นายวีระชน จันทะนาม

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 เวลาประมาณ 10.00 น. กระผมและกลุ่มสมาชิกผู้ปฏิบัติงานของตำบลหนองบัวโคกทั้ง 10 คนได้นัดเจอกันเพื่อประชุมนอกสถานที่ ณ ปั๊มน้ำมันปตท. ในอำเภอลำปลายมาศเพื่อจัดทำข้อมูล TCD และลงข้อมูลแบบ C03  ในส่วนข้อมูลของ TCD ได้ข้อสรุปว่าแบ่งให้ผู้ปฏิบัติจัดทำคนละ 55 หัวข้อขึ้นไปโดยแบ่งในหมู่บ้านที่ตนเองได้รับผิดชอบให้ครบทั้ง 12 หมู่บ้านในตำบลหนองบัวโคกซึ่งกระผมได้เลือกการลงบันทึกข้อมูลของ TCD มีจำนวน 3 หมู่บ้านได้แก่

  1. บ้านหนองบัวโคกหมู่ 5
  2. บ้านหนองตลาดควายหมู่ 6
  3. บ้านหนองบัวหลวงหมู่ 11

และเวลาต่อมาได้ร่วมกันจัดทำข้อมูล C03 เป็นส่วนการวางแผนการพัฒนาสินค้าและบริการแล้วเสร็จในการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อนำเสนอในรูปแบบ Powerpoint

ปั้ม ปตท. อำเภอลำปลายมาศ

การปรึกษาหารือเกี่ยวกับการลงTCD และ การลงแบบC03

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2565 เวลาประมาณ 10.00 น. ได้ประชุมออนไลน์ร่วมกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองบัวโคกเรื่องการจัดทำแผนแบบสอบถามเก็บข้อมูลการทำส้มหมูและปั้นดินและได้ข้อสรุปว่าให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนนัดเจอกันในวันที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวโคก

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 น. ถึง 11.00 น. กระผมและผู้ปฏิบัติงานได้มารวมกันจัดแบบสอบถามการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2 ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ส้มหมูบ้านห้วยศาลาและปั้นดินบ้านหนองบัวโคก ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวโคก โดยแบ่งกันเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มส้มหมูและกลุ่มปั้นดินเพื่อสะดวกในการจัดทำแผนแบบสำรวจและสอบถามในส่วนที่กระผมได้รับผิดชอบคือกลุ่มส้มหมูและได้ร่วมกันจัดทำแบบสอบถามดังต่อไปนี้

  • กลุ่มส้มหมู
  • กลุ่มปั้นดินเพื่อสะดวกในการจัดทำแผนแบบสำรวจและสอบถามในส่วนที่กระผมได้รับผิดชอบคือกลุ่มส้มหมูและได้ร่วมกันจัดทำแบบสอบถามดังต่อไปนี้                                                                                                                                            แบบสำรวจผลิตภัณฑ์ปั้นส้มหมู ตำบลหนองบัวโคกชื่อ – สกุล ………………………………………………………………….เบอร์โทร ………………………………….ที่อยู่ ………………………………………………………………………………………………..

    อายุ

    ¨ 18 – 25 ปี           ¨ 26 – 35 ปี           ¨ 36 – 60 ปี              ¨ 60 ปีขึ้นไป

    อาชีพ

    ¨ เกษตรกร             ¨ ค้าขาย                ¨ ข้าราชการฯ             ¨ อาชีพอิสระ

    ¨ อื่นๆ……… ( ระบุ )

    ระดับการศึกษา

    ¨ ต่ำกว่ามัธยมต้น      ¨ มัธยมต้น             ¨ มัธยมปลาย              ¨ ปวช.             ¨ ปวส.           ¨ ปริญญาตรี            ¨ สูงกว่าปริญญาตรี

    รายได้ต่อเดือน

    ¨ 0 – 500 บาทต่อเดือน        ¨ 501 – 1,000 บาทต่อเดือน         ¨ 1,001 – 1,500 บาทต่อเดือน

    ¨ 1,501 – 2,000 บาทต่อเดือน          ¨ มากว่า 2,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป

    บรรจุภัณฑ์ …………………………………………………………………………………….

    ช่องทางการจำหน่าย ………………………………………………………………………

    จุดเด่นของส้มหมู……………………………………………………………………………

    ทำมาแล้วกี่ปี ………………………………..

    ราคาขายต่อชิ้น …………….. บาท

    ยอดขายขั้นต่ำต่อเดือน …………………. ชิ้น                                                                                                                   

     

     

     

    จนแล้วเสร็จและได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วส่งให้กับอาจารย์ตรวจจนถึงเวลา 11.00 นจึงได้แยกย้ายกันกลับ

    เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม กระผมได้ลงพื้นที่บ้านห้วยศาลาหมู่ 1 ได้เข้าพบกับนางบัวหลงยินดีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบ้านห้วยศาลาหมู่ 1 และเป็นประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ส้มหมูบ้านห้วยศาลาเพื่อขอความอนุเคราะห์ให้สมาชิกกรอบแบบสอบถามทางกลุ่มได้ให้ความร่วมมือในการกรอกแบบสอบถามจนแล้วเสร็จจากนั้นกระผมได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานและสรุปได้ดังต่อไปนี้

                             

    รายงานสรุปผลการลงพื้นที่ของผลิตภัณฑ์ส้มหมู

    จากการที่สมาชิกทีมตำบลหนองบัวโคกได้ลงพื้นที่ไปเมื่อวันจันทร์ ที่ 8 สิงหาคม 2565 ณ บ้านห้วยศาลา หมู่ 1 ต.หนองบัวโคก อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยสมาชิกได้สัมภาษณ์นางประมวล บุญไธสงค์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มทำส้มหมู จากการพูดคุยได้ข้อมูลดังต่อไปนี้

    “ส้มหมูบ้านห้วยศาลา” เกิดจากการรวมกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านห้วยศาลา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน และมีนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการเข้ามาช่วย เริ่มก่อตั้งกลุ่มในปี 2562 และยังคงดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 2 ปี

    ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มทำส้มหมูทั้งหมด 31 คน ทางกลุ่มจะมีหัวหน้ากลุ่มและมีผู้ทำบัญชี ในการทำส้มหมูนั้นไม่ได้ทำขายทุกวัน แต่จะทำก็ต่อเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะอยู่ในหมู่บ้านหรือละแวกใกล้เคียง มีการโพสต์ขายใน facebook หรือ Line ส่วนตัว (ยังไม่มีเพจหลัก) นอกจากนี้ยังสามารถทำไปขายที่ตลาดนัด ณ ตลาดสดลำปลายมาศ ซึ่งจะจัดทุกวันศุกร์ แต่เนื่องจากไม่มีคนว่าง จึงไม่ได้ทำไปขาย จึงเสียโอกาสและรายได้ในส่วนนี้ไป

    ในการทำส้มหมูนั้น เมื่อได้รับคำสั่งซื้อ ผู้ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายจะเบิกเงินจากส่วนกลางของกลุ่มสัมมาชีพชุมชนมาใช้ในการซื้อวัตถุดิบต่างๆ เนื้อหมูที่ใช้เป็นเนื้อหมูจากฟาร์มที่คนในหมู่บ้านเลี้ยงสำหรับขาย สมาชิกกลุ่มจะสั่งเนื้อหมูไว้ก่อนล่วงหน้า และเนื่องจากไม่มีเครื่องบดหมูเป็นของตัวเอง จึงสั่งเป็นหมูบดซึ่งทางร้านขายหมูจะบดมาให้ เมื่อได้วัตถุดิบครบ สมาชิกกลุ่มก็จะมาช่วยกันทำส้มหมู หลังจากนำไปขายกำไรที่ได้จะนำไปเข้าบัญชี สมาชิกกลุ่มจะได้รับเป็นเงินปันผลรายปี

    ในส่วนของสูตรส้มหมูนั้น ได้รับสูตรที่เป็นมาตรฐานจากครูที่เข้ามาช่วยพัฒนา ซึ่งก่อนหน้าที่จะได้รับสูตร (เมื่อ 2 ปีก่อน) ชาวบ้านมีการทำส้มหมูอยู่แล้ว แต่เป็นแบบทำกินเองในครัวเรือน ตัวส้มหมูใช้ใบตองห่อ เวลาขายก็ใส่ถุงพลาสติกธรรมดา ยังไม่มีโลโก้ หรือบรรจุภัณฑ์ (packaging) ที่สวยงาม และยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน อย. สำหรับเทคโนโลยีที่นำมาใช้นั้นยังไม่มี เพราะจะทำมือกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น การตำวัตถุดิบด้วยครกแทนการใช้เครื่องปั่น หรือการบรรจุก็ใช้ลวดเย็บกระดาษเพื่อปิดปากถุง แทนการใช้เครื่องซีลสูญญากาศ เป็นต้น

    นอกจากบ้านห้วยศาลาแล้ว ยังมีบ้านหนองจานเกี๊ยวที่เคยทำส้มหมูด้วย แต่ปัจจุบันเลิกทำแล้ว กล่าวได้ว่าใน 12 หมู่บ้าน มีเพียงบ้านห้วยศาลาที่ทำส้มหมูขา

    สำหรับปัญหาที่พบ จะเป็นในส่วนของต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันหมูมีราคาแพงขึ้นมาก (กิโลละ 200 บาท) ขณะที่ส้มหมูยังคงขายในราคาเดิม (ชิ้น/ห่อละ 10 บาท) ส่งผลให้กำไรลดลง

    ในการสั่งทำส้มหมูหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อ ผู้ช่วยเพย นางบัวหลวง ยินดี เบอร์โทร 0933936737

    สรุปผลการวิเคราะห์แบบสอบถามผลิตภัณฑ์ส้มหมู

                   

    ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเป็นเพศหญิง และเป็นสมาชิกกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านห้วยศาลา หมู่ 1 ตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

     

    อายุ
    Frequency Percent Valid Percent Cumulative Percent
    Valid 36-60 ปี 25 83.3 83.3 83.3
    60 ปีขึ้นไป 5 16.7 16.7 100.0
    Total 30 100.0 100.0

     

    จากตารางอายุ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 36-60 ปี จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 83.3 รองลงมามีอายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7

     

    อาชีพ
    Frequency Percent Valid Percent Cumulative Percent
    Valid เกษตรกร 29 96.7 96.7 96.7
    ข้าราชการ 1 3.3 3.3 100.0
    Total 30 100.0 100.0

     

    จากตารางอาชีพ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 96.7 และประกอบอาชีพข้าราชการ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.3

     

     

     

     

     

     

    ระดับการศึกษา

    Frequency Percent Valid Percent Cumulative Percent
    Valid ต่ำกว่ามัธยมต้น 22 73.3 73.3 73.3
    มัธยมปลาย 4 13.3 13.3 86.7
    ปวส. 1 3.3 3.3 90.0
    ปริญญาตรี 3 10.0 10.0 100.0
    Total 30 100.0 100.0

     

    จากตารางระดับการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่ามัธยมต้น จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 73.3 รองลงมาสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 13.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10 และสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.3

     

    รายได้
    Frequency Percent Valid Percent Cumulative Percent
    Valid 0-500 บาทต่อเดือน 3 10.0 10.0 10.0
    501-1000 บาทต่อเดือน 6 20.0 20.0 30.0
    1001-1500 บาทต่อเดือน 6 20.0 20.0 50.0
    1501-2000 บาทต่อเดือน 2 6.7 6.7 56.7
    มากกว่า 2000 บาทต่อเดือน 13 43.3 43.3 100.0
    Total 30 100.0 100.0

     

    จากตารางรายได้ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้มากกว่า 2000 บาทต่อเดือน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 43.3 รองลงมามีรายได้ 501-1000 บาทต่อเดือน และ 1001-1500 บาทต่อเดือน จำนวน 6 คน เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 20 มีรายได้ 0-500 บาทต่อเดือน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10 และมีรายได้ 1501-2000 บาทต่อเดือน จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ                                                                                                                                                                                                                               

     

    เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 08.00 นได้มีการนัดประชุมร่วมกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองบัวโคกผ่านระบบออนไลน์ได้ข้อสรุปจากการออกสำรวจกลุ่มผลิตภัณฑ์ส้มหมูบ้านห้วยศาลาเนื่องจากได้รับแจ้งจากอาจารย์จะลงพื้นที่จัดอบรมส้มหมูบ้านห้วยศาลาหมู่ 1 ในวันที่ 27 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 นเป็นต้นไปและได้มอบหมายภาระงานให้แต่ละบุคคลกระผมมีหน้าที่ประสานงานกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ส้มหมูและดูแลความเรียบร้อยทุกคนเข้าใจในการมอบหมายงานในครั้งนี้

    และวันที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลาประมาณ 10:00 น กระผมได้ขอเข้าพบนางบัวหลง ยินดีประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ส้มหมูเพื่อแจ้งเรื่องการจัดอบรมผลิตภัณฑ์ส้มหมูในวันที่ 27 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น เป็นต้นไปโดยทางกลุ่มให้การตอบรับการอบรมที่จะเกิดขึ้นมีประสงค์จะเข้ารับการอบรมเป็นจำนวน 31 คนและกระผมได้ขอความอนุเคราะห์เรื่องสถานที่จัดอบรมนางบัวหลง ยินดีท่านยินดีต้อนรับและพร้อมช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่ง