแตกต่างตรงที่โฟกัสและชูในเรื่องของ BCG เป็นหลัก ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ของไทยที่สามารถนำไปยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ได้ และยังเป็นวาระสำคัญของประเทศไทยที่จะเชื่อมโยงไปถึงการประชุมเอเปคที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือน พ.ย. นี้

 

 

 

 

 

“หมู่บ้านไหนตำบลใดมีอะไรที่น่าสนใจ อว.ก็จะเสนอรัฐบาลให้พาแขกต่างประเทศมาเยี่ยมชม ที่สำคัญ U2T for BCG จะทำให้ตลอด 3 เดือนของโครงการ เป็นช่วงเวลาที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนเป็นคนที่นอกจากจะเก่งและดีแล้ว ยังเป็นคนที่สามารถ หลุดจากการเป็นแค่นักศึกษาให้ก้าวไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมทั้งการศึกษา สติปัญญา ประสบการณ์ เป็นคนโชคดีที่ได้มีโอกาสเรียนรู้กับประชาชน” รมว.อว.กล่าว
ขณะที่ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวว่า ระบบเศรษฐกิจแบบ BCG จะเป็นฐานที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยฟื้นตัวขึ้นจากโควิด-19 แล้วเติบโตอย่างยั่งยืน โดย U2T for BCG จะขยายครอบคลุมไปถึง 7,435 ตำบล ก็คือทุกตำบล ทุกแขวง ในทุกจังหวัดของประเทศไทย รวมทั้งกรุงเทพมหานครด้วย

 

 

 

 

โดย อว.จะมุ่งนำกำลังของมหาวิทยาลัยทุกแห่งและสถาบันวิจัยไปทำงานร่วมกับพื้นที่ ทำให้เกิดผลงาน เกิดชิ้นงานหรือเกิดสินค้าที่สามารถขายได้จริง มีคนอยากจะซื้อจริง และถ้าเป็นการบริการก็เป็นการบริการที่สามารถเอามาใช้งานได้จริง มีคนที่อยากจะรับบริการจริง ๆ โดยเราตั้งเป้าว่าแต่ละตำบลจะมีสินค้าหรือชิ้นงานอย่างน้อยก็ตำบลละ 2 ชิ้น รวมแล้วประมาณ 15,000 ชิ้น ส่งผลให้มูลค่าต่าง ๆ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10%

ที่สำคัญ คนที่ร่วมโครงการ 68,350 คน จะได้ทำงานร่วมกับประชาคมของ อว.ซึ่งมีทั้งมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ตลอดจนทำงานร่วมกับทางอำเภอและจังหวัด ซึ่งรวมแล้วหลายแสนคน ทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมไปทั้งประเทศ

ปลัด อว. กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการ U2T for BCG เป็นการสร้างปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกครั้งของ อว. ในการเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะให้กับประชาชนเพื่อรองรับการฟื้นตัวของประเทศหลังสถานการณ์โควิด โดยใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ในการขับเคลื่อน ควบคู่ไปกับการจัดทำ Thailand Community Data (TCD) หรือข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วนในทุกพื้นที่อีกด้วย

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 กระผมและทีมงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มประชาชนตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายให้เรียนออนไลน์ เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้สมาชิก U2T การเรียนรู้นี้มีทั้งหมด 3 หัวข้อ ภายใน 3 เดือน กรกฎาคม,สิงหาคม,และกันยายน โดยมีข้อมูลการเพิ่มทักษะให้เดือนกรกฎาคม เข้าสู่บทเรียน “คัดสรร” คือ เข้าใจและเรียนรู้ BCG ผ่าน การคิดและกระบวนการ Hackathon เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา ใช้เหตุผล แก้ปัญหา เชื่อมโยงให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
ประกอบไปด้วย 5 หัวข้อดังนี้
 > M-01 แนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG
 > M-02 คิดเชิงออกแบบ Design Thinking
 > M-03 โมเดลธุรกิจ Business Model Canvas
> M-04 เร่งการเติบโต Growth Hacking
> การนำเสนอ-เคล็ดลับ

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 – 14.00 น. กระผมและทีมผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมกิจกรรม ปลูกป่าปลูกต้นไม้เพิ่มแทนที่ต้นไม้เดิมที่เสียหาย กิจกรรมศูนย์เรียนรู้ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ร่วมกับที่เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง อบต.หนองยายพิมพ์ อบต.หนองกง อบต.หนองโสน อำเภอนางรอง และมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ตำบลหนองยายพิมพ์ ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ หมู่ที่ 9 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีกิจกรรมตัดหญ้าบริเวณที่ปลูกป่า ปลูกต้นไม้เพิ่มแทนที่ ต้นไม้เดิมที่เสียหาย คลุมหญ้าให้ต้นไม้เพื่อรักษาความชื้นในบริเวณโคนต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้สามารถเจริญเติบโต เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม

 

การปลูกป่า 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่าง คือ นอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่อแล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ 4 ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย…”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2523

ประโยชน์ของป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
พอกิน คือ การปลูกต้นไม้ที่กินได้ รวมทั้งใช้เป็นยาสมุนไพร ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น แค มะรุม ทุเรียน สะตอ ผักหวาน ฝาง แห้ม กล้วย ฟักข้าว ไม้ผลต่าง ๆ
พอใช้ คือ การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าไม้ สำหรับทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน อาทิ ทำฟืน เผาถ่าน ทำงานหัตถกรรม หรือทำน้ำยาซักล้าง ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น มะ                        คำดีควาย หวาย ไผ่ หมีเหม็น
พออยู่ คือ การปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจให้เป็นป่า ไม้กลุ่มนี้เป็นไม้อายุยืนเพื่อใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน ต้นไม้กลุ่มนี้ เช่น ตะเคียนทอง                           ยางนา สัก พะยูง พยอม
พอร่มเย็น คือ ประโยชน์อย่างที่ 4 ที่เกิดจากการปลูกป่า 3 อย่าง จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศดินและน้ำให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น และฉ่ำเย็นขึ้นมา

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เวลา 15.00-16.00 น. กระผมและทีมงานผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์กับอาจารย์ประจำตำบลหนองยายพิมพ์ ถึงเรื่องแนวทางการปฏิบัติงานและรูปแบบการทำงานของโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ซึ่งอาจารย์ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ ร่วมไปถึงการเขียนบทความ รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือน และมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ล่ะกลุ่ม ซึ่งมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ และกลุ่มประชาชน และกระผมรับหมอบหมายให้ตัดต่อวีดีโอในเดือนสิงหาคม นอกจากนี้ทางอาจารย์และทีมงานตำบลหนองยายพิมพ์ ยังได้ปรึกษาพูดคุยกันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตำบลหนองยายพิมพ์ ว่าจะพัฒนาแปรรูป สินค้า 2 ผลิตภัณฑ์ ใน 1 ตำบลและได้ข้อสรุปว่า

– หมูกระจกสมุนไพร เนื่องจากหมูกระจกเป็นอาหารแปรรูปที่ทางชุมชนตำบลหนองยายพิมพ์มีดั้งเดิมอยู่แล้วสามารถพัฒนาต่อยอดได้ดี เพื่อยกระดับสินค้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และมีความน่าสนใจ และเป็นการสร้างรายได้ที่มั่งคงและยั่งยืนกับคนในชุมชนได้ดี
– เยลลี่มะนาว คือการแปรรูปจากวัตถุดิบของชุมชนที่มีเยอะ เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตสินค้าทางการเกษตรที่มีปริมาณล้นตลาด เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตร สามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตทางการเกษตร และการนำผลผลิตทางการเกษตรมาพัฒนาลักษะพิเศษให้ต่างไปจากเดิม เพื่อให้ตรงต่อความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเสริมสร้างอาชีพใหม่ๆ ในชุมชน

การแปรรูปอาหารมีความสำคัญ ดังนี้
– ช่วยประหยัดทรัพยากร ไม่ทิ้งของเหลือโดยนำมาแปรรูปใหม่
– ทำให้อาหารมีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม ได้รสชาติใหม่ ทำให้ผู้รับประทานอาหารไม่เบื่อ
– ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการแปรรูปอาหารให้ได้อาหารชนิดใหม่
– ช่วยถนอมอาหารบางประเภท เช่น ผัก ผลไม้ ที่มีมากตามฤดูกาล
– ช่วยเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้เพิ่ม
– แก้ไขปัญหาสินค้าล้นตลาด

 

 

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.30 -15.00 น. กระผมและทีมผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมฟัง บรรยายทางออนไลน์ ในหัวข้อเรื่อง “การอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD” โดยวิทยากร : ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ในการบรรยายการอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD มีทั้งหมด 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 วิธีการบันทึก ตรวจสอบและการจัดการข้อมูลชุมชน
 > บทบาทหน้าที่ในโครงการ
> ภาพรวมของระบบ
> รูปแบบการเก็บข้อมูล
 > ระบบสำหรับทดสอบ
 > การจัดการข้อมูลชุมชน

ส่วนที่ 2 รายละเอียดการเก็บข้อมูล
คำถามมีทั้งหมด 10 หัวข้อ ได้แก่
• ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด
• แหล่งท่องเที่ยว
• ที่พัก-โรงแรม
• ร้านอาหารในท้องถิ่น
• อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
• เกษตรกรในท้องถิ่น
• พืชในท้องถิ่น
• สัตว์ในท้องถิ่น
• ภูมิปัญญาท้องถิ่น
• แหล่งน้ำในท้องถิ่น
– ควรทราบถึงเป้าหมายการเก็บข้อมูลในเขตพื้นที่ที่ท่านรับผิดชอบให้ชัดเจน เพื่อความน่าเชื่อถือกับบุคคลในพื้นที่
– แนวทางการแนะนำตัวและจุดประสงค์การเก็บข้อมูล ต้องอธิบายให้ชัดเจนและเข้าใจง่ายที่สุด