บทความประจำเดือนกรกฎาคม

ตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน ประชาชนทั่วไปมีอาชีพทำการเกษตร เช่น ปลูกข้าว มันสำปะหลัง  เป็นต้น หลังจากว่างเว้นจากการทำอาชีพหลัก ชาวบ้านในตำบลหนองบัวโคกแต่ละหมู่บ้านก็มีอาชีพเสริม โดยอาชีพที่โดดเด่นคือเครื่องปั้นดินเผา และส้มหมู จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงานเล็งเห็นถึงศักยภาพของชาวบ้านในการทำเครื่องปั้นดินเผาและส้มหมู ซึ่งผู้ปฎิบัติงานได้นำอาชีพเสริมของชาวบ้านดังกล่าวนี้มายกระดับเศรษฐกิจภายในตำบล ทำให้ชาวบ้านได้มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่ยั่งยืน สามารถเลี้ยงครอบครัวได้

ข้าพเจ้า นางกาญจนา สุ่มมาตร ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ปฏิบัติงานประชาชนทั่วไปในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยปฏิบัติงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00 น. ณ ตึก 25 ชั้น 2 ห้องประชุมใหญ่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดิฉันได้เตรียมเอกสารรายงานตัว ในสัญญาว่าจ้างงาน ในโครงการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ในเวลา 09.30 น. ท่านรองศาสตราจารย์   ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นประธานกล่าวเปิดงานการอบรมปฐมนิเทศ รวมไปถึงได้แนะนำแนวทางในการปฏิบัติงาน ต่างๆ ในเวลา 10.00 น. ดิฉันได้เข้าพบท่านอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลหนองบัวโคก ซึ่งได้แก่ 1.อาจารย์จินตนา  วัชรโพธิกร 2.อาจารย์ ดร.อรวรรณ  ฤทธิ์ศรีธร 3. Aj.Ken Ny Rithy  พร้อมทั้งสมาชิกผู้ปฏิบัติงานทั้ง 10 คน ตลอดจนได้ฟังคำแนะนำและคำชี้แจง รายละเอียดต่างๆของโครงการ จากท่านอาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 3 ท่าน รวมไปถึงได้คัดเลือกมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ เช่น คัดเลือกหัวหน้าทีม เลขานุการ และตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งดิฉันได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ประสานงานในทีม

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 กลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้มีการนัดหมายจัดทำข้อมูลลงในระบบ C-01 โดยข้อเสนอโครงการจะมี 8 ส่วน ดังนี้ 1.ข้อมูลโครงการ 2.รายละเอียดสินค้าและบริการ 3.รายละเอียดผลิตภัณฑ์/บริการที่กำลังพัฒนาหรือจำหน่าย  4.การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน 5.การขายและรายได้ 6.วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้าและบริการ 7.เทคโนโลยีและนวัตกรรม  8.ทรัพยากรบุคคล ตลอดจนได้ปรึกษาหารือในการปฏิบัติงานในเรื่องต่างๆ

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. ผู้ปฏิบัติงานได้มีการประชุมผ่านระบบออนไลน์ เพื่อวางแผนการลงข้อมูล C-02 รวมไปถึงการเขียนบทความและคลิปวีดีโอ ตลอดจนได้นัดหมายพูดคุยปรึกษางานอีกครั้งที่ “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก”ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 เวลา 9:00 น – 12:00 น ซึ่งทางสมาชิกกลุ่มทุกท่านต้องมาพร้อมกันเพื่อเรียบเรียงข้อมูลก่อนนำส่งอาจารย์

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 เวลา 9:00 น. สมาชิกผู้ปฏิบัติงานของตำบลหนองบัวโคก ได้มาพบปะพูดคุย ตลอดจนร่วมกันบันทึกข้อมูล C-02 ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้ 1. อธิบายแผนธุรกิจในตำบลหนองบัวโคก 2.ข้อมูลทั่วไปของลูกค้าในธุรกิจที่คาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ 3.การสร้างรายได้ของธุรกิจ 4. ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ 5.สินค้าและราคา (Product & Price) ตลอดจนได้มีการกำหนดราคา ขนาดของสินค้า ที่จะส่งเสริม ในตำบลหนองบัวโคก รวมไปถึงผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ที่ปรึกษาได้มีการนัดหมายและลงพื้นที่ต่อไป