โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดเศรษฐกิจ BCG

นางสาวอุดมพร แก้วแสน

ดิฉันได้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการนี้ โดยอยู่ในส่วนของภาคประชาชน และได้มีการเซ็นสัญญาจ้างตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕  ซึ่งทาง อ.ผู้ดูแลให้ถ่ายเอกสารจากไฟล์ PDF เพื่อกรอกข้อมูลสัญญาจ้าง แล้วนำส่งอาจารย์ในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕ พร้อมกับมีการปฐมนิเทศแจ้งรายละเอียดของผู้ปฏิบัติงาน  ในวันนั้นได้มีท่านรศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เป็นประธานกล่าวเปิดงานปฐมนิเทศในโครงการ ที่ตึก ๒๕ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชั้น ๒ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา เวลา ๐๙.๐๐ น พร้อมให้โอวาทเกี่ยวกับกิจกรรมของ U2T เฟส ๒ โดยมี ๒ ตำบลที่ได้เข้าร่วมรับฟังในวันนั้น คือ ๑. ตำบลอิสาณ และ ๒. ตำบลหนองบัวโคก

 

 

 

 

 

หลังจากท่านประธานกล่าวเปิดงานเสร็จ ทาง อาจารย์จินตนา อาจารย์อรวรรณ และ Aj Ken Rithy ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของทีม ต.หนองบัวโคกได้ให้ส่งเอกสารที่เตรียมเอกสารหลักฐานมายื่นเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ทางอาจารย์จินตนาได้ให้ผู้ปฏิบัติงาน ทั้งบัณฑิตและประชาชนของตำบลหนองบัวโคกรวมกลุ่ม และให้แนะนำตัวเพื่อทำความรู้จักกับเพื่อนในกลุ่ม จากนั้นอาจารย์จินตนาได้สอบถามจากทางผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตำบลหนองบัวโคกที่จะนำมาสร้างมูลค่าในโครงการ ซึ่งทางอาจารย์ได้ข้อมูลมามี ๒ ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นจึงสรุปข้อได้ว่ามีส้มหมูและการทำเครื่องปั้นดินเผา จากนั้นจึงให้ผู้ปฏิบัติงานคัดหัวหน้าทีม เลขานุการ  ผู้ดูแลเพจและคนตัดต่อคลิป ซึ่งตัวดิฉันเองได้เป็นผู้ประสานงาน ในการปฏิบัติงานของโครงการทางอาจารย์จินตนาได้ลงข้อมูล C01 ได้ให้ผู้ปฏิบัติงานลงข้อมูล C01 มีทั้งหมด ๘ ส่วนด้วยกันประกอบด้วย

ส่วนที่ ๑ ข้อมูลโครงการ

ส่วนที่ ๒ รายละเอียดสินค้าและบริการ

ส่วนที่ ๓ รายละเอียดของผลิตภัณฑ์บริการที่พัฒนาแล้วหรือจำหน่าย

ส่วนที่ ๔ การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน

ส่วนที่ ๕ การขายและรายได้

ส่วนที่ ๖ วัตถุประสงค์ การพัฒนาสินค้าและบริการ

ส่วนที่ ๗ เทคโนโลยีและวัฒนธรรมนวัตกรรม

ส่วนที่ ๘ ทรัพยากรบุคคลจากนั้นและได้ส่งเอกสารให้กับอาจารย์ได้ตรวจสอบลงพร้อมกับลงบันทึกข้อมูลให้เสร็จสมบูรณ์

เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคมเวลา ๐๙.๐๐ น. ได้มีการนัดหมายกลุ่มสมาชิกตำบลหนองบัวโคกผ่านทาง Google Meet โดยมีการประชุมออนไลน์ ๒ หัวข้อ หลักการลงข้อมูล c02 ในระบบการเขียนบทความและคลิปวีดีโอตามที่อาจารย์ได้สั่งได้มอบหมายให้ทางสมาชิกได้มีการเตรียมงานอีกครั้งในวันที่ ๑๗ กรกฎาคมเพื่อปรึกษาหารือกันสถานที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคกดินดิบเวลา ๐๙.๐๐ น ในวันที่ ๑๗ กรกฎาคมได้มีการประชุม อยู่ที่พิพิธภัณฑ์หนองบัวโคกดินดิบโดยผู้ปฏิบัติงานได้ลงข้อมูล ๔๐๒ ร่วมกันประกอบด้วย ๕ ส่วนได้แก่

 

ส่วนที่ ๑ ให้ท่านอธิบายแผนธุรกิจของท่านพอสังเขป

ส่วนที่ ๒ ข้อมูลทั่วไปของลูกค้าธุรกิจที่คาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของท่านคือใคร

ส่วนที่ ๓ การสร้างรายได้ของธุรกิจของท่าน

ส่วนที่ ๔ ธุรกิจของท่านมีช่องทางการจำจัดจำหน่ายและบริการของท่านอย่างไร

ส่วนที่ ๕ สินค้าราคา product and Price

 

หลังจากนั้นได้ทำการตรวจสอบข้อมูลส่งให้อาจารย์บันทึกลงข้อมูลเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นทางกลุ่มทางสมาชิกและอาจารย์ที่ปรึกษาของกลุ่มได้นัดหมายลงพื้นที่ในหมูบ้านห้วยศาลาหมู่1พร้อมเตรียมงานวางแผนจะขอเข้าพบผู้นำหมู่บ้านห้วยศาลาหัวหน้ากลุ่มทำผลิตภัณฑ์ส้มหมูและพเจ้าของพิพิธภัณฑ์หนองบัวโคกดินดิบเพื่อไปพัฒนาต่อยอดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนต่อไป